ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ให้ทานด้วยความไม่เคารพ "บริวารจะไม่เชื่อฟัง”  (อ่าน 3531 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ให้ทานด้วยความไม่เคารพ "บริวารจะไม่เชื่อฟัง”

ความโดยย่อจากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
ตรัสแสดงธรรม แก่อนาถปิณฑิกคฤหบดี เรื่องการถวายทานให้เห็นว่า
เวลามพราหมณ์เคยให้ทานอย่างมโฬาร
แต่การให้ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ( พระโสดาบัน ) เพียงผู้เดียวหรือร้อยท่านบริโภคอาหาร
หรือการให้ พระสกทาคามี, พระอนาคามี, พระอรหันต์, พระปัจเจกพุทธเจ้า,
ท่านเดียวหรือร้อยท่านบริโภคอาหาร,
การให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค อาหาร,
การให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภคอาหาร,
การสร้างวิหารอุทิศสงฆ์ ๔ ทิศ, การถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ,
การมีจิตใจ เลื่อมใสสมาทานสิกขาบท ( ศีล ๕ ),
การเจริญเมตตาเพียงชั่วเวลาเล็กน้อย ก็ยังมีผลมากกว่านั้น,
การเจริญอานิจจสัญญา ( ความกำหนดหมาย ว่าไม่เที่ยง ) เพียงชั่วเวลาดีดนิ้ว
ก็ยังมีผลมากกว่านั้น.


หมายเหตุ : พึงสังเกตว่า การแสดงผลของความดีสูงกว่านั้นเป็นชั้น ๆ นั้นไป
สรูปลงที่เห็นว่าไม่เที่ยงเป็นสูงสุด เพราะเป็นเครื่องทำให้เกิดความเห็นแจ้ง
__________________________

อนิจจสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)



พระไตรปิฎก เล่ม ๒๓
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


เวลามสูตร

   [๒๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถาม
ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดีในตระกูลของท่าน ยังให้ทานอยู่บ้างหรือหนอ ฯ

 

   ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในตระกูลของข้าพระองค์
ยังให้ทานอยู่ แต่ท่านนั้นเป็นของเศร้าหมอง เป็นปลายข้าว มีน้ำผักดองเป็นที่สอง ฯ

   พ. ดูกรคฤหบดี คนให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม
แต่ให้ทานนั้นโดยไม่เคารพ
ไม่ทำความนอบน้อมให้
ไม่ให้ด้วยมือตนเอง
ให้ของที่เหลือ
ไม่เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน


ทานนั้นๆ ย่อมบังเกิดผลในตระกูลใดๆในตระกูลนั้นๆ
จิตของผู้ให้ทานย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี
ย่อมไม่น้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี


แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตรภรรยา ทาส คนใช้ คนทำงาน ก็ไม่เชื่อฟัง ไม่เงี่ยหูฟัง
ส่งจิตไปที่อื่นเสีย  ข้อนั้นเพราะเหตุไร ทั้งนี้เป็นเพราะผลแห่งกรรมที่ตนกระทำโดยไม่เคารพ ฯ


   ดูกรคฤหบดี บุคคลให้ทานอันเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม
แต่ให้ทานนั้นโดยเคารพ
ทำความนอบน้อมให้
ให้ด้วยมือตนเอง
ให้ของที่ไม่เหลือ
เชื่อกรรมและผลของกรรมให้ทาน

ทานนั้นๆ บังเกิดผลในตระกูลใดๆ ในตระกูลนั้นๆ
จิตของผู้ให้ทานย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคอาหารอย่างดี
ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคผ้าอย่างดี
ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคยานอย่างดี
ย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ อย่างดี


แม้บริวารชนของผู้ให้ทานนั้น คือ บุตร ภรรยา ทาส คนใช้คนทำงาน ก็เชื่อฟังดี เงี่ยหูฟัง
ไม่ส่งจิตไปที่อื่น ข้อนั้นเพราะเหตุไรทั้งนี้เป็นเพราะผลของกรรมที่ตนกระทำโดยเคารพ ฯ


   ดูกรคฤหบดี เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพราหมณ์ชื่อเวลามะ พราหมณ์ผู้นั้นได้ให้ทานเป็น
มหาทานอย่างนี้ คือ

ได้ให้ถาดทองเต็มด้วยรูปิยะ ๘๔,๐๐๐ ถาด ถาดรูปิยะเต็มด้วยทอง ๘๔,๐๐๐ถาด
ถาดสำริดเต็มด้วยเงิน ๘๔,๐๐๐ ถาด ให้ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
มีเครื่องประดับล้วนเป็นทองมีธงทอง คลุมด้วยข่ายทองให้รถ ๘๔,๐๐๐ คัน
หุ้มด้วยหนังราชสีห์ หนังเสือโคร่ง หนังเสือเหลือง ผ้ากัมพลเหลือง
มีเครื่องประดับล้วนเป็นทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง
ให้แม่โคนม๘๔,๐๐๐ ตัว มีน้ำนมไหลสะดวก ใช้ภาชนะเงินรองน้ำนม


ให้หญิงสาว ๘๔,๐๐๐ คนประดับด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑล
ให้บัลลังก์ ๘๔,๐๐๐ ที่ ลาดด้วยผ้าโกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว
เครื่องลาดมีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชมด
มีเครื่องลาดเพดาน มีหมอนข้างแดงทั้งสอง
ให้ผ้า๘๔,๐๐๐ โกฏิ เป็นผ้าเปลือกไม้ ผ้าแพร ผ้าฝ้ายเนื้อละเอียด


จะป่วยกล่าวไปไยถึง ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ของบริโภค เครื่องลูบไล้ ที่นอน ไหลไปเหมือนแม่น้ำ

ดูกรคฤหบดี ก็ท่านพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น ผู้อื่นไม่ใช่เวลามพราหมณ์ผู้ที่ให้ทานเป็นมหาทานนั้น

ดูกรคฤหบดี แต่ท่านไม่ควรเห็นอย่างนี้ สมัยนั้น เราเป็นเวลามพราหมณ์
เราได้ให้ทานนั้นเป็นมหาทาน ก็ในทานนั้น ไม่มีใครเป็นพระทักขิเณยยบุคคลใครๆ ไม่ชำระทักขิณานั้นให้หมดจด

_________________________
ทักขิเณยยบุคคล บุคคลผู้ควรรับทักษิณา
ทกฺขิเณยยบุคคล ผู้ควรแก่ทักขิณา, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ ๙)

                
   
   
ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ ผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว


ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยทานบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิร้อยท่านบริโภค


ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระสกทาคามีร้อยท่านบริโภค


ทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีร้อยท่านบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญพระอนาคามีผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้พระอนาคามีร้อยท่านบริโภค


ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยท่านบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ผู้เดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันต์ร้อยรูปบริโภค


ทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปเดียวบริโภค

ทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยรูปบริโภค


ทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าบริโภค

การที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์ผู้มาจากจาตุรทิศ
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลถวายให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขบริโภค


การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ
มีผลมากกว่าทานที่บุคคลสร้างวิหารถวายสงฆ์อันมาจากจาตุรทิศ

การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ
จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท
มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ


การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม
มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใส สมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

ดูกรคฤหบดี ทานที่บุคคลเชื้อเชิญให้ท่านผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิผู้เดียวบริโภค
มีผลมากกว่ามหาทานที่เวลามพราหมณ์ให้แล้ว ...

การที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม
มีผลมากกว่าการที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานสิกขาบท คือ งดเว้นจากปาณาติบาต ...

และการที่บุคคลเจริญอนิจจสัญญาแม้เพียงเวลาลัดนิ้วมือ
มีผลมากกว่าการที่บุคคลเจริญเมตตาจิตโดยที่สุดแม้เพียงเวลาสูดดมของหอม ฯ

__________________________
อนิจจสัญญา กำหนดหมายถึงความไม่เที่ยงแห่งสังขาร (ข้อ ๑ ในสัญญา ๑๐)          
 
จบสูตรที่ ๑๐



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๘๓๓๖ - ๘๔๑๖.  หน้าที่  ๓๖๐ - ๓๖๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=8336&Z=8416&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=224
ขอบคุณภาพจาก http://webserv.kmitl.ac.th/,http://www.pdamobiz.com/,http://www.dmc.tv/,http://board.trekkingthai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 13, 2012, 11:44:09 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ให้ทานด้วยความไม่เคารพ "บริวารจะไม่เชื่อฟัง”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 13, 2012, 11:54:57 am »
0

ขอบคุณภาพจาก http://webboard.yenta4.com/

    พระสูตรนี้ได้บอกถึง อานิสงส์ของการให้ทานที่เป็น"ของเหลือ" กับ "ของที่ไม่เหลือ" เอาไว้อย่างชัดเจน
   แต่มีพราหมณ์คนหนึ่งให้ "ทานที่เหลือเดนแด่พระพุทธเจ้า แล้วได้เป็นอานาคามี" เชื่อหรือไม่?

 
    เชิญคลิกลิงค์นี้ครับ
    ขนาดพระพุทธเจ้า ยังเสวยของเหลือเดน แล้วเราล่ะ??
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3299.msg11648#msg11648
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ