วันนี้ได้นำธนบัตรหนึ่งดอลลาของไทยฉบับแรกของไทยมาให้ชม

สืบเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งในช่วงนั้นไทยเราได้ยอมเป็นพันธมิตรกับกองทัพญี่ปุ่นโดยการช่วยเหลือให้ กองทัพญี่ปุ่นผ่านประเทศไทย
ไปยึดพื้นที่ต่าง ๆ ในเอเซียอาคเนย์รวมทั้งแหลมมลายูไว้ได้
ในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลญี่ปุ่นจึงมอบดินแดน 4 รัฐมลายูได้แก่ ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู ซึ่งดินแดนเหล่านี้เคยอยู่ในความปกครองของไทย แต่ได้ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ
ญี่ปุ่นจึงมอบดินแดน 4 รัฐดังกล่าวคืนให้ไทย
เมื่อไทยได้เข้าไปปกครอง 4 รัฐดังกล่าว จึงได้เตรียมจัดทำเงินตราขึ้นใช้ใน 4 รัฐ ซึ่งมีทั้งเหรียญกษาปณ์ ดีบุกราคา 1 เซนต์ 5 เซนต์ และ 10 เซนต์
และให้กรมแผนที่ทหารบก นำกระดาษจากโรงงานกระดาษกาญจนบุรี จัดพิมพ์ธนบัตรราคา 1 ดอลลา มี 3 รุ่นเพื่อเตรียมนำไปใช้ใน 4 รัฐดังกล่าว
ปรากฏว่าทางรัฐบาลไม่เห็นด้วยเพราะ 4 รัฐดังกล่าวมีเงินตราที่รัฐบาลญี่ปุ่นนำออกใช้อยู่แล้ว
เพื่อรักษาไมตรีกับญี่ปุ่นและไม่เสี่ยงเมื่อเลิกสงคราม ไม่เสี่ยงต่ออัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้น จึงไม่ได้นำออกใช้
นำเงินตราดังกล่าวเก็บไว้ที่คลังจังหวัดสงขลา
ต่อมาเมื่อธนบัตรขาดแคลนจึงนำธนบัตรดอลลาดังกล่าวมา พิมพ์สีดำปิดคำว่าดอลลาทั้งหมด และพิมพ์เลขสีแดงเปลี่ยนแปลงเป็นราคา 50 บาท
จึงเรียกว่า “ธนบัตรไว้ทุกข์”
ธนบัตรดอลลาที่สมบูรณ์ ได้มีการนำออกประมูลเมื่อเร็ว ๆ นี้ ตั้งราคาไว้ 30,000 บาท แต่มีผู้ให้ราคาสูงถึง 105,000 บาท นับว่าสูงมาก
พบกันวันอาทิตย์หน้า.
สมเจตน์ วัฒนาธร
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=536&contentId=114327