ในทีฆนขสูตรระบุทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดวิวาท โดย สมณพราหม์แต่ละจําพวกมีวาทะและทิฏฐิ (ความเห็น) แตกต่างกัน แยกได้ 3 จำพวก (พระไตรปิฏกพร้อมอรรถกถา แปล เล่ม 20 : 193-194)
จำพวกที่ 1. มีทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงเป็นที่ พอใจแก่ตน จะมีพฤติกรรม
(1) อยู่ใกล้ความกำหนัด
(2) อยู่ใกล้กิเลสเครื่องผูกสัตว์ไว้
(3) ใกล้ กิเลสเป็นเหตุเพลิดเพลิน
(4) ใกล้กิเลสเป็นเหตุเกาะติด
(5) ใกล้กิเลสเป็นเหตุยึดมั่น
________________________________________
(-1) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539), หน้า 239.
จำพวกที่ 2. มีทิฏฐิว่า สิ่งทั้งปวงไม่เป็นที่พอใจแก่ตน จะมีพฤติกรรม
(1) อยู่ใกล้ความไม่กำหนัด
(2) อยู่ใกล้ ธรรมเป็นเครื่องเปลื้องสัตว์
(3) ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุเพลิดเพลิน
(4) ใกล้ธรรมที่ไม่เป็นเหตุ เกาะติด
(5) ใกล้ธรรม ไม่เป็นเหตุปัดมั่น
จำพวกที่ 3. มีทิฏฐิว่า บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่ตน บางสิ่งไม่ เป็นที่พอใจแก่ตน แยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่ม 1. พวกที่เห็นว่า เป็นที่พอใจแก่ตน จะมี พฤติกรรมเช่นเดียวกับจ๋าพวกที่ 1
กลุ่ม 2. พวกที่เห็นว่าไม่เป็นที่พอใจแก่ตน จะมีพฤติกรรม เช่นเดียวกับจำพวกที่ 2 การละ สลัดทิ้งทิฏฐิ (พระไตรปิฎกภาษาไทย เล่ม 13 ข้อ 203: 241)
@@@@@@@
โดยสมณพราหมณ์จำพวกที่ 1. เมื่อยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิของตนแล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่า “นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” เป็นการเห็นผิดจากจำพวกที่ 2. และจำพวกที่ 3. เป็นเหตุให้เกิดวิวาท มีการทุ่มเถียงกัน ทำลายกัน การเบียดเบียนกัน เมื่อพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการถึงเหตุนั้น เห็นโทษ ความถือผิดอันหาประโยชน์มิได้ จึงละทิฏฐิ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทั้งของตนและทิฏฐิอื่น ย่อมละ ย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นเสียได้ (เปลี่ยนแนวคิดจากมิจฉาทิฏฐิเป็นสัมมาทิฏฐิ)
จำพวกที่ 2. มีความเห็นว่า "นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง” ก็ถือผิดเช่นเดียวกันเหมือนจำพวกที่ 1. และ 3. อันเป็นเหตุให้เกิดวิวาท จะมีการทุ่มเถียงกัน ทำลายกัน และมีการเบียดเบียนกันในตน เมื่อ พิจารณาความเห็นผิดเช่นเดียวกับจ่าพวกที่ 1. และจำพวกที่ 3. จึงละทิฏฐิ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทั้ง ของตนและทิฏฐิอื่น จากการพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการถึงเหตุนั้นย่อมละ ย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นเสียได้เช่นกัน
จำพวกที่ 3. มีความเห็นว่า “บางสิ่งเป็นที่พอใจแก่ตน บางสิ่งไม่เป็นที่พอใจแก่ตน" ย่อมพิจารณาเห็นว่า ถ้าจะยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ ดังว่านี้แล้วยืนยันอย่างแข็งขันว่า “นี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นไม่จริง” ก็จะพึงเห็นผิดเช่นเดียวกันกับ 2 จำพวกแรก อันเป็นเหตุให้เกิด วิวาทจึงละทิฏฐิ ไม่ยึดมั่น ไม่ถือมั่นทั้งของตนเองและทิฏฐิอื่นเช่นเดียวกับจำพวก 1. และจำพวก 2. จากการพิจารณาด้วยโยนิโสมนสิการถึงเหตุนั้น ย่อมละ ย่อมสลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นเสียได้เช่นเดียวกัน

กาย(รูป) เกิดจากมหาภูตรูป ได้แก่ธาตุทั้ง 4 อันประกอบด้วย (พระไตรปิฎก ภาษาไทย เล่ม 13 ข้อ 205 : 242)
(1) ปฐวีธาตุหรือธาตุดิน เป็นส่วนที่แขนแข็งบรรดาที่มีอยู่ภายใน กายนี้ ได้แก่ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็กหรือสายรัดไส้ อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) เยื่อในสมอง รวมเป็นอาการ 20
(2) อาโปธาตุหรือธาตุน้ำ เป็นส่วนที่เอิบอาบเหลวไหลบรรดาที่มีอยู่ภายในกายนี้ ได้แก่น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำตา น้ำลาย มันข้น มันเหลว น้ำมูก มูตร รวมเป็น 12 ธาตุดินรวมกับธาตุน้ำ เป็นอาการ 32)
(3) เตโชธาตุหรือธาตุไฟ เป็นส่วนที่อบอุ่นบรรดามีอยู่ ภายในกายนี้ทำให้ร่างกายชำรุดทรุดโทรม ไฟที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน ไฟที่ย่อยอาหาร คือช่วย ย่อยอาหารในลำไส้
(4) วาโยธาตุหรือธาตุลม เป็นส่วนที่พัดไหวบรรดาที่มีอยู่ภายในกายนี้ ได้แก่ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้หรือในกระเพาะ ลมที่พัดไปมา ตลอดอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย ลมอัสสาสะ (ลมหายใจเข้า) ลมปัสสาสะ (ลมหายใจออก)
@@@@@@@
มหาภูตรูป 4 ประกอบเข้าเป็นกาย เมื่อธาตุทั้ง 4 ยังคุมกันอยู่ กายนี้ก็ย่อมดำรงอยู่ คือ กายมีชีวิต เมื่อธาตุทั้ง 4 แตกสลาย ความดำรงอยู่แห่งกายก็สิ้นไปชีวิตก็สิ้นไป กาย(รูป) มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญเติบโตด้วยข้าวสุกและขนมกุมมาส มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นของไม่สะอาด ไม่งาม เป็นสิ่งปฏิกูล กายนี้ต้องมีการไล้ทา บีบนวด ต้องอบและขัดสีเป็นประจำ เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน เป็นของว่างเปล่า เป็นดุจผู้อื่น เป็นดุจโรค เป็นดุจหัว เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา เป็นอนัตตา
ให้กำหนดรู้ด้วยปัญญา เพื่อพิจารณากาย(รูป)ว่า มีลักษณะไม่งาม ไม่สะอาด เป็นสิ่งปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัว เป็น ลูกศร เป็นความลำบาก เป็นความเจ็บไข้ เป็นผู้อื่น เป็นของทรุดโทรม เป็นของว่างเปล่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน การละกาย(รูปกรรมฐาน) โดยพิจารณาเห็นว่า ร่างกายที่สกปรกนี้ไร้แก่นสาร และที่สำคัญผิดคิดว่าสวยว่างาม จึงหลงบำรุงบำเรอดูแล ส่วนประกอบของรูปกาย แต่งเติมเสริมสวย ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ดูสวยงาม ไม่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา นับเป็นความเห็นผิดและขัดกับกฏไตรลักษณ์
เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นจริงของกายแล้ว ย่อมเกิดนิพพิทาคือ ความเบื่อหน่าย คลายความกำหนัด คลายความมัวเมา คลายความหลงใหลไปทั้งในกายตนและของผู้อื่น เมื่อเห็นความจริงเช่นนี้ ย่อมละความพอใจในกาย คือความทะยานอยากในกาย ละความเยื่อใยในกาย เพราะไม่อยู่ในสุข และไม่อยู่ในอำนาจของกาย คือตัณหา และละความยอมตามกายได้ คือ ไม่ตกเป็นทาสกิเลสที่เป็นไปตามกาย อีกต่อไป
@@@@@@@
เวทนา 3 ได้แก่
1) สุขเวทนา
2) ทุกขเวทนา
3) อทุกขมสุขเวทนา
แต่ละเวทนาจะบังเกิด ขึ้นไม่พร้อมกัน โดยเสวยครั้งละ 1 เวทนาเท่านั้น เวทนาอื่นหามีไม่ ย่อมไม่เกิดขึ้นเลย เวทนาเกิดจากผัสสะ คือ เป็นการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน ได้แก่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระทบกับ อายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ จึงเกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งในสาม
แต่ละเวทนานั้นไม่เที่ยง ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป และดับไปเป็นธรรมดา การละเวทนา(อรูปกรรมฐาน) ผู้ได้สดับแล้วและเห็นจริง ย่อมเบื่อหน่ายเวทนาทั้ง 3 ย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะต้องทำอีกต่อไป(-2) (พระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ , เวทนา 3 , หน้า 243)
ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจะไม่ทะเลาะวิวาททุ่มเถียงกับใคร ๆ โวหารใดที่ชาวโลกนิยมพูด ก็พูดไปแต่ไม่ยึดมั่น ถือมั่นธรรมใด ๆ เพียงแต่กล่าวไปตามโวหารนั้น เท่านั้น ดังพระพุทธพจน์ว่า(-3)
“ภิกษุใดเป็นพระอรหันต์ ทำกิจเสร็จแล้ว สิ้นอาสวะแล้ว เหลือแต่ ร่างกายในชาติสุดท้าย ภิกษุนั้นกล่าวว่าเราพูดดังนี้บ้าง กล่าวว่าคนทั้งหลายพูดกับเราดังนี้บ้าง ภิกษุนั้นเป็นผู้ฉลาดทราบคำพูดที่รู้กันในโลก เธอกล่าวตามสมมติที่เขาพูดกัน" (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย สคาถวรรค , ๕.อรหันตสูตร ว่าด้วยพระอรหันต์ หน้า 28-29)
“จิตตะเหล่านี้แล เป็นโลกสมัญญา (ชื่อที่ชาวโลกใช้เรียก) เป็นโลกนิรุตติ ภาษาของโลก) เป็นโลกโวหาร (โวหารของ ชาวโลก) เป็นโลกบัญญัติ (บัญญัติของชาวโลก) พระพุทธองค์ก็ใช้อยู่แต่ไม่ยึดถือ" (-4) (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๔๔๐] หน้า 195.)
และตรัสว่า
“กายนี้มิใช่ของเธอ ทั้งมิใช่ของผู้อื่น กายนี้พึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า (เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปรุงแต่ง แห่งเหตุปัจจัยทั้งหลายตามกระแสปฏิจจสมุปบาท) ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา” (-5) (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย นิทานวรรค , ๗. นตุมหสูตร ว่าด้วย(กาย)ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย หน้า 79.)
พระสารีบุตรฟังธรรมนี้และติดตามไปด้วยโยนิโสมนสิการจนจิตหลุดพ้น บรรลุเป็นพระอรหันต์ ส่วนทีฆนขปริพาชก เกิดธรรมจักษุ บรรลุโสดาบัน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสกต่อพระผู้มีพระภาค และขอถึงพระรัตนตรัย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต
@@@@@@@
สำหรับหลักการปฏิบัติพื่อการบรรลุธรรมในทีฆนขสูตรสรุปได้ว่า ทิฏฐิอันเป็นมิจฉาทิฏฐิเป็นเหตุให้เกิดความ ขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท มีการทุ่มเถียงกัน มีการทำลายกัน มีการเบียดเบียนกัน มีแต่โทษหา ประโยชน์อันใดมิได้ วิญญูชนเมื่อพิจารณาเห็นความจริงของทิฏฐิ จึงละ สลัดทิ้งทิฏฐิเหล่านั้นและ ไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น ให้มีสัมมาทิฏฐิหรือความเห็นชอบอันเกิดจากปรโตโฆสะและโยนิโสมนสิการ
เพื่อเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงในสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยการเจริญวิปัสสนาภาวนาหรือการปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 โดยมีสติเป็นประธานใน การดู เห็น รู้ ไม่ปรุงแต่งโดยการกำหนดรู้และอยู่กับปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอกกาย เพื่อพิจารณา อารมณ์ของสติที่ฐาน 4 ได้แก่ กาย เวทนา จิต และธรรม ด้วยอาตาปีคือความเพียรเผากิเลส มีสัมปชาโนหรือสัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม และสติมา คือ มีสติตั้งมั่นอยู่ในฐาน 4 เพื่อ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ การพิจารณากาย (รูปกรรมฐาน) และเวทนา 3 คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา (อรูปกรรมฐาน) เพื่อเห็นความจริงว่า ทั้งกายและเวทนา__________________________
(-2) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หน้า 243.
(-3) เรี่องเดียวกัน, หน้า 28-29
(-4) เรี่องเดียวกัน, หน้า 195.
(-5) เรื่องเดียวกัน, หน้า 79.
แม้ธรรมทั้งหลายก็ตาม มีความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปเป็น ธรรมดา หาสาระแก่นสารอันใดมิได้ จึงไม่ควรยึดมั่นถือมั่นแต่อย่างใด พระสารีบุตรได้ฟัง พระธรรมเทศนานี้ โดยพระผู้มีพระภาคซึ่งเป็นกัลยาณมิตรทรงแสดง และฟังด้วยโยนิโสมนสิการ คือ เจริญวิปัสสนาภาวนาตามไปจนเห็นและรู้ซึ่งในธรรมทั้งหลาย จึงละและสลัดทิ้งธรรมทั้งปวง จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ยึดมั่นด้วยอุปาทาน บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
ซึ่งการบรรลุธรรมในพุทธศาสนาตามลำดับ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ที่เรียกว่า บรรลุโลกุตตรธรรม 9 ได้แก่ โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผล (เป็นพระโสดาบัน) สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล (เป็นพระสกทาคามี) อนาคามิมรรค อนาคามิผล (เป็นพระอนาคามี) อรหัตตมรรค อรหัตตผล (เป็นพระอรหันต์) และนิพพาน
ขณะนั้น ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีและปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ทีฆนขปริพาชกว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมี ความดับไปเป็นธรรมดา” ได้บรรลุโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน เพราะฟังพระธรรมเทศนานั้นเช่นกัน
บทสรุป
ทีฆนขสูตรหรืออีกชื่อหนึ่งว่า เวทนาปริคคหสูตร เป็นพระสูตรที่พระพุทธองค์แสดงแก่ ทีฆนขปริพาชก ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร ขณะประทับอยู่ ณ ถ้ําสุกรขาตา ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ เกี่ยวกับเรื่องทิฏฐิ กาย(รูป) เวทนา โดยศึกษาทิฏฐิหรือมิจฉาทิฏฐิอันเป็นเหตุ ให้เกิดวิวาท เมื่อพิจารณาเห็นโทษแล้ว จึงละและสลัดทิ้งทิฏฐินั้นเสีย และไม่ยึดถือทิฏฐิอื่น
เรื่องกาย(รูป) ศึกษาถึงอาการ 32 ที่มีอยู่ในกาย เป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด เมื่อพิจารณาเห็นความจริงของกายว่าเป็นปฏิกูล ไม่สะอาด น่าเกลียด เป็นรังของโรค ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน เป็นสิ่งต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา ย่อมละความพอใจในกาย ละความเยื่อใยในกา ยและความยอมตามกายได้
ส่วนเวทนาศึกษาถึงเวทนา 3 คือ สุข ทุกข์ และ อทุกขมสุข (อุเบกขา) เวทนามีเหตุปัจจัยการเกิดและการดับอันเกิดจากผัสสะ เมื่อผัสสะเกิด เวทนาเกิด เมื่อผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนาเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน กล่าวคื อเมื่อสุขเกิด ทุกข์และอทุก ขมสุขไม่เกิด เมื่อทุกข์เกิด สุขและอทุกขมสุขไม่เกิด เมื่ออทุกขมสุขเกิด สุขและทุกข์ไม่เกิด เวทนา เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
เมื่อพิจารณาเห็นความจริง ย่อมเบื่อหน่ายเวทนาทั้ง 3 ย่อมคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น ด้วยข้อปฏิบัติไปสู่ทางพ้นทุกข์จากเวทนา เพื่อการบรรลุธรรม ด้วยสติปัฏฐาน 4 หรือวิปัสสนาภาวนา ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทางปฏิบัติ
@@@@@@@
ข้อเสนอแนะเพื่อการนําาไปใช้
จากการศึกษาหลักการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมในทีฆนขสูตร มีข้อเสนอแนะสำหรับนำหลักธรรมนี้ไปใช้ในชีวิต ควรถือปฏิบัติดังนี้
ประการแรก. ต้องสร้างสัมมาทิฏฐิให้มีขึ้นแห่งตน เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตสู่ความพ้นทุกข์ตามมรรคมีองค์ 8
ประการที่สอง. ให้เจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาโดยพิจารณากายแห่งตน ว่าเป็นของไม่ สะอาด เป็นรังของโรค เป็นของน่าเกลียด ไม่สวย ไม่งาม เป็นการเจริญสติด้วยรูปกรรมฐาน คือ พิจารณากายแห่งตนเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อจะได้ละกิเลส เกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ละความพอใจในกายละความเยื่อใยในกายของตนและผู้อื่น
ประการที่สาม. ให้พิจารณาอารมณ์ความรู้สึกหรือเวทนาแห่งตน ที่เกิดตับอยู่ตลอดเวลา ด้วยการดู เห็น รู้ด้วยจิต ว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งว่างเปล่า ไม่ควร ยึดมั่นถือมั่น ไม่ปรุงแต่ง เพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานใด ๆ
ประการที่สี่. การอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยสัมปชัญญะหรือปัญญา สำหรับชีวิตประจำวัน การอยู่ร่วมกันนั้น การใช้สติควบคุมจิตให้รู้เท่าทันอารมณ์ความรู้สึก อย่างรู้เท่าตามทัน และให้จิตอยู่กับปัจจุบัน ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยการคิดดี พูดดี และทำดี (การเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนา ภาวนา) จะเป็นจิตของผู้ที่มีความสุข ย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นด้วยสมาธิย่อมเป็นสุข
@@@@@@@
ทุกวันนี้ ที่มีทุกข์เพราะมีความกังวลหรือสงสัย เมื่อหมดกังวลหรือข้อสงสัยทุกข์ก็ไม่มี ผู้ไม่มีอะไรให้กังวล ย่อมมีแต่ความสุข อีกประการหนึ่ง การวางตัวถือตนอันถือได้ว่า มีอัตตา ย่อมก่อให้เกิดความทุกข์ เพราะทุกข์อันเกิดจากการคบหาสมาคมกันนั้นมักเกิดจากถือตัวเรา ถือเขา ของเรา เกิดจากแนวคิดหรือมุมมอง หรือทิฏฐิ คือ ความเห็นที่ต่างกัน กล่าวคือ คนอื่นเขาจะเป็น(อุปนิสัยหรือ อนุสัยแสดงพฤติกรรมทางการคิด พูด ท่า)อย่างที่เขาอยากจะเป็น แต่เขาจะไม่เป็นอย่างที่เราอยากให้เป็น(เขาเป็นตัวของตัวเอง อิสระ เสรี ไม่ถูกบังคับข่มขืนใจ)
ดังนั้น การคบค้าสมาคมกันให้ยาวนานหรือ อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข จะต้องมีศีล ศรัทธา ปัญญา จาคะ และปรับตัวปรับใจให้ เสมอกัน ด้วยความรัก ความเข้าใจ ความมีเมตตา กรุณา เอื้ออาทร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ จริงใจ ไว้วางใจ ชื่อสัตย์ สุจริต เข้าใจ เกรงใจ ให้เกียรติ เชื่อใจ อดทน อดกลั้น มีมนุษย์สัมพันธ์
มองกันด้วยความเป็นจริงและเข้าใจกัน ให้มองอย่างที่เขาเป็น ไม่มองอย่างที่เราอยากให้เขาเป็น แล้วจะมีความสุขทั้งสองฝ่าย อย่ามีกิเลส ตัณหา อุปาทาน หรือความคาดหวังให้มากแล้วจะอยู่ ร่วมกันได้นาน เพราะชีวิตนี้มีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอน คือ ความแน่นอน และความตายเท่านั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน ซึ่งทุกคนต้องประสบพบเจอ จงพบเพื่อพราก จงพรากเพื่อพบ หรือจงจากเพื่อเจอ และจงเจอเพื่อจาก ต้องทำใจแล้วจะเข้าใจความเป็นจริงว่า ทุกสรรพสิ่งรวมทั้งตัวเรานั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลยที่เป็นแก่นสารหรือสรณะ อย่ายึดติดในโลกธรรม 8 (ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์) เพราะทุกสิ่งเป็นสิ่งสมมุติทั้งนั้น
ถ้ารู้จักละวาง ก็จะว่าง เมื่อว่างก็ผลัด ทิ้งสิ่งและธรรมทั้งปวงได้ กล่าวคือ จงอยู่กับปัจจุบันด้วยความเป็นจริง อย่ายึดมั่นถือมั่นและจง ละธรรมทั้งปวง จงอยู่เหนือดีหรือบุญ และไม่ทำชั่วหรือบาป เหนือสุขและทุกข์ จงช่วยเหลือ สงเคราะห์แก่กัน ให้อภัยต่อกัน ไม่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ไม่เบียดเบียนกัน
พระนิพพานเป็นสิ่งที่ต้องไปให้ถึงให้จงได้ เข้าทำนอง "ฝันให้ไกล ไปให้ถึง" ด้วยการคิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง มุ่ง ธรรม แล้วละ สละทิ้งสิ่งทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง แล้วชีวิตจะมีแต่สิ่งดีและมีคุณค่า ควรทำตนอย่างมีคุณภาพ คุณค่า คุณประโยชน์ มีคุณธรรมนำชีวิตเพื่อผู้อื่นและสังคม ด้วยทำแล้วสบายใจ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน องค์กรไม่เสียหาย จะทำให้ชีวิตมั่นคง(สติ) มั่งคั่ง(ปัญญา) ยั่งยืน(สันติคือสงบ,สุขคือสบาย)
ด้วยข้อเสนอแนะทั้ง 4 คือ สัมมาทิฏฐิ พิจารณากาย พิจารณาเวทนา และการอยู่ร่วมกันด้วยสัมปชัญญะหรือปัญญา ด้วยการใช้สติควบคุมจิตทุกขณะและอยู่กับปัจจุบัน(การเจริญสติปัฏฐานหรือวิปัสสนาภาวนา) แสดงออกลักษณะอาการคิดดี พูดดี ทำดี ควรนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดประโยชน์ และเป็นเหตุให้เกิดความหลุดพ้นจากทุกข์ได้
@@@@@@@
ข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาต่อไป
การศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมและการบรรลุธรรม หากมีการศึกษาต่อไปควรศึกษา วิเคราะห์เรื่องกายและเวทนา โดย
1. ศึกษาความแตกต่างระหว่างเวทนากับกาย(รูป)
2. ศึกษาการบรรลุธรรมทางกาย(รูป) ตามหลักปฏิจจสมุปบาทเอกสารอ้างอิง :-
- มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
- มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2552
ขอบคุณที่มา : วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2560
Journal of MCU Palisueksabuddhoghosa Review Vol.3 No.1 January - June 2017
ขอบคุณภาพจาก : pinterest