ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำสาปทั้ง 3 ประเภท ที่ทำให้ "ความรักไม่ยั่งยืน"  (อ่าน 980 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คำสาปทั้ง 3 ประเภท ที่ทำให้ "ความรักไม่ยั่งยืน"

คำสาปในที่นี้ คือสิ่งที่อยู่ภายในส่วนลึกของจิตใต้สำนึก เป็นการวางเงื่อนไขของใจ ที่ควบคุมจิตใจของเราให้เกิดความคิดหรือการกระทำที่ไม่เหมาะสม ซึ่งขัดกับความตั้งใจของเรา ทำให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้ง จนทำให้เกิดการเลิกรา เป็นต้นเหตุที่ทำให้ ความรักไม่ยั่งยืน มาดูกันว่าคำสาปทั้ง 3 ประเภท ที่ทำให้ความรักไม่ยั่งยืนมีอะไรบ้าง

     @@@@@@

    1. คำสาปเรื่องโลภะ

ในทางพุทธศาสนา โลภะ คือ พลังงานทางจิตที่รู้สึกพอใจต่อสิ่งเร้าที่เข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้งหก ได้แก่ ตา หู จมูก ปาก กาย และความคิด และพยายามจะดึงเข้ามาเพราะต้องการสิ่งนั้นอีก เช่น การที่หัวใจพองโตเมื่อมีคนบอกว่า “ชุดนั้นน่ารักจัง” เป็นเพราะเสียงของอีกฝ่ายซึ่งเป็นคลื่นเสียงนั้นมากระทบกับประสาทสัมผัสที่เรียกว่าการได้ยินเข้า แล้วคำสาปที่เป็นโลภะก็เริ่มทำงานและเกิดปฏิกิริยาขึ้นว่า “อ๊ะ ช่างเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกดีจริงๆ เอาอีกๆ เพิ่มสิ่งเร้าด้วยการชมฉันอีกสิ” นั่นเอง

ในเวลานั้นคงจะสงสัยว่า การถูกความโลภควบคุมมีอะไรไม่ดีหรือ.? หากเราได้ลองตอบสนองต่อ “การได้รับคำชม” ด้วยความโลภสักครั้งหนึ่งแล้ว การวางเงื่อนไขก็จะจารึกลงไปในจิตใต้สำนึกว่า ไม่ว่าจะทำอะไรก็ “อยากให้ชม อ๊ะ ไม่ใช่สิ ต้องชมนะ” กล่าวคือ เป็นการหว่านเมล็ดให้เรา “รู้สึกเสียใจอย่างบอกไม่ถูก เมื่อไม่ได้รับคำชม”

โลภะ คือ การวางเงื่อนไขของใจที่ทำให้เราต้องการสิ่งเร้าที่ถูกป้อนเข้ามาซ้ำแล้วซ้ำเล่า หากไม่ได้รับ จะเกิดความทุกข์อย่างแสนสาหัส


     @@@@@@

    2. คำสาปเรื่องโทสะ

พลังงานที่คอยปฏิเสธ ผลักไส ทำให้เกิดความรู้สึกไม่อยากเห็นหรือไม่อยากรับฟังข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามานั้น ชื่อว่า “โทสะ” ตัวอย่างเช่น เราคงไม่รู้สึกดีใจหากเห็นอีกฝ่ายทำสีหน้าเบื่อหน่าย และเมื่อนำมาวิเคราะห์ตามหลักพุทธศาสนาแล้ว มันคือการรับภาพที่อีกฝ่ายไม่ได้หันมาทางเรา ไม่แสดงสีหน้าความรู้สึกใดๆ ผ่านเข้ามาทางตา แล้วนำมาตัดต่อข้อมูลภายในสมองว่า “เป็นข้อมูลที่ไม่ชอบ”

กล่าวคือ โทสะ ไม่ใช่เฉพาะสภาพที่เป็นความโกรธปุด ๆ เท่านั้น แต่รวมถึงพลังงานที่ผลักไสข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งของหัวใจเรา แม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เมื่อเราถูก “โทสะ” เล่นงาน เราจะนึกอยากตำหนิอีกฝ่ายขึ้นมาว่า “นี่ ทำไมดูเบื่อขนาดนั้น” ทว่านั่นเป็นเพียงการวางเงื่อนไขของใจที่เกิดขึ้นมาควบคุมให้รู้สึกอยากผลักไส ปฏิเสธภาพ “สีหน้าเบื่อหน่าย” ที่อยู่ตรงหน้าออกไปเท่านั้น

@@@@

ลักษณะเด่นของ “โทสะ” คือ นอกจากใจจะเกิดความเครียดอย่างรุนแรงขึ้นมาในทันทีที่คิดว่า “อยากปฏิเสธ” แล้ว ภายในร่างกายยังหลั่งสารพิษที่ทำให้รู้สึกไม่สบายออกมาด้วย ต่อไปมาดูกันว่า พลังงานกิเลสที่เป็น “โทสะ” นี้จะปรากฏออกมาในรูปแบบใดบ้าง

อันที่จริงการผลักไสสภาพที่ไม่เป็นไปตามที่ใจคิด เช่น “ความเหงา” “ความอิจฉา” “ความเสียใจในภายหลัง” ล้วนเกิดจากวัตถุดิบที่ผลิตพลังงานประเภทเดียวกันออกมา
      นั่นคือ พลังงานโทสะ
       ยิ่งมีพลังงานโทสะมากเท่าใด
       เรายิ่งตกลงไปในความรู้สึกแง่ลบได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น




    3. คำสาปเรื่องโมหะ

ในบรรดากิเลสที่เป็นรากเหง้าทั้ง 3 นั้น กิเลสที่แข็งแกร่งที่สุดคือความหลง หรือที่เรียกว่า "โมหะ"
กิเลสที่รู้สึกดีกับข้อมูลที่ถูกป้อนเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้งห้า และพยายามดึงข้อมูลนั้นเข้ามาคือ “โลภะ”
กิเลสที่รู้สึกไม่ดีกับข้อมูลนั้นและพยายามผลักไสออกไปคือ “โทสะ”
แต่หากเป็นสภาพใจลอย ไม่สนใจต่อสิ่งเร้าทั้งที่ทำให้รู้สึกดี และที่ทำให้รู้สึกไม่ดีนั้นคือ “กิเลสที่เป็นโมหะ”

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร แต่หากเป็นช่วงที่ยังใหม่อยู่ เราจะมีความสนใจเป็นพิเศษ แต่หากเคยชินขึ้นมา เช่น ทิวทัศน์ที่เห็นทุกวัน หน้าของคนที่เจอทุกวัน ความสนใจก็ค่อยๆจางไป เป็นพลังงานซึ่งเกิดขึ้นในใจที่พยายามเมินเฉยสิ่งเหล่านั้นโดยอัตโนมัติ

@@@@

เนื่องจากโดยปกติแล้ว ใจเราจะต้องการสิ่งเร้าที่มีพลังรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นแง่บวกหรือแง่ลบก็ตาม จึงชอบแล่นไปตามโลภะหรือโทสะ ดังนั้นเมื่อไม่มีสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดโลภะหรือโทสะมาอยู่ตรงหน้า เราก็จะเมินเฉยต่อความจริงที่อยู่ตรงหน้า แล้วหนีเข้าไปอยู่ในความคิดภายในสมอง ที่เรียกว่าความทรงจำ เมื่อเราไม่รู้สึกสนใจเรื่องที่อีกฝ่ายกำลังพูด รู้สึกว่าไม่มีสิ่งเร้า เราก็จะคิดล่องลอยไปถึงเรื่องในอดีตหรืออนาคตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย

อีกนัยหนึ่ง สิ่งที่เป็นความสุขสำหรับคู่รักคือ ช่วงที่เริ่มคบกัน ซึ่งยังมีความลังเลและความเขินอายอยู่ เพราะมีสิ่งเร้าที่ยังสดใหม่อยู่มาก เช่น ยังไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับอีกฝ่ายดีพอจึงทำให้อยากรู้มากกว่านี้ อยากรู้ว่าคนคนนี้เป็นคนแบบไหน รู้สึกตื่นเต้นว่าถ้าฉันพูดแบบนี้เขาจะมีปฏิกิริยาอย่างไร

ใจของเราชอบที่จะได้สิ่งเร้าที่รุนแรงเช่นนี้ จึงมักวางเงื่อนไขที่รุนแรงให้กับใจ เช่น การจารึกความรู้สึกที่ตื่นเต้นที่สุดลงไปในจิตใต้สำนึกว่า “อา รู้สึกดีจังเลย อยากได้สิ่งเร้าแบบนี้อีก จะอีกกี่ครั้งก็ได้”

@@@@

แต่เมื่อความรู้สึกของทั้งสองคนเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่เข้ากันได้ดี กลายเป็นคนรักกันแล้ว ปริมาณของสิ่งเร้าที่ได้รับก็จะค่อยๆลดน้อยลง อาจจะเป็นวิธีพูดที่ห้วนไปหน่อยว่า เมื่อเรารู้สึกวางใจว่า “เราได้เขามาแล้ว” ความกังวลใจก็หายไป สิ่งเร้าที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น ซึ่งถ้าจะพูดตามตรงก็คือ พลังงานกิเลสที่เป็นโทสะซึ่งทำให้กังวลว่า “ถ้าเข้ากันไม่ได้ จะทำยังไงดี” นั้น ลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด ความตื่นเต้นจึงลดลงไปด้วยเช่นกัน

ในช่วงเวลานี้ การรู้ทันว่าความตื่นเต้นได้ค่อยๆ หายไปแล้วอาจเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพัก เราจะสังเกตเห็นได้ว่า “การลดลงของความตื่นเต้น” เป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

ต่อมา เมื่อเราเจอกันบ่อยขึ้น มองหน้าอีกฝ่ายมากขึ้น หรือกล่าวอีกอย่างว่า จำนวนครั้งที่เดต และจำนวนครั้งที่ร่างกายเป็นหนึ่งเดียวกันเพิ่มขึ้น เราก็จะเคยชินกับสิ่งเร้าที่ได้จากอีกฝ่ายไปเรื่อยๆ แม้ว่าตอนเห็น อีกฝ่ายถอดเสื้อผ้าหรือเปลือยเป็นครั้งแรกจะเกิดความรู้สึกหลายๆอย่าง ขึ้นมาในใจและรู้สึกใจเต้น แต่เมื่อจำนวนครั้งเพิ่มขึ้น ความตื่นเต้นเช่นนั้น ก็ค่อย ๆ หายไป


 

ข้อมูลจากหนังสือ ไม่อกหักทั้งชีวิต
ขอบคุณเว็บไซต์ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/133458.html
By nintara1991 , 9 January 2019
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 11, 2019, 06:48:51 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ