ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โรงทานสมเด็จสังฆราช - กักตัว 14วัน ให้ฝึกสติปฎิบัติธรรม  (อ่าน 860 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



โรงทานสมเด็จสังฆราช - กักตัว14วันให้ฝึกสติปฎิบัติธรรม

หากใครที่ติดตามบทความ “ริ้วผ้าเหลือง” ผมประจำ จะรู้ว่า เป้าหมายอันหนึ่งของการปฎิรูปกิจการพระพระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคมนั่นก็คือ..ให้วัดเป็นศูนย์ของชุมชนหมู่บ้านเพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง

ฉับพลันที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงมีพระดำริให้วัดที่มีศักยภาพมีทุนเพียงพอเหลือที่จะช่วยเหลือประชาชนได้ให้ตั้ง “โรงทาน” เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่าหรือโควิด -19

พระสังฆาธิการและวัดทั่วประเทศก็รับสนองพระดำริพรึบ ซึ่งถือว่าตอบสนองเป้าหมายการปฎิรูปกิจการพระพุทธศาสนาได้อย่างแท้จริง



หากเราย้อนไปในอดีต เรื่องนี้เป็นบทบาทเดิมของพระสงฆ์อยู่แล้ว เพียงแต่หลังปี 2505 นี้เป็นต้นมา เมื่อคณะสงฆ์มี พ.ร.บ. 2505 ขึ้นมาครอบงำ โครงสร้างการบริหารจัดการเปลี่ยนไป ระบบการศึกษาไทยถูกแย่งชิงให้ห่างออกจากวัด บทบาทพระสงฆ์ที่สัมผัสกับคนรอบข้างวัด ภายในชุมชนก็ห่างเหิน เกิดช่องว่าง อย่างเห็นได้ชัด

การจะเป็นเจ้าอาวาส การจะได้ตำแหน่งพระครูหรือเจ้าคุณ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาชาวบ้าน เพียงแค่เจ้าอาวาสมีผลงานสร้าง มีผลงานพัฒนาวัด เป็นที่รักใคร่ของเจ้าคณะปกครอง ตำแหน่งเหล่านี้ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม




ปรากฎการณ์แบบนี้คณะสงฆ์ส่วนกลางรับรู้ได้ดี กรรมการมหาเถรรับรู้ได้ดี ยุคสมัยสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม  จึงออกกฎเบียบในฐานะเจ้าคณะใหญ่หนกลางว่า พระสังฆาธิการรูปใด จะขอสมณศักดิ์ จะขอเลื่อนสมณศักดิ์ จะต้องแนบเอกสารแจกทุนให้กับนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในชุมชนด้วย มรดกตกทอดนี้ทุกวันนี้ก็ยังยึดถือกันอยู่

ปัจจุบันโรงทานพระดำริสมเด็จพระสังฆราช มีวัดหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร หลายจังหวัดในส่วนภูมิภาค สนองพระดำริ อย่างขยันขันแข็ง วัดต่างจังหวัดมีหลายวัดที่ประชาชน นำข้าวสาร ผัก พร้อมกับออกแรงมาช่วยทำอาหาร ช่วยกันแพ็กใส่กล่องไปแจกให้กับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ตามบ้าน




ปรากฎการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นนอกจากพระบารมีสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ล้วนเป็นจิตสำนึกของพระคุณเจ้าที่มีเมตตาต่อชุมชน หมู่บ้านที่อยู่รอบวัด อย่างแท้จริง เป็นบทบาทของพระสงฆ์ยุคเดิมก่อนเกิดพ.ร.บ.สงฆ์ 2505 อย่างแท้จริง

และแน่นอน ระยะยาว การช่วยเหลือและการทำอาหารแบบนี้ วัดใดหากไม่มี “กองหนุน” ย่อมแผ่วลง เพราะต้องใช้งบประมาณและกำลังคนพอสมควร ทางออกเรื่องนี้ ประชาชน ท้องถิ่น ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้



ทางออกอีกทางคือหากให้โรงทานพระดำริสังฆราชนี้ให้ยืนหยัดช่วยเหลือบรรเทาได้อย่างมั่นคงจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย มหาเถรสมาคมอาจจะต้องใช้งบกลางของคณะสงฆ์เช่น งบกองทุนวัดช่วยวัด,งบศาสนสมบัติกลาง ดังนี้เป็นต้น


มีผู้เสนอต่อยอดต่อว่า ปัจจุบันวัดหลายวัดมีศาลาว่าง สำนักปฎิบัติธรรมต่างจังหวัดหลายแห่งมีพื้นที่ว่างมากมาย  เป็นไปได้หรือไม่ว่า ใช้เป็นสถานที่กักตัวสำหรับผู้อยู่ในข่ายป่วย เป็นไปได้หรือไม่ว่าช่วงเวลาที่ถูกกักตัว 14 วันเพื่อรอดูอาการนั่น “ควรปฎิบัติธรรมฟื้นฟูจิตใจ” ด้วย เพื่อแก้ความฟุ้งซ่าน เพื่อให้มีกิจกรรมร่วมกัน เพียงแต่ ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกันเท่านั่น

ผมคิดว่าแนวคิดนี้ดี เพียงแต่รัฐบาล มหาเถรสมาคม จะเห็นด้วยหรือไม่เท่านั้น




คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com
ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/article/767530
พุธที่ 8 เมษายน 2563 เวลา 11.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ