ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'เรียนบาลี' เจอปัญหาท้าทาย 'พระ-เณร' ไม่สนใจศึกษา  (อ่าน 1093 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


'เรียนบาลี' เจอปัญหาท้าทาย 'พระ-เณร' ไม่สนใจศึกษา

สัปดาห์นี้มีปัญหาที่ท้าทายวงการสงฆ์เรื่อง “การเรียนบาลี” ที่ “พระ-เณร” ไม่ให้ความสนใจเรียน เพราะไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร ใครมีคำตอบช่วบบอกที!!

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธุระในพระพุทธศาสนานี้ มี 2 ประการ คือ “คันถธุระ” กับ “วิปัสสนาธุระ” ซึ่ง “คันถธุระ” ได้แก่ การศึกษาเล่าเรียนให้เข้าใจถูกต้อง ทั้งอัตถะและพยัญชนะ ตามที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกทั้ง 3 ได้แก่ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก อันนี้เรียกว่า “คันถธุระ” เป็นกิจสำคัญอันหนึ่งในขั้นต้นที่ชาวพุทธจะต้องมีการศึกษาเล่าเรียน ให้เข้าใจเหตุผลที่ถูกต้อง ในคำสอนของพระบรมศาสดา

“วิปัสสนาธุระ” ได้แก่ การปฏิบัติ เพื่อขูดเกลากิเลสให้หมดสิ้นไป อันนี้เป็นธุระสำคัญยิ่งในขั้นที่ 2 เพราะวัตถุประสงค์ในพระพุทธศาสนานี้ ก็ต้องการกำจัดขูดเกลากิเลสเพื่อพ้นจากสังสารทุกข์นั้นแหละ เป็นกิจความสำคัญในพระพุทธศาสนา

 :96: :96: :96: :96:

ฉะนั้นธุระทั้ง 2 นี้ จึงเป็นธุระสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา และพระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ หรือจะแพร่หลายรุ่งเรืองกว้างขวางออกไปได้ ก็เพราะธุระทั้ง 2 นี้ ถ้าหากว่าธุระทั้ง 2 นี้ไม่มี หรือมีแต่ไม่สมบูรณ์ก็เป็นอันว่า ชาวพุทธทั้งหลาย ก็ไม่สามารถที่จะมีความเข้าใจถึงเหตุผลในคำสอนของพระพุทธองค์ ที่ถูกต้องโดยแท้จริงได้ เพราะธุระทั้ง 2 นี้จะต้องเป็นอุปการะซึ่งกันและกัน

ผมยกตัวอย่าง “ธุระ” ที่เป็นคำตอบของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงตอบแก่ “พระมหาปาละ” เมื่อถูกทูลถามถึงธุระในพระพุทธศาสนาว่ามีกี่อย่าง และธุระนี้พระองค์ก็ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเจาะจงสำหรับพระภิกษุเท่านั้น แต่หมายถึง “ชาวพุทธทั้งมวล” และจริงอยู่พระองค์ทรงตอบแก่พระภิกษุ คือ “พระมหาปาละ” พวกเราชาวพุทธเลยอาจเข้าใจว่า ธุระ ณ ตรงนี้อาจหมายถึงเฉพาะพระภิกษุเท่านั้น ชาวพุทธก็เลยละเลย ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง

แล้วตอนนี้สถาบันสงฆ์บ้านเราได้ทำหน้าที่ตรงนี้หรือไม่ ผมคิดว่าการศึกษาบาลี คือคำตอบที่ชัดที่สุด ที่เป็นธุระในทางพระพุทธศาสนาและทั้งเป็น “แก่นแท้” ในการศึกษาที่พระภิกษุสามเณรควรศึกษาและทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันสนับสนุน

 :25: :25: :25: :25:

ผมมีประสบการณ์ “เรียนบาลี” ซึ่งเป็นภาษาที่ตายแล้ว ในโลกนี้คงไม่มีประเทศไทยใช้อย่างเป็นทางการ หรือใช้ในการสื่อสารกัน ยอมรับว่ายากมาก อย่างน้อยก่อนจะแปลหนังสือบาลี จะต้องท่องจำสูตรหรือสูตรคูณจำนวน 4 เล่มก่อนแล้วจึงจะได้เรียนแปล และเวลาแปลก็ยากมากๆ

สมัยก่อนสอบปีละครั้ง ไม่มีการสอบซ่อม สมัยนี้ยังดีประโยคต่ำยังมีการสอบซ่อมบ้าง แต่พูดก็พูดเถอะ หากมีทางเลือกพระภิกษุสามเณรรุ่นใหม่ๆ น้อยรายจะเห็นคุณค่า อยากจะเรียน เพราะเรียนไปแล้วความรู้ทั้งไม่มีคำตอบว่าเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง จบประโยค 9 บางรูปเรียนมาแทบตาย นอนเหงาอยู่ในห้องไม่มีงานคณะสงฆ์รองรับ คิดจะสึกทางโลกเขาก็ไม่รู้จะให้มาทำอะไร จะเป็นอนุศาสตร์คู่แข่งก็เยอะ ซึ่งตรงนี้แหละคือปัญหาว่ามหาเถรสมาคมจะหาทางออกอย่างไร ส่วนวิปัสสนาตอนนี้ก็มีหลายวัด หลายสำนักเปิดเป็นสถานที่ปฎิบัติวิปัสสนา แม้แต่มหาวิทยาลัยสงฆ์ก็มี สถาบันวิปัสสนา

หากจะให้พระเณรศึกษา “บาลี” มากๆ ผมคิดว่าวิธีการหนึ่งที่มหาเถรสมาคมควรจะทำนั่นก็คือจะต้องวางกฎเกณฑ์ว่า หากใครไม่จบระดับประโยค 3 ห้ามเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง (ซึ่งก็คงมีคนค้าน) หรือหากจะพิจารณาทั้งเรื่องตำแหน่งทางปกครองและสมณศักดิ์ ก็ควรพิจารณาผู้คุณวุฒิจบทางบาลีก่อน เพราะทราบว่าเดิมกรรมการมหาเถรสมาคมมีแต่ผู้จบประโยค 9 ไม่กี่ปีมานี้ “กฎเกณฑ์” นี้ก็ถูกทำลายลง ตอนนี้พระภิกษุที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมไม่จำเป็นต้องจบประโยค 9 ก็ได้

 st12 st12 st12 st12

ส่วนประชาชนชาวพุทธอย่างพวกเรา หากจะเรียนก็คงจะเกินกำลัง เพราะไม่มีเวลามากพอ ก็คงทำได้แค่มีหน้าที่สนับสนุนพระภิกษุสามเณรที่กำลังศึกษาแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา ดีกว่าไปสนับสนุนสร้างโบสถ์ใหญ่โตเกินจำเป็น สร้างวิหาร สร้างกุฎิ กลายเป็นที่อยู่อาศัยของนกพิราบ กลายเป็นแหล่งมั่วสุม

พวกพุทธเราจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ จะต้อง “สร้างคน” หลายวัดในกรุงเทพมหานครที่ให้พระภิกษุสามเณร “เรียนบาลี” อย่างจริงจัง เช่น วัดโมลีโลกยาราม ฝั่งธนบุรี วัดบัวขวัญ จ.นนทบุรี วัดจองคำ จ.ลำปาง วัดมัชฌิมา จ.อุดรธานี หรือภาคใต้วัดที่มีชื่อเสียงด้านศึกษาบาลีก็ วัดหาดใหญ่สิตาราม จ.สงขลา หรือแม้กระทั้งวัดพระธรรมกาย ก็มีชื่อเสียงด้านการสอน “บาลี”

ชาวพุทธโปรดตั้งสติหากท่านมีจิตเป็นกุศลอยากจะสนับสนุนกิจการพระพุทธศาสนา พวกท่านลองพิจารณา สำนักเรียนบาลี เหล่านี้ดู เพราะบางวัดเลี้ยงพระเณรเป็นร้อย ข้าวสาร อาหารก็ไม่พอฉัน ไม่ต้องดูไกล ทราบว่า วัดโมลีโลกยาราม ฝั่งธนบุรี ก็ตกระกำลำบากอาหารการฉันไม่พอจะเลี้ยงพระเณร




คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง
โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/612819
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ