ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 7 วิธีรับมือ ดูแลจิตใจอย่างไร เมื่ออยู่ในภาวะทุกข์เศร้า  (อ่าน 1319 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



7 วิธีรับมือ ดูแลจิตใจอย่างไร เมื่ออยู่ในภาวะทุกข์เศร้า

ท่ามกลางวิกฤติความโศกเศร้าครั้งใหญ่หลวงที่ปวงพสกนิกรชาวไทยกำลังเผชิญอยู่นี้ นับเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก หลายคนอาจเผชิญกับภาวะ หดหู่ ร้องไห้ เศร้า ครุ่นคิด วิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรือมีอาการทางกายต่างๆ ที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จึงจำเป็นต้องมีแนวทางจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ดังนี้

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

1. ทำความเข้าใจว่าความสูญเสียนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ไม่ควรปิดกั้นการแสดงออกความรู้สึกเศร้า เสียใจ ขณะเดียวกันก็ให้เข้าใจและเห็นอกเห็นใจคนที่รู้สึกเศร้ามากกว่าปกติ  พยายามพูดคุยสร้างกำลังใจให้กันและกัน  รวมถึงสร้างแรงจูงใจในทางบวก เช่น ช่วยกันทำความดีถวายในหลวง การเจริญรอยตามพระราชปณิธาน น้อมนำพระราชดำรัสมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต

2. ตั้งสติ คอยสังเกตพฤติกรรมของตนเองและคนรอบข้าง
สังเกตปฏิกิริยาทางจิตใจและพฤติกรรมของตนเอง รวมถึงคนรอบข้าง เช่น การคิดวนเวียน วิตกกังวล แยกตัว นอนไม่หลับ ฝันร้าย หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น พูดพึมพำกับตัวเองคนเดียว บ่นว่าอยากตาย หูแว่ว เห็นภาพหลอน หรือมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ควรรีบมาพบจิตแพทย์โดยด่วน

3. ดูแลสุขภาพจิตใจอย่างใกล้ชิด
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยจิตเวช อย่าละเลยความรู้สึกของเด็กๆ แม้ว่าเด็กจะไม่แสดงออกชัดเจน แต่เด็กก็มีความรู้สึกอยู่ด้วยเช่นกัน ควรรับฟังด้วยท่าทีและน้ำเสียงที่อบอุ่น เข้าใจ อดทนรับฟังหากเขายังเล่าเรื่องเดิมซ้ำๆ ตลอดจนยอมรับปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่รุนแรง และควรพามาพบจิตแพทย์หากมีอาการมากเกินกำลังที่จะช่วยเหลือ

4. เข้าร่วมกิจกรรมที่ทางการจัดขึ้น เพื่อไม่ให้ตนรู้สึกเศร้ามาก
ในคนที่มีความรู้สึกเศร้ามาก ให้พยายามหาโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางการจัดขึ้น สื่อสารระบายความเศร้าเสียใจให้ผู้อื่นรับฟังหรือทำกิจกรรมที่แสดงออกถึงความอาลัย พยายามไม่ชี้นำทางลบหรือกระตุ้นให้คนใกล้ชิดมีความรู้สึกในทางลบเพิ่มขึ้น หรือกระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน

5. ไม่ควรยึดติดกับความโศกเศร้านานเกินไป
ความเศร้ามีลำดับขั้นและวงจรของมัน เราทุกคนสามารถฟื้นคืนจากภาวะเศร้านี้ได้

6. ไม่ควรรับสื่อที่กระตุ้นให้เกิดความสะเทือนใจมากเกินไป
หากรู้สึกเครียด เศร้า ให้จำกัดการรับสื่อ มีสติในการรับข้อมูลข่าวสาร และหาวิธีการระบายอารมณ์ให้เหมาะสม

7. มีสติ เข้มแข็ง แลพัฒนาตนเอง
ขอให้รวบรวมสติ ความเข้มแข็ง และใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาสในการพัฒนาตัวเอง  ช่วงเวลาที่เศร้าเสียใจที่สุดนี้เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาให้ดีที่สุด เหตุการณ์และความรู้สึกเศร้าเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ทุกคนสามารถร่วมแรงร่วมใจและแสดงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ช่วยเหลือกันและกันได้


 :96: :96: :96: :96:

สังเกตอาการของตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งอาจพบอาการเหล่านี้ ได้แก่
- หายใจไม่ออก รู้สึกอึดอัด ใจเต้นเร็ว รัว รู้สึกหวิวเหมือนจะเป็นลม เหนื่อย คลื่นไส้ ผะอืดผะอม
- มือเย็น ร้อนๆ หนาวๆ เหงื่อออกชุ่ม  มือเท้าชา รู้สึกเกร็ง
- ร้องไห้ฟูมฟาย กรีดร้อง
- แยกตัว ซึม เฉย เหม่อลอย
- รู้สึกแปลกๆ เหมือนไม่ใช่ตัวเอง

วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อลดอาการ
- แยกผู้มีอาการรุนแรงออกมาในที่ปลอดภัย  อากาศถ่ายเทสะดวก อาจต้องใช้ยาดม แอมโมเนีย น้ำดื่ม ผ้าเย็น
- หายใจลึกๆ ช้าๆ ไม่ตื่นตระหนก มั่นใจว่าอาการที่เป็นอยู่จะค่อยๆ ดีขึ้น
- ผู้ให้ความช่วยเหลือต้องมีสติ สงบ ไม่กระตุ้นเร้าให้อาการรุนแรงขึ้น
- งดการส่งต่อ แชร์ข้อมูลหรือภาพเหตุการณ์ทางลบผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น ภาพการร้องไห้ เป็นลม หรือแม้แต่ภาพการช่วยเหลือปฐมพยาบาลของเจ้าหน้าที่  เป็นต้น
- หากอาการยังคงเป็นอยู่ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ


ที่มา : ภาควิชาจิตเวชศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
https://health.mthai.com/howto/health-care/18380.html?utm_source=line&utm_medium=feed&utm_campaign=LineFeed
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ