ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อ หลวงปู่ดูลย์ เข้าถึงแก่นธรรม แห่ง อริยสัจ 4. หรือ อริยสัจแห่งจิต  (อ่าน 870 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เมื่อ หลวงปู่ดูลย์ เข้าถึงแก่นธรรม แห่ง อริยสัจ 4. หรือ อริยสัจแห่งจิต

เมื่อจาริกออกจากวัดม่วงไข่ หลวงปู่ดูลย์ เปรียบประหนึ่งหลักชัยของภิกษุผู้แสวงหาความหลุดพ้น แม้มีลูกศิษย์มากมายพร้อมให้การอุปัฏฐาก แต่ท่านยังคงวัตรปฏิบัติอันน่เลื่อมใสยังคงถือสันโดษ ไม่เห็นแก่ความสะดวกสบาย ยังคงบำเพ็ญเพียรอย่างจริงจัง ในที่สุดจึงตัดสินใจนำคณะหยุดพำนัก ณ ถ้ำพระเวสสันคร อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

“สัพเพสังขารา สัพพะสัญญา อะนัดตา” ตลอดเวลาที่บำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำพระเวสสันตร หลวงปู่ดูลย์ยกหัวข้อหลักกัมมัฏฐานที่ได้รับจกพระอาจารย์มั่นขึ้นพิจารณา เมื่อจิดตั้งมั่นในสมาธิจึงเกิดปัญญารู้แจ้งในธรรมว่า ”เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป และสภาพแห่งความเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร“

ณ ถ้ำพระเวสสันดรแห่งนั้น จิตของหลวงปู่ดูลย์ได้รับการพัฒนอย่างต่อเนื่องจนเกิดภาวนามยปัญญา ที่สุดก็ได้พบธรรมะอันป็นหัวใจของพุทรศสนาคือ อริยสัจสี่ ก่อนจะสรุปป็น”อริยสัจแห่งจิต”ที่หลายคนคุ้นเคยกันดี เนื่องจากเป็นข้อธรรมที่กระจ่างชัดด้วยถ้อยคำเรียบง่ายของหลวงปู่ดูลย์เอง

   ”จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น  เป็นสมุทัย
    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว  เป็นทุกข์
    จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง  เป็นมรรค
    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง  เป็นนิโรธ“


 

นับป็นเรื่องน่ายินดีอย่างยิ่งที่ศิษย์ตถาคดผู้ถือกำเนิดหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์หลายพันปี แต่มีความวิริยะด้านวิปัสสนาธุระ จนสามารถเข้าถึงแก่นธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ในหมู่ผู้ฏิบัติสพระกัมมัฏฐาน ทั้งภิกษุและฆราวาสต่างยอมรับว่าหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เป็นพระสงฆ์รูปเดียวที่มีความรู้ลึกซึ้งในเรื่องของจิต จนได้รับสมญาว่า “บิดาแห่งการภาวนาจิต” ดังที่ท่านเคยแสดงธรรมว่า

”หลักธรรมที่แท้จริงคือจิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละคือหลักธรรมสูงสุดในจิตใจของเรา นอกจากนั้นแล้วไม่มีหลักธรรมใด ๆ เลย  จิตนี้แหละคือหลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้วก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่า คลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดทอนไปแล้ว พิษของจิตก็ได้ถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ ซึ่งมีอยู่ประจำแล้วทุกคน “

ความเข้าใจเรื่องจิตอย่างลึกซึ้งเกิดจากความพากเพียรฝึกตนบนครรลองที่พระบรมครูคือพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ตลอดจนสั่งสมภูมิธรรมจากแบบย่างที่ดีงามไม่มีที่ติของพระอาจารย์มั่นประกอบกัน ”ถูกต้องแล้ว เอาตัวรอดได้แล้ว นับว่าไม่ถอยหลังอีกแล้วอยากให้ดำเนินตามปฏิปทานี้ต่อไป“


@@@@@@

เมื่อหลวงปู่ดูลย่์ได้พบพระอาจารย์มั่นและได้กราบเรียนถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติ จึงได้รับการยืนยันจากพระอาจารย์ใหญ่ด้วยวาจาและการกระทำที่เปี่ยมด้วยความเมตตา พระอาจารย์มั่นลงมือตัดผ้าไตรจีวรด้วยมือของท่านเอง แล้วมอบให้หลวงปู่ดูลย์ 1 ไตร ความเมตตาจากพระอาจารย์มั่นนับเป็นการอนุโมทนาและให้กำลังใจในการทุ่มเทปฏิบัติวิปัสสนา รวมทั้งได้กล่าวยกย่องสรรเสริญให้บรรดาศิษย์ฟังว่า ”ท่านดูลย์นี้ป็นผู้ที่มีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง สามารถมีสานุศิษย์และผู้ติดตามมาประพฤติปฏิบัติธรรมด้วยเป็นจำนวนมาก”

การได้พบสภาวธรรมที่ก้าวหน้าของหลวงปู่ดูลย์พิสูจน์ความเป็น ”อกาลิโก”ของธรรมะได้เป็นอย่างดี สัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นไม่เคยเปลี่ยนแปรแม้ล่วงมาหลายพันปี ไม่ว่าผู้น้อมนำมาปฏิบัติจะอยู่แห่งหนตำบลใด หากตั้งมั่นสร้างเหตุแห่งปัญญาให้ถึงพร้อม ผลที่เกิดย่อมรู้ได้เฉพาะตนว่า หนทางหลุดพ้นจากห้วงทุกข์มีอยู่จริง บุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องย่อมเข้าถึงแก่นธรรม เฉกเช่นหลวงปู่ดลย์ อตุโล


ที่มา : หลวงปู่ดูลย์ อริยสงฆ์ผู้เป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต โดย อิสระพร บวรเกิด สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ
ภาพ : https://esan108.com
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/189163.html
By nintara1991 ,20 December 2019
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ