ซ้าย-แบบ “พระบรมรูปทรงม้า” ซึ่งได้รับคะแนนนำขาดลอย (ภาพจากหนังสือ ประวัติศาสตร์สมัยธนบุรี สำนักพิมพ์สารคดี) กลาง-อาจารย์ศิลป์ พีระศรีกำลังขยายแบบปั้นอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน (ภาพจากหนังสือ ๑๐๐ ปี ศิลป์ พีระศรี นิทรรศการเชิดชูเกียรติฯ, มหาวิทยาลัยศิลปากร) ขวา-พระบรมราชานุสาวรีย์ปัจจุบัน
พระบรมราชานุสาวรีย์ “พระเจ้าตาก” ที่วงเวียนใหญ่ | 32 ปีที่ “ทองอยู่” ริเริ่ม-ผลักดันจนสำเร็จพระบรมราชานุสาวรีย์ที่วงเวียนใหญ่ ใช้เวลา 32 ปีจึงแล้วเสร็จ ด้วยการริเริ่ม-ผลักดัน-เกาะติด ของ “ทองอยู่ พุฒพัฒน์” คนจริงฝั่งธนบุรี
นายทองอยู่ผู้นี้เป็นใคร นิตยสาร “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนกันยายน 2561 ตีพิมพ์เรื่องของเขา ไว้ในบทความชื่อ“ชีวิตอุทิศแด่ ‘พระเจ้าตาก ประชาธิปไตยและ พระนิพพาน’ ส.ส. พรหมจรรย์ ทองอยู่ พุฒพัฒน์ (พ.ศ.2442-2514)” โดยนริศ จรัสจรรยาวงศ์ ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูล ซึ่งขอสรุปบางส่วนมานำเสนอดังนี้
ทองอยู่ พุฒพัฒน์ (พ.ศ. 2442-2514) เป็นคนธนบุรี บ้านอยู่หลังวัดอมรินทร์ อำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี เป็นครูที่โรงเรียนฝึกหัดครูวัดบวรนิเวศ เมื่อ พ.ศ. 2465 เขาเสนอความคิดเรื่องพระบรมราชานุสาวรีย์กับเพื่อนครู แต่ถูกมองเป็นเรื่องที่ใครขืนอุตริทำขึ้นก็เหมือนหาเรื่องใส่ตัวภาพทองอยู่ พุฒพัฒน์ .. พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินที่วงเวียนใหญ่ หนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่กว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จต้องใช้เวลาถึง 32 ปี (พ.ศ. 2465-97) ซึ่งผู้ที่ริเริ่ม ผลักดัน เกาะติดอย่างต่อเนื่องจนก่อสร้างแล้วเสร็จ คงต้องยกเครดิตนี้ให้ ทองอยู่ พุฒพัฒน์
หนังสืออนุสรณ์ “สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ฉบับทูลเกล้าฯ ถวาย พิมพ์ครั้งแรก” ๑๗ เมษายน ๒๔๙๗
พ.ศ. 2477 ได้เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดธนบุรีก็เชิญประชุมผู้แทนตำบลของจังหวัดธนบุรีทั้งหมด เพื่อหารือเรื่องพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินอีก
แม้รัฐบาลจะเห็นชอบในการก่อสร้าง แต่งานกลับไม่คืบหน้า ทองอยู่เข้าพบนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นๆ อีกหลายรัฐบาลเพื่อติดตามเรื่องการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินอย่างต่อเนื่อง จนเริ่มมีการออกแบบ การก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แล้วเสร็จ และมีการฉลองสมโภชในเดือนเมษายน พ.ศ. 2497
นอกจากเรื่องของพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าตากสินแล้ว เขายังเป็นสมาชิกนักการเมืองรุ่นบุกเบิกของประเทศ เป็นบุคคลแรกที่ขึ้นกล่าวโจมตีนโยบายรัฐบาลในที่ชุมชนสาธารณะจนได้ฉายา “โต้โผไฮด์ปาร์ค” และเป็นคนเรียกร้องให้ยกเลิกสมาชิกผู้แทนราฎรประเภท 2 (ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง) จนถึงขั้นอดข้าวประท้วง ฯลฯ แต่บั้นปลายชีวิตกลับหันหลังให้กับเรื่องราวทางโลกทั้งหมดแล้วออกบวชจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
เรียกได้ว่านายทองอยู่เป็น “คนจริง” คนหนึ่งทองอยู่ พุฒพัฒน์ เจ้าของฉายา “โต้โผไฮด์ปาร์ค” ถูกจับกุมกรณีกบฏอดข้าว
บรรยากาศไฮด์ปาร์ควิจารณ์การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลจอมพล ป.
ปกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2561
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ.2563
เผยแพร่เนื้อหาในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 9 กันยายน พ.ศ.2561
ขอบคุณ :
https://www.silpa-mag.com/history/article_20042