ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แฟชั่นผม “ทรงมหาดไทย” มาจากไหน.? ทำไมถึงฮิต.?  (อ่าน 837 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ผมทรงมหาดไทย (ภาพจากหนังสือ The Country and People of Siam โดย Karl Döhring)


แฟชั่นผม “ทรงมหาดไทย” มาจากไหน.? ทำไมถึงฮิต.?

ที่มาของผมทรงมหาดไทยนั้น George Windsor Earl ซึ่งเดินทางเข้ามายังสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2375 ได้บันทึกไว้ว่า“กล่าวกันว่าการที่คนสยามตัดผมข้างหลังออกเช่นนี้ เป็นผลเนื่องมาจากความไม่สะดวกในเวลาออกรบ กล่าวคือในการทำสงครามครั้งหลังๆ มีชาวสยามถูกพวกโคชินจีน [เวียดนาม – ผู้เขียน] ที่มีความกล้าหาญมากกว่า ดึงผมจับตัวไปเป็นเชลย ซึ่งไม่เหมาะกับวิธีการรบในส่วนนี้ของโลก…”

ขณะที่หลวงวิจิตรวาทการระบุว่าผมทรง “มหาดไทย” มาจากคำว่า “มหาอุทัย” ซึ่งหมายถึงดวงอาทิตย์แรกขึ้นหรือพระอาทิตย์อุทัย

“อนึ่งในชั้นเดิมที่พวกไทยเรายกมาจากดินแดนที่ประเทศจีนในเวลานี้นั้น ก็ไว้ผมยาวเกล้ามวยทั้งหญิงชายเหมือนกับจีนในสมัยโบราณ แต่พอตั้งกรุงสุโขทัยเสร็จไทยก็ตัดผม มีรูปเป็นวงกลมกลางกระหม่อม และโกนรอบข้างทำให้ผมตรงกลางมีรูปร่างเหมือนพระอาทิตย์ และเรียกชื่อผมที่ตัดใหม่นี้ว่ามหาอุไทย…”

@@@@@@

ตามด้วยทัศนะของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ระบุถึงทรงผมคนไทยสมัยสุโขทัย ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาไว้ ความว่า

“ยังมีข้อสันนิษฐานอีกอย่างหนึ่ง ด้วยธรรมเนียมของเรา เจ้านายขุนนางย่อมไว้ผมยาว ต่อไพร่เลวจึงตัดผมสั้น เช่น ชฎา ลอมพอก ซึ่งมาแต่ผ้าโพกเมื่อยังไว้ผมสูง จะเลิกไว้ผมยาวเมื่อเกิดบวชกันขึ้นดอกกระมัง (พระบรมไตรโลกนาถ) ข้อนี้ไม่มีหลักฐานเป็นแต่ข้าพเจ้านึกขึ้น ก็จดเอาไว้สำหรับผู้อื่นพิจารณาต่อไป”

@@@@@@

สอดคล้องกับ สมภพ จันทรประภา ระบุในหนังสืออยุธยาอาภรณ์ ว่า ผมทรงมหาดไทยได้รับความนิยมขึ้นภายหลังจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ครองราชย์ พ.ศ. 1991-2031) ภายหลังทรงเจรจาสงบศึกสงครามกับล้านนา และทรงออกผนวช มีข้าราชการจำนวนมากออกบวชตามด้วย จึงทำให้ผมสั้นทรงนี้ได้รับความนิยมในเวลาต่อมา และเมื่อปลายอยุธยา ต่อธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น บ้านเมืองอยู่ในภาวะสงครามมาโดยตลอด และหนังสือกองวัฒนธรรม สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้อธิบายไว้ด้วยเช่นกันว่า

“ครั้นย่างเข้ายุคสงคราม ชาติไทยในสมัยอยุธยาตอนปลาย ต้องรบพุ่งเพื่อผดุงเอกราช ชายหญิงต้องจับดาบฟาดฟันกับผู้รุกราน เครื่องแต่งกายจึงแปรผันไปบ้าง ดังผู้หญิงที่ตัดผมให้สั้นลง เพื่อปลอมเป็นผู้ชายและสะดวกในการหนีภัย เสื้อผ้าอาภรณ์ก็ต้องตัดทอนลงมิให้รุ่มร่าม เป็นอุปสรรคแก่การเคลื่อนที่ มีการห่มผ้าตะแบงมานขึ้นด้วย ส่วนชายไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกจนกระทั่งกรุงธนบุรี”



อ้างอิง :-
- องค์ บรรจุน. (มิถุนายน, 2561). การเมืองเรื่องทรงผมของชายชาวหงสาวดีและพระนเรศวร. ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 39 (ฉบับที่ 8) : หน้า 34-43

ขอบคุณ : https://www.silpa-mag.com/culture/article_20213
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ.2563
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 10 กันยายน 2561
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ