ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “พระอาจารย์ธรรมโชติ” หายไปไหนหลังบางระจันแตก กางตำนานบอกเล่าหลายมุม  (อ่าน 2792 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


:96: :96: :96: :96:

รูปหล่อพระอาจารย์ธรรมโชติ ปั้นหล่อโดยกรมศิลปากร ภายในวิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดโพธิ์เก้าต้น อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี


“พระอาจารย์ธรรมโชติ” หายไปไหนหลังบางระจันแตก กางตำนานบอกเล่าหลายมุม

ชื่อ “พระอาจารย์ธรรมโชติ” ถูกบันทึกในพงศาวดารเล่มที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยหลายสมัยอย่าง “ไทยรบพม่า” โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีเนื้อหาระบุว่า หลังค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติก็หายไป ปมที่ทิ้งไว้แบบคาใจนี้กลายเป็นอีกหนึ่งคำถามชวนค้นหาต่อว่าพระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหนกันแน่

หากพิจารณาจากฐานข้อมูลในพงศาวดารที่มีเขียนถึงค่ายบางระจันและตัวตนของพระอาจารย์ธรรมโชติอยู่บ้าง นักประวัติศาสตร์และคนเก่าแก่ในท้องถิ่นต่างมีตำนานเรื่องเล่าที่แตกต่างกันออกไปหลายทฤษฎี ไม่ว่าจะเป็นกลับมาอยู่ที่วัดนางบวช หรือแม้แต่คำบอกเล่าเรื่องไปอยู่ในถ้ำแถบนครราชสีมา


@@@@@@

สำหรับกรณีวัดนางบวช มนัส โอภากุล นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองสุพรรณเป็นหนึ่งในผู้ที่ค้นหาหลักฐานและข้อมูลสนับสนุนสันนิษฐานนี้ บทความ “พระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน?” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพฤษภาคม พ.ศ. 2526 มนัส เล่าว่า ระหว่างร่วมงานในชุดคณะกรรมการอนุรักษ์และปรับปรุงโบราณสถานในจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อพ.ศ. 2519 คณะได้ลงสำรวจโบราณสถานบนภูเขาวัดเขานางบวช

พื้นที่ซึ่งคณะลงสำรวจคือวิหารที่เล่ากันว่าเป็นวิหารของพระอาจารย์ธรรมโชติใช้นั่งวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อเอ่ยถามขึ้นตามข้อมูลในพงศาวดารว่า “หลังค่ายบางระจันแตก ไม่ทราบว่าพระอาจารย์ธรรมโชติหายไปไหน” ผู้ที่เอ่ยตอบคำถามนี้คือ ลุงยันต์ อิงควระ ทายกวัดเขานางบวช ผู้นำคณะกรรมการสำรวจในวัย 75 ปี (ณ ขณะนั้น)

@@@@@@

“พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านไม่ได้หายไปไหน ท่านกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวชตามเดิม” มนัส เล่าคำตอบของลุงยันต์ ซึ่งเป็นชาวบ้านอำเภอเดิมบางนางบวช

ลุงยันต์ อ้างว่า ปู่ย่าตาทวดเล่าให้ฟังต่อๆ กันมาว่า หลังค่ายบางระจันแตก พระอาจารย์ธรรมโชติหลบหนีมาอยู่ที่วัดเขานางบวช ทหารพม่าไล่ติดตามมาด้วย เมื่อถึงวัดก็หาตัวไม่พบทั้งที่พระอาจารย์ธรรมโชติอยู่ที่วัดเขานางบวช

“ท่านจะหายไปไหนได้อย่างไร ท่านก็หายตัวลงไปอยู่ภายใต้อุโมงค์ของวิหารนี้ที่ท่านเคยนั่งวิปัสสนากรรมฐาน…” ลุงยันต์ตอบพร้อมยืนยันว่าไม่ได้พูดเท็จ และกล่าวตามที่ปู่ย่าตาทวดเล่ามา


วิหารพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช อำเภอเดิมบางนวช จังหวัดสุรรณบุรี
(ภาพจาก หนังสือประวัติศาสตร์เมืองสุพรรณ โดย มนัส โอภากุล สำนักพิมพ์มติชน)

เมื่อได้ยินเรื่องอุโมงค์เช่นนี้ มนัส โอภากุล ระบุว่า เขานึกถึงอุโมงค์ในพื้นที่ซึ่งเคยขึ้นมาเที่ยวเล่นทันที นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลจากชาวบ้านที่เล่ากันว่า มีอุโมงค์ใต้วิหาร ทางลงอุโมงค์อยู่ด้านหลังพระประธาน ผู้เขียนบทความเองก็เคยเดินเข้าไปดูพื้นที่ และเห็นปากทางอุโมงค์ด้วย

หลักฐานที่จะมายืนยันข้อมูลนี้ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอ้างอิงคำบอกเล่าของอาจารย์พิณ โสขุมา ผู้อำนวยการโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย ลูกบ้านนางบวช หนึ่งในคณะกรรมการชุดเดียวกันที่มนัส โอภากุล ทำงานด้วยว่า เคยขึ้นมายิงแย้บนภูเขาลูกนี้สมัยวัยเด็ก และเคยลงไปเล่นในอุโมงค์นั้น จำได้ว่ามีพื้นที่พอให้คนอยู่ได้ 5-6 คน

@@@@@@

หลักฐานที่ยกมาอ้างอิงอีกประเภทคือจากโบราณสถานในพื้นที่ โดยวัดเขานางบวชมีโบราณสถานหลายแห่งอยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสเมืองสุพรรณ เสด็จขึ้นเขาวัดนางบวช ทรงพระราชหัตถเลขาเปรียบเทียบลักษณะวัดเขานางบวชที่บางส่วนสอดคล้องกับลักษณะวัดสมัยพระนครศรีอยุธยา

    “เขานางบวชนี้เป็นที่ราษฎรนับถือมาก มีกำหนดไหว้กันกลางเดือน 4 มาแต่หัวเมืองอื่นก็มาก ใช้เดินทางบกทั้งนั้น…”

มนัส โอภากุล ยังมองว่า ข้อความจากพระราชหัตถเลขาข้างต้นสนับสนุนว่า พระอาจารย์ธรรมโชติมีแนวโน้มกลับมารุ่งเรืองในสมัยกรุงธนบุรีอีก เนื่องจากชื่อเสียงที่มีผู้เดินทางมาไหว้กัน สืบเนื่องจากเรื่องเล่าที่ว่ากันว่า เมื่อท่านกลับมาอยู่ที่วัดเขานางบวชก็ได้รับความนับถือ จากความสามารถในการรักษาคนป่วยด้วยแพทย์แผนโบราณซึ่งพอจะเป็นเหตุเป็นผลกันว่า ทำให้วัดเขานางบวชมีชื่อเสียงทั้งที่สภาพพื้นที่บนเขาโดยรวมไม่ได้มีสิ่งจูงใจอื่นแบบเฉพาะเจาะจง


@@@@@@

ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งมาในช่วงหลัง เมื่อมีผู้อัปโหลดไฟล์เสียงที่อ้างว่าเป็นเสียงของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม แห่งวัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรีในเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (คลิกชมคลิปที่นี่ เนื้อหาอยู่ช่วง 5:50)

เนื้อหาในคลิปส่วนหนึ่งพูดถึงประสบการณ์จากการธุดงค์ในป่าซึ่งเรียกกันว่าดงพญาไฟ จังหวัดนครราชสีมา ท่านพบบันทึกจารึกในถ้ำเกี่ยวกับคาถาของพระอาจารย์ธรรมโชติด้วย

อย่างไรก็ตาม เนื้อหาในคลิปที่กล่าวอ้างนี้ไม่มีหลักฐานอื่นที่สนับสนุน อีกทั้งแถบดงพญาไฟเป็นพื้นที่ซึ่งมักเป็นตำนานเรื่องเล่าลึกลับเหนือธรรมชาติต่างๆ เนื่องมาจากสภาพพื้นที่เป็นดงป่าอยู่แล้ว

@@@@@@

แม้จะมีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับพระอาจารย์ธรรมโชติ และเรื่องราวทั้งสองแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาข้อมูลเรื่องบางระจันตั้งข้อสังเกตมานานว่า ฝั่งพม่าไม่มีหลักฐานกล่าวถึงเรื่องค่ายบางระจันเลย

ส่วนประวัติศาสตร์ฝั่งไทยมีปรากฏในพงศาวดาร “ไทยรบพม่า” โดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุชื่อพระอาจารย์ธรรมโชติ วัดเขานางบวช แขวงเมืองสุพรรณ เป็นพระซึ่งได้รับนิมนต์มาปลุกขวัญชาวบ้านเพื่อปกป้องคุ้มครอง และต่อต้าน “พม่า” โดยการแจกตะกรุด ทำพิธีไสยศาสตร์ สร้างขวัญกำลังใจและสนับสนุนชาวบ้านบางระจันไปทำสงครามในช่วงที่ทัพพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา


@@@@@@

ขณะที่พงศาวดารและบันทึกฉบับอื่นมีกล่าวถึง อาทิ พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ฉบับบริติช มิวเซียม หรือ ฉบับหมอบรัดเลย์ ซึ่งรศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์กล่าวระหว่างร่วมงานเสวนา “ศึกบางระจัน พงศาวดาร-เรื่องจริง และที่อิงนิยาย” จัดโดยนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในปี 2559 ว่ามีบันทึกอยู่ไม่กี่บรรทัด

แต่แน่นอนว่า ผู้บันทึกประวัติศาสตร์ย่อมนำเสนอจากข้อมูล มุมมอง แนวคิด และภูมิหลังบางอย่างของตัวเอง ท้ายที่สุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับว่าจะยึดถือฐานอ้างอิงจากแหล่งไหน หรือเป็นแง่มุมคำถามให้นำไปศึกษา พิสูจน์ และวินิจฉัยกันต่อไป

@@@@@@

ชมคลิป : บางระจัน โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม , อับโหลดโดย jeerusintis
บางระจันประวัติศาสตร์นอกคัมภีร์ โดย หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี ความจริงที่หลายคนไม่เคยรู้ สิ่งที่พงศาวดารบันทึกไว้ผิดๆ เกียวกับชาวบ้านบางระจัน ที่สามารถเอาชนะพม่าได้หลายครั้งหลายคราในสมัยอโยธยา

https://www.youtube.com/watch?v=DkubV5pj3h0&t=585s


ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
https://www.silpa-mag.com/club/article_21045
เผยแพร่ : วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2561
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
200 กว่าปีก่อน กับปริศนาการหายไปของ "พระอาจารย์ธรรมโชติแห่งบางระจัน"

 :96: :96: :96: :96:

พระอาจารย์ธรรมโชติ ศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านบางระจัน

พระอาจารย์ธรรมโชติ เดิมชื่อ โชติ ขณะบวชได้ฉายาทางพระว่า ธรรมโชติรังษี พื้นเพเป็นชาวเมืองสุพรรณ ในยุคสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บวชเรียนแล้วจำพรรษา เป็นเจ้าอาวาสอยู่ ณ วัดเขาขึ้นหรือเขานางบวช ท่านมีความรู้ด้านวิชากสิณ ด้านวิชาอาคมที่แก่กล้า ด้วยทั้งพรรษาและวิชาต่างๆที่ได้ศึกษาฝึกพร่ำร่ำเรียนมา ใครเห็นล้วนแต่เกิดศรัทธา

    พระอาจารย์ธรรมโชติ ตามประวัติเดิม พำนักอาศัยอยู่ ณ วัดเขานางบวช ต่อมาชาวบ้านบางระจันได้อาราธนาไปพำนักอยู่ ณ วัดโพธิ์เก้าต้น จังหวัดสิงห์บุรี ในปี พ.ศ. 2308 ด้วยเหตุที่พระอาจารย์ธรรมโชติมีวิทยาอาคมสูง และได้ลงวิทยาอาคมกับผ้าประเจียด ตะกรุดพิสมร แจกจ่ายให้กับนักรบค่ายบางระจัน


@@@@@@

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระนิพนธ์ในหนังสือไทยรบพม่าว่า พระอาจารย์ธรรมโชตินั้นได้หายสาบสูญไปหรือจะมรณภาพในเวลาเสียค่ายแก่พม่า หรือหนีรอดไปได้หาปรากฏไม่ แต่ตามความเชื่อและตำนานท้องถิ่นของชาวจังหวัดสุพรรณบุรีเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อค่ายบางระจันมีทีท่าว่าจะแตก ลูกศิษย์ใกล้ชิดพระอาจารย์ธรรมโชติก็ได้นิมนต์ท่านหลบหนีออกจากค่าย โดยที่ท่านไม่ได้เต็มใจ เพราะคิดจะอยู่สู้ด้วยกัน ตายด้วยกัน แต่สุดท้ายท่านก็ขัดศรัทธากิจนิมนต์ของชาวบ้านที่รัก หวงแหน และเชิดชูท่านเสียมิได้ ว่าผ้าเหลืองไม่เหมาะที่จะมาจมกองเลือดจมพื้นพสุธาให้คนต่ำช้าสามานย์เยี่ยงพม่าข้าศึกได้ย่ำยี

    สุดท้ายลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง (ซึ่งไม่มากนัก เพื่อไม่ให้เป็นการแลดูน่าสงสัยแก่ผู้พบเห็นทั่วไป) ได้พาท่านออกมาจากค่ายบางระจัน ชั่วครู่ก่อนค่ายจะแตก แล้วลี้ภัยข้าศึกอยู่ในป่าเขาลำนำไพรจวบจนสงครามสงบจึงกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขานางบวช

    บ้างก็ว่าหลังจากออกจากค่ายบางระจันมา ท่านก็ไม่ไปหลบอยู่ที่ไหน แต่ขอกลับมาอยู่วัดเขานางบวช วัดเดิมที่ท่านเคยจำพรรษาอยู่ โดยลูกศิษย์ทำช่องลับไว้ให้ท่านหลบอยู่บริเวณวิหารของท่าน (ซึ่งปัจจุบันยังคงอยู่) ไว้ให้ท่านนั่งเจริญสมาธิกรรมฐาน บำเพ็ญกุศล บำเพ็ญเพียรโปรดแก่เหล่าสรรพสัตว์ วิญญาณวีรชน และชาวบ้านบางระจัน

@@@@@@

หนังสือพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ได้กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เครื่องรางของขลังที่พระอาจารย์ธรรมโชติได้มอบให้แล้วเสื่อมพลานุภาพลงไว้ ดังนี้

    “ครั้นถึง ณ วันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ อัฐศก พม่าก็ยกเข้าตีค่ายใหญ่บ้านบางระจันแตก ฆ่าคนเสียเป็นอันมากที่จับเป็นไปได้นั้นก็มาก บรรดาครอบครัวชายหญิงเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเหลือตายอยู่นั้นให้กวาดเอาไปสิ้น แล้วเลิกทัพกลับไปยังค่ายพม่า

    ตั้งแต่รบกันมาห้าเดือนจนเสียค่ายนั้น ไทยตายประมาณพันเศษ พม่าตายประมาณสามพันเศษ และพระอาจารย์ธรรมโชตินั้นกระทำสายสิญจน์มงคลประเจียดตะกรุดต่าง ๆ แจกให้คนทั้งปวง แต่แรกนั้น มีคุณอยู่คงแคล้วคลาดคุ้มอันตรายอาวุธได้ขลังอยู่ ภายหลังผู้คนมาอยู่ในค่ายมากสำส่อน ที่นับถือแท้บ้าง ไม่แท้บ้าง ก็เสื่อมตบะเดชะลง ที่อยู่คงบ้าง ที่ต้องอาวุธบาดเจ็บล้มตายบ้าง และตัวพระอาจารย์นั้น ที่ว่าตายอยู่ในค่ายก็มี ที่ว่าหายสูญไปก็มี ความหาลงเป็นแน่ไม่”

     
@@@@@@

หลวงพ่อจรัญได้ไปธุดงค์แถวปากช่องกับพันเอกชม ได้ไปเจอจารึกที่พระอาจารย์ ธรรมโชติเขียนไว้ในถ้ำว่า เหตุที่บางระจันยืนหยัดต่อสู้กับพม่าได้นั้น เพราะมีผู้หญิงอยู่คนนึง ชื่อคุณหญิงปล้องเป็นเมียท่านขุน ในสมัยนั้นที่ถูกพม่าฆ่าตาย ก็เกิดความแค้นที่พม่าฆ่าผัวตัวเองก็ได้รวบรวมเหล่าแม่ม่ายแม่ร้าง ที่หัวอกเดียวกับตัวเองที่พม่าฆ่าตาย ยอมเปลืองตัว ร้องเพลงแซวพม่า(ปัจจุบันคือเพลงอีแซว) พม่าก็จะร้องเห่กลับมา ที่ปัจจุบันเรียกว่าเพลงพม่าเห หรือพม่าเห่ ซึ่งเพลงพวกนี้ก็เกิดในสมัยนั้น

    ได้ทำการเกี้ยวพาราสี มอมเหล้าพม่า เมื่อเมาก็เอามีดปาดคอพม่าตายจนหมด จนแม่ทัพใหญ่พม่า เกิดความสงสัยที่ส่งคนไปเท่าไหร่ทำไมถึงตายหมด จนถึงทหารมอญอาสาที่จะปราบบ้านบางระจัน และได้สืบรู้มาว่าเกิดจากฝีมือผู้หญิง

@@@@@@

โดยได้ออกอุบายใช้จุดอ่อนของผู้หญิงให้แตกคอกันเอง เพราะรู้ว่าผู้หญิงขี้ระแวง โดยออกอุบายว่าบอกผู้หญิงที่มีสามี ว่ากำลังมีผู้หญิงแม่ม่ายแม่ร้าง ไปพัวพันสามีตัวเอง

    ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านรู้ด้วยด้วยญาณของท่านรู้ว่าถึงชะตาบ้านบางระจันจะแตกคืนนั้น ท่านเลยเรียกชาวบ้านบางระจันที่เป็นลูกศิษย์ท่าน(ถ้าจำไม่ผิด เป็นกลุ่มผู้หญิงที่เหลืออยู่) คนที่มีฝึกสมาธิ แล้วมีพลังจิตสูงท่านก็ให้คาถา บังไพร ไว้ คาถาบังไพร สามารถบังตาศัตรูได้ชั่วคราว หักไม้แล้วศัตรูมองไม่เห็น ก็จะมีชาวบ้านกลุ่ม นี้ ที่หลบหนีออกมาได้ ส่วนตัวอ.ธรรมโชติ เองหายตัว มา ที่ถ้ำที่ดงพญาไฟ

   
ขอบคุณภาพจากทีนิวส์

หลวงปู่ดู่กับพระอาจารย์ธรรมโชติ แห่ง วัดโพธิ์เก้าต้น บางระจัน

เรื่องหนึ่งที่หลวงปู่ดู่มักจะกล่าวเตือนศิษยานุศิษย์ ทั้งที่ใกล้ชิดและห่างไกล ตลอดจนสาธุชนญาติโยมทั้งหลาย ให้พึงสังวรอยู่เสมอก็คือ เรื่องควรงดเว้นกระทำกรรมชั่วโดยเด็ดขาด โดยท่านจะนำเอาพุทธพจน์ที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าความชั่วแล้ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า” มาเป็นข้อเตือนสติแก่ทุกคน เพราะการกระทำกรรมใด ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมเลวก็ตาม จิตของผู้นั้นจะบันทึกเก็บงำข้อมูลเอาไว้โดยละเอียด เมื่อใดที่ถึงกาลมรณะ จิตตัวนี้จะเป็นตัวชี้นำไปสู่สุคติ หรือทุคติอย่างชัดเจน จิตตัวนี้สำคัญนัก แม้เพียงไปยึดติดหรือข้องอยู่กับกรรมเพียงน้อยนิด ขณะใกล้จะสิ้นใจตาย ก็ยังสามารถเบี่ยงเบนจุดหมายปลายทางที่จะไปเกิดได้

ซึ่งในอัตประวัติท่าน มีเกร็ดเล็ก ๆ ที่แสดงให้เห็นชัดเจนพอสมควร ดังจะนำมาเล่าดังต่อไปนี้ กล่าวคือเมื่อครั้งที่หลวงปู่ดู่มีพรรษาไม่มากนัก ที่วัดสะแกมีเรื่องเดือดร้อนรำคาญใจอยู่เรื่องหนึ่ง นั่นคือ พวกโจรใจบาปหยาบช้า มักจะเข้ามาลักขโมยสิ่งของในวัดเนือง ๆ บางครั้งขณะที่หลวงปู่ดู่นอนอยู่ พวกมันก็ยังบังอาจเข้ามาลักขโมยเอาไปต่อหน้าต่อตา หลวงปู่ดู่เคยทราบจากตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า พระอาจารย์ธรรมโชติ มีคาถาอาคมขลังอยู่บทหนึ่ง สำหรับกำราบขโมย


@@@@@@

หากมีใครลักขโมยสิ่งของไป จะต้องกลับเอามาคืนหมด แต่พระอาจารย์ธรรมโชติได้ล่วงลับไปนานแล้ว และไม่มีผู้ใดสืบทอดวิชานี้เอาไว้ ท่านจึงตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้พระอาจารย์ธรรมโชติมาสอนวิชาอาคมนี้แก่ท่านในนิมิต แต่ก็ไม่เคยมีนิมิตปรากฏเอาเสียเลย กระทั่งเวลาผ่านไปหลายปี ทำให้ท่านลืมเรื่องที่อธิษฐานจิตเรื่องนี้โดยสนิท ท่านผู้อ่านอาจจะเลือน ๆ เรื่องของพระอาจารย์ธรรมโชติไปแล้วก็ได้ ดังนั้นจะขอทบทวนความทรงจำสักนิด กล่าวคือ

ก่อนมหาธานีกรุงศรีอยุธยาจะถึงกาลล่มสลายในครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ ด้วยน้ำมือของพม่าข้าศึก คนไทยทุกคนย่อมจะจำกันได้ถึง วีรกรรมค่ายบางระจัน นักรบไทยใจหาญกล้ามิว่าชายหญิง รวมตัวกันปักหลักสร้างค่ายสู้กับทหารพม่าอย่างยิบตา พม่ายกกองทหารมาตีคราวใดก็ต้องพ่ายแพ้กลับไปคราวนั้น ณ ที่ค่ายบางระจันนี้ นามของ พระอาจารย์ธรรมโชติ ก็เป็นที่ปรากฏ และได้รับการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์

@@@@@@

พระอาจารย์ธรรมโชติเป็นพระภิกษุผู้ทรงวิชาอาคมเป็นเลิศ ได้มาเป็นมิ่งขวัญกำลังใจให้แก่ชาวค่ายบางระจันตลอดเวลาที่สู้ศึกกับพม่า ตราบกระทั่งค่ายบางระจันถูกถล่มจนค่ายแตก ประสบความพ่ายแพ้ย่อยยับ วีรบุรุษวีรสตรีลูกค่ายบางระจันสู้ศึกจนตัวตายเกลื่อนค่าย เกลื่อนแผ่นดินเป็นที่เลื่องลือ และพระอาจารย์ธรรมโชติก็สูญหายไปอย่างไร้ร่องรอย ในประวัติศาสตร์มิได้บันทึกเอาไว้ว่า พระอาจารย์ธรรมโชติหายสาบสูญไปเช่นไร แต่เป็นที่เชื่อได้ข้อหนึ่งว่า คมดาบของพม่าข้าศึกคงไม่มีทางระคายแม้แต่เงาของท่าน นับแต่ค่ายบางระจันแตก กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ตราบกระทั่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกอบกู้เอกราช สถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี แล้วมาถึงรัชสมัยของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์

ย้ายเมืองหลวงมาเป็นกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กรุงเทพมหานคร กาลเวลาล่วงเลยไปนานแสนนานเช่นนี้ พระอาจารย์ธรรมโชติย่อมมรณภาพไปแล้วตามวงวัฏแห่งอนิจจัง วิญญาณของท่านจะไปสถิตอยู่ ณ ที่แห่งใด ย่อมยากที่จะรู้ได้ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ในกาลต่อมา ท่านผ่านพรรษามานานหลายพรรษาแล้ว และรับศิษย์ไว้ผู้หนึ่ง ซึ่งกล่าวได้ว่า ศิษย์ผู้นี้กับท่านมีวาสนาเกื้อกูลกันโดยตรงก็ว่าได้ เพราะศิษย์คนนี้มิใช่พุทธศาสนิกชน หากนับถือศาสนาคริสต์ ระยะแรก ๆ ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ เขาไม่มีศรัทธาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน

@@@@@@

ต่อมาจึงได้ยอมปฏิบัติ และก้าวหน้าในทางธรรมกรรมฐานอย่างเหลือเชื่อ กระทั่งวันหนึ่งเข้าไปเจริญสมาธิในกุฏิกับหลวงปู่ดู่ ได้ปรากฏหลวงปู่ทวดในนิมิต แต่ด้วยเหตุผลทางศาสนา จึงไม่ยอมกราบไหว้นมัสการหลวงปู่ทวด ในที่สุด เขาก็ต้องก้มกราบหลวงปู่ทวด ด้วยความเคารพศรัทธาอย่างหาที่เปรียบมิได้ วันหนึ่ง ศิษย์คนนี้มารายงานผลการปฏิบัติของตนต่อหลวงปู่ดู่ตามปกติ จากนั้น จึงได้กราบเรียนถามท่านว่า “หลวงลุงครับ หลวงลุงรู้จักหลวงปู่พระอาจารย์ธรรมโชติไหมครับ” ได้ยินลูกศิษย์ถาม หลวงปู่ดู่เพิ่งฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า ท่านเคยอธิษฐานถึงพระอาจารย์ธรรมโชติ ขอคาถากำราบโจรไว้นานแล้วจนลืม จึงตอบลูกศิษย์ว่า “รู้จักซิ” แล้วเล่าให้ฟังที่ท่านเคยอธิษฐานขอให้พระอาจารย์ธรรมโชติมาปรากฏในนิมิต ศิษย์จึงกราบเรียนถวายว่า

“พระอาจารย์ธรรมโชติ ท่านสั่งให้มาเรียนหลวงลุงว่า คาถาที่ขอนั้นยังเป็นโลก ติดอยู่ในโลก ไปไม่ได้ แต่วิธีการของหลวงลุงเป็นการทำตัวให้พ้นโลก ที่ท่านทำนั้นสูงแล้ว” ขณะที่ศิษย์ซึ่งเคยนับถือศาสนาคริสต์ มารายงานผลการปฏิบัติ และเล่าเรื่องพระอาจารย์ธรรมโชติ (มาปรากฏในนิมิต) สั่งความมาถึงหลวงปู่ดู่ มีศิษย์คนอื่น ๆ นั่งฟังอยู่ด้วยหลายคน ท่านจึงพูดให้ได้ยินกันทุกคนว่า “ที่จริงข้าลืมไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะขอมานมนานกาเล แต่ท่านยังอุตส่าห์บอกถึงข้าจนได้”

   

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://palungjit.org/threads/200กว่าปีก่อน-กับปริศนาการหายไปของ-พระอาจารย์ธรรมโชติแห่งบางระจัน.434041/ 
โพสต์โดยคุณ piyaa, 4 กุมภาพันธ์ 2013 , แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2013


 :96: :96: :96: :96:

ความเห็นของคุณไฟฉาย : ที่อาจารย์เล่าให้ฟัง ท่านบอกว่า พระอาจารย์ธรรมโชติก็คือหลวงปู่เทพโลกอุดรมาสอนวิชาให้คนในค่ายบางระจันเเละเเจกผ้าประเจียด ค่ายบางระจันไม่เเตกตามประวัติศาสตร์กล่าวไ้ว้นะ เพราะมีนายทองด้วงหรือรัชกาลที่ ๑. ปลอมตัวมาช่วยบ้านบางระจันใช้ชื่อว่า นายจันหนวดเขี้ยว คืออดีตชาติของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านมาพร้อมกับเพื่อนๆที่เป็นทหาร ที่อยู่ในรูปปั้นบ้านบางระจันคือนักรบที่มากับท่าน พม่าตีอย่างไรก็ตีไม่เเตกจึงบอกหัวหน้าค่ายบางระจันว่า ขอยอมเเพ้ เเต่มีข้อต่อลองว่า ทำทีให้จุดไฟเผาค่ายพอให้ควันขึ้นเเต่ไม่ได้เผาหมดค่ายเพื่อจะไปรายงานเเม่ทัพพม่า ว่าตีค่ายบางระจันเเตก


ขอบคุณข้อมูลจาก : https://palungjit.org/threads/200กว่าปีก่อน-กับปริศนาการหายไปของ-พระอาจารย์ธรรมโชติแห่งบางระจัน.434041/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2018, 06:58:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ