ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สอนพุทธศาสนาในโรงเรียน จับตาปฎิรูป 'รอดหรือร่วง'  (อ่าน 926 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




สอนพุทธศาสนาในโรงเรียน จับตาปฎิรูป 'รอดหรือร่วง'
 
สัปดาห์นี้มาดูว่า...หากถึงคราวปฎิรูปการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียน การวางรากฐานนำพลเมืองชาติสู่สังคมอุดมด้วยสติจะรอดหรือไม่.?

ในรอบ 10 ปีมานี้ผมยังไม่เห็นรัฐบาลหรือรัฐมนตรีท่านใด ให้ความสนใจเรื่องการปฎิรูปหลักสูตรการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาเลย โดยเฉพาะหลักธรรมะที่เจียระไนแล้วสามารถนำมาใช้ในชีวีติประจำวันได้ น่ายินดีว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อขับเคลื่อนการปฎิรูปการเรียนการสอนพุทธศาสนาในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

โดยมี ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผอ.วิทยาลัยพุทธศาสน์นานาชาติ จาก มหาจุฬา เป็นรองประธาน โดยมีเจตนารมณ์ที่ “ปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน และปลูกฝังให้นักเรียนเป็นคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม อันจะสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียนอย่างยั่งยืน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมคุณธรรม จริยธรรม...”



หากจำไม่ผิดคณะกรรมการชุดนี้ตั้งมาตั้งแต่กลางปี 61 ตอนนั้นผมคิดในใจว่า “คงไปไม่รอด” เพราะหลังจากแต่งตั้งเรื่อง “เงียบกริบ” ทั้งๆ ที่เรื่องนี้เป็นการวางรากฐาน เพื่อนำพาพลเมืองชาติไปสู่สังคมอุดมด้วยสติ เป็นสังคมให้คนตั้งมั่นอยู่ในกรอบของความเป็นพลเมืองที่ดี เคารพกฎหมาย เกรงกลัวต่อบาป ปลอดจากการทุจริต นำพาประเทศชาติไปสู่ความเจริญเทียบเท่านานาอารยประเทศ และที่สำคัญสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ตรงกับใน ยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่ว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ซึ่งการพัฒนาประเทศชาติหากลืมรากเหง้าของประเทศ “ความเชื่อนั่นคือศาสนา” แน่นอนว่า ไม่มีทางไปสู่เป้าหมาย “การปลูกฝังวินัย คุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์ รวมทั้งการสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย” ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีได้ โชคดีที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการท่านนี้ เข้าใจและที่สำคัญท่านจบมาจากสาขาแผนกจิตเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น ก็คงเข้าใจเรื่องนี้พอสมควร



เมื่อเร็วๆ นี้มีการจัดประชุมเพื่อระดมสมองเกียวกับการขับเคลื่อนปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน ผมก็ไปร่วมด้วย ได้เห็นความตั้งใจจริงของคณะทำงาน ได้ฟังประสบการณ์การสอนของโรงเรียนต่างๆ ดูแล้ว “น่าจะไปรอด” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะไปรอดหรือไม่รอดเรื่องนี้ตัวหลักสำคัญคือ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ หรือสูงกว่านั้นคือ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

หากไม่มีเวลาก็ให้อาจารย์น้อง รศ.นราพร จันทร์โอชา ลงมาช่วยเป็นหูเป็นตาให้หน่อย มันก็น่าจะไปรอดตลอดรอดฝั่ง และเรื่องนี้ความจริงมันต้องเป็น “วาระแห่งชาติ” คือต้องบูรณาการทุกภาคส่วน ทั้งท้องถิ่น โรงเรียนเอกชน มหาวิทยาลัย โรงเรียนปริยัติสามัญ รวมทั้งสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง มิใช่ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ สพฐ. แค่หน่วยงานเดียว



และต้องจัดเวทีรับฟังจากมุมมองของเด็ก ผู้ปกครอง ครูสอน ผู้บริหารโรงเรียนให้ครบทั้ง 4 ภูมิภาค ว่าที่ผ่านมาการเรียนการสอนพุทธศาสนาในสถานศึกษา ทำไมจึง “ล้มเหลว” ทำไมเด็กจึงไม่สนใจเรียน ทำไมต่างคนต่างทำ หรือแม้กระทั้งว่าทำไมโรงเรียนบางแห่ง จึงไม่สนใจหลักสูตรการเรียนการพุทธศาสนาของกระทรวงศึกษาธิการ เพราะมองแล้วล้าหลัง และมันก็จะโยงไปสู่ปัญหาต่างๆ เช่น เรียนแล้วทำไมสังคมยังมีการฆ่ากันรายวัน คดีทุจริตเกิดขึ้นราวดอกเห็ด ความกตัญญูกตเวทีลดน้อยถอยลงทุกวัน จิตเสียลละเพื่อส่วนรวมนับวันหากยากสิ่งกว่า “งมเข็มในมหาสมุทร”

เมื่อรับฟังแล้วจึงมาเจียระไนทำเป็นร่างหลักสูตรแล้วไปรับฟังตามโรงเรียนที่ได้มาตรฐานอีกรอบ แล้วจึงออกมาเป็นหลักสูตร ส่วนการผลิตสื่อการเรียนการสอน อบรมพระสอนศีลธรรม ครูสายสังคม หรือแม้กระทั้งผู้บริหารสถานศึกษา อันนี้ก็คือขั้นต่อไป


ส่วนความคืบหน้าเรื่องนี้เท่าที่ไปร่วมรับฟังการประชุม ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส เป็นประธานมีเป้าหมายผลิตหลักสูตร “สติศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตและสังคมให้อุดมไปด้วยสติ” ในการดำรงชีพ โดยนำ “นำสติปัฏฐาน 4 และเบญจศีล เบญจธรรม” เป็นกรอบในการร่างหลักสูตรสอนเด็กตั้งแต่ประถมจนถึงมัธยมปลาย และพยายามเร่งให้ทันต่อการเปิดเทอมในกลางปี 62 นี้

เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ในขณะที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายพัฒนาประเทศตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี แต่หากไปลืมรากเหง้าวัฒนธรรมประเพณี อันเป็นฐานความเชื่อของพลเมืองในสังคมส่วนใหญ่ คือ พระพุทธศาสนา รับรองได้เลยว่าไปไม่รอด

จึงขอชื่นชม รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ว่าท่านมาถูกทางแล้ว ที่จับเรื่องนี้ แต่จับแล้วอย่าปล่อยปละละเลย หมั่นติดตามและทำให้ตลอดรอดฝั่ง จึงจะได้ชื่อว่าเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์.


คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง ,โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/675591
พุธที่ 7 พฤศจิกายน 2561 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ