"อภัยทาน" ในมุมมองของ พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์
อภัยทาน เป็น 1 ใน 3 ทานบารมีที่ควรสร้าง ควบคู่กับการให้อามิสทาน (สิ่งของ) และธรรมทาน (ความรู้หรือธรรมะ) หรือแปลว่า “การให้ความไม่มีภัย” การให้ความไม่เบียดเบียนอันได้แก่ ศีลกับพรหมวิหาร 4 นั่นเอง
@@@@@@@
อานิสงส์ของอภัยทานในมุมมองของพระพุทธศาสนา
การยกโทษให้ทำให้ความโกรธหายไป ความโกรธตามจริงสามารถหายได้เอง ตามกระบวนการของการเกิด-ดับ แต่ความโกรธที่หายด้วยอภัยทาน คือการยกโทษให้ การให้อภัยกัน เป็นการบริหารจิตโดยตรง เป็นการยกระดับของจิตให้สูงขึ้นด้วย
@@@@@@
ประโยชน์ของการให้อภัยในมุมมองของวิทยาศาสตร์
เมื่อนักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่าการให้อภัยมีข้อดีถึงขนาดนี้ ทำให้เกิดการวิจัยต่อมาที่ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้
1. ช่วยลดอาการหดหู่ซึมเศร้าได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์
2. ช่วยให้คู่สมรสมีความสุขขึ้นในระยะยาว
3. ช่วยให้สุขภาพร่างกายโดยรวมดีขึ้น
4. ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียด เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นต้น
พบว่าการให้อภัยต่อกันมีผลตามมาที่ทำให้คนโกรธเข้าใจโลกมากขึ้น เช่น เข้าใจว่าพฤติกรรมของเขามาจากปมในอดีต ปมที่มาจากครอบครัว เพราะเมื่อมีผลก็ต้องมีต้นเหตุ เมื่อเราเข้าใจการให้อภัยจะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ แสดงให้เห็นจิตเดิมแท้ของเรามีจิตเมตตาแฝงอยู่ เมื่อหัดทำให้จิตเกิดการให้อภัยมากเข้า เราจะเป็นคนที่ไม่โกรธง่าย และควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น
@@@@@@
พระพุทธศาสนาเชื่อว่า หากยังผูกพยาบาท โกรธเคืองกันต่อไป ในภพหน้าก็จะต้องมาเจอกันแล้วเจอเหตุการณ์แบบนี้ต่อไป
อย่างน้อยก็ทำให้เห็นว่า ตะวันตกก็เห็นด้วยกับพระพุทธศาสนาที่เป็นศาสตร์ความรู้จากตะวันออก พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องการให้อภัยมานานสองพันกว่าปี การละความพยาบาท การละความอาฆาต การละความโกรธ หากละได้จิตใจก็เป็นกุศลและชื่นเย็น วิทยาศาสตร์ยังว่ามีผลดีต่อร่างกาย ทำให้ไม่ป่วยเป็นโรคร้าย เช่น โรคความดัน โรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ไม่เท่านั้นยังมีผลดีต่อสมองในส่วนต่าง ๆ เช่น สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์เชิงบวก, สมองที่ทำหน้าที่เกี่บวกับการให้รางวัลและความพึงพอใจ, ระบบประสาทอัตโนมัติจะนุ่มนวลและอ่อนโยน การหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินทำให้เกิดความอบอุ่นและความสุข
ที่มา : สำเร็จทางโลก เพราะสุขทางธรรม โดย ดร.ภัชร สยามวาลา
ขอบคุณ :
https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/143488.htmlBy Alternative Textnintara1991 , 4 March 2019