ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แลสงฆ์พม่า..ส่องสงฆ์ไทย ไม่กล้าสลัดจีวรช่วยชาวบ้าน  (อ่าน 827 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



แลสงฆ์พม่า..ส่องสงฆ์ไทย ไม่กล้าสลัดจีวรช่วยชาวบ้าน

สัปดาห์นี้ไปดูพระสงฆ์พม่าสลัดจีวรออกช่วยเหลือชาวบ้าน ร่วมกับประชาชนและภาครัฐ โดยไม่คำนึงถึง “ความเป็นพระสงฆ์” แบบคณะสงฆ์ไทยที่จะต้องเรียบร้อย ไม่ทำอะไร กลัวผิดพระวินัย

ทุกครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเมือง สังคมหรือภัยพิบัติต่าง ๆ พระภิกษุสงฆ์ในพม่าเข้าถึงประชาชนที่อยู่ร่วมกันในชุมชนทุกครั้ง อย่างเช่น ที่มัณฑะเลย์ วัดบางวัดมีรถดับเพลิงเป็นของตนเอง ยามไฟใหม้บ้านหรือชุมชนใด ๆ ในตัวเมืองมัณฑะเล พระสงฆ์ถึงก่อนภาครัฐทุกครั้ง ความไว้วางใจของประชาชนระหว่างคณะสงฆ์กับภาครัฐ ประชาชนไว้วางใจพระภิกษุสงฆ์มากกว่า คือ เรียกฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีการอิดออด เตรียมพร้อมตลอดเวลา


@@@@@@

เฉกเช่นเดียวกันปัจจุบันในรัฐมอญ รัฐกระเหรี่ยง ประเทศเมียนมา ที่กำลังประสบภัยน้ำท่วม ดินจากภูเขาถล่ม ก่อให้เกิดความสูญเสียชีวิตเกือบ 100 รายในขณะนี้ วัดคือศูนย์กลางอย่างแท้จริง อันดับแรก วัดเปิดศาลาให้ประชาชนเข้ามาพักอาศัย สอง วัดตั้งโรงครัวทำอาหารเลี้ยง สาม วัดจัดกำลังคนในชุมชนตระเวนออกไปช่วยเหลือชาวบ้านและกู้ซากบ้านที่ถูกดินถล่ม พร้อมกับเร่งหาชีวิตผู้สูญหาย สี่ วัดประสานภาครัฐให้เร่งรัดเข้ามาช่วยเหลือประชาชนในชุมชนโดยไว และห้า วัดกำลังระดมทุนทุกภาคส่วนเพื่อเร่งรัดช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

พระพุทธศาสนาในพม่าเป็นสายเถรวาท เหมือนบ้านเรา และความจริงประเทศไทยรับพระพุทธศาสนามาจากรามัญด้วยซ้ำไป แต่บทบาทของคณะสงฆ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในอดีตพระสงฆ์ไทยในชุมชนมีบทบาทอย่างน้อย 3 ประการ คือ หนึ่ง เป็นผู้ไกล่เกลียความขัดแย้งในชุมชน สอง เป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน สะพาน สถานที่รักษาโรค สาม เป็นผู้ประสานงานระหว่างภาครัฐกับชุมชน วัดและพระสงฆ์จึงกลายเป็น “ศูนย์กลางของชุมชน” อย่างแท้จริง

@@@@@@

ปัจจุบันบทบาทเหล่านี้แม้คณะสงฆ์พยายามจะรื้อฟื้นกลับมา แต่ก็ยากที่จะเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง เพราะชุมชนล้ำหน้ากว่าพระภิกษุทั้งเรื่องเศรษฐกิจ และองค์ความรู้ ชุมชนส่วนหนึ่งหรือส่วนใหญ่จึงคิดว่าวัดและพระสงฆ์ ไม่มีความจำเป็นที่ชุมชนจะต้องพึ่งพาเหมือนสมัยก่อน และภาครัฐไทยเอง ก็ได้พยายามเข้าไปมีบทบาทแทนพระสงฆ์เกือบหมดแล้ว แต่ถึงอย่างไรเสียด้านการช่วยเหลือชาวบ้าน ให้เข้าถึงชุมชนคณะสงฆ์ไทยก็ยังไม่ลดละ เลิกเสียทีเดียว อย่างน้อยมีความพยายามที่จะทำเห็นได้จาก 2 โครงการใหญ่ ๆ คือ มหาเถรสมาคม มีมติให้มอบให้พระพรหมวิชรญาณ (ปัจจุบันสมเด็จพระมหาธีราจารย์) เป็นประธานด้านสาธารณสงเคราะห์ ช่วยเหลือวัด ชุมชน และประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ และคิลานุปัฎฐาก พระอาสาสมัครประจำวัด ประจำตำบล เพื่อดูแลพระสงฆ์ด้วยกันเอง ในขณะเดียวกันเพื่อออกไปเยี่ยมเยียนผู้สูงวัยและผู้ป่วยติดเตียง

ภาพที่เราเห็นได้ชัดบทบาทคณะสงฆ์ในประเทศพม่าที่เข้าถึงประชาชนและได้จริง ๆ ก็คือ หลังเกิดวิกฤติการณ์ดินถล่ม น้ำท่วมคราวนี้ที่มีประชาชนเสียชีวิตหลายสิบชีวิต บ้านเรือนพังทลาย ทรัพย์สูญหาย เสียหายเป็นจำนวน อันนี้ยังไม่นับพืชผลทางเกษตรที่เสียหายเกือบหมดสิ้น


@@@@@@

พระสงฆ์มอญจำนวนมาก ออกจากวัด สลัดจีวรออกไปช่วยเหลือชาวบ้าน ร่วมกับประชาชนและภาครัฐ โดยไม่คำนึงถึง “ความเป็นพระสงฆ์” แบบคณะสงฆ์ไทยที่จะต้องเรียบร้อย มีอาจารงดงาม พระสงฆ์พม่า พระสงฆ์มอญจำนวนมาก ไม่กลัวคนจับผิด ไม่กลัวประชาชนด่า เพราะรู้ว่า อันไหนควร อันไหนเหมาะสม และทั้งไม่กลัวจะไม่หลุดพ้นจากทุกข์หรือเข้าถึงพระนิพพาน และสวมหัวใจแห่ง “พระโพธิสัตว์” เข้าไปช่วยเหลือมนุษย์ที่กำลังตกทุกข์ได้ยาก

ไม่เหมือนพระสงฆ์ไทยที่ส่วนใหญ่มุ่งหวังพระนิพพาน ไม่กล้าทำอะไรที่คิดว่าผิดวินัยสงฆ์ ไม่กล้าทำอะไรที่กรอบของสังคมวางเอาไว้ ไม่กล้าคิดหรือทำอะไรที่ภาครัฐครอบเอาไว้ สุดท้ายสุด นิพานก็เข้าไม่ถึง ความเป็น โพธิสัตว์ ก็สัมผัสไม่ได้...

@@@@@@

หมายเหตุ..หากต้องการบริจาคยารักษาโรค อาหารแห้ง หรือเสื้อผ้าให้กับคณะสงฆ์มอญและประชาชนผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่รัฐมอญ ต่อต่อ มูลนิธิรามัญรักษ์ 08-6344-9902



คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/725654
พุธที่ 14 สิงหาคม 2562 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ