ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหลือบผ้าเหลือง รับจ้างยืนบิณฑบาต เวียนของแบ่งผลประโยชน์  (อ่าน 1065 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




เหลือบผ้าเหลือง รับจ้างยืนบิณฑบาต เวียนของแบ่งผลประโยชน์

หลังมีประชาชนร้องเรียน ความไม่เหมาะสมของพระที่ยืนรับบิณฑบาต โดยไม่ได้เดินโปรดญาติโยมตามกิจของสงฆ์ อาจมีพฤติกรรมนำของใส่บาตรมาเวียน โดยหลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ได้เข้าไปตรวจสอบ ตักเตือนพระที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สะท้อนถึงปัญหาวงการสงฆ์ ที่ต้องได้รับการจัดระเบียบใหม่

กรณีที่ชาวบ้านร้องเรียนให้ พระครูปลัดสิทธิวัฒน์ หลวงพี่น้ำฝน เจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ประธานคณะทำงาน ดำเนินการแก้ไขข้อขัดข้อง ระงับเหตุ แก้ไขปัญหาอธิกรณ์ข้อร้องเรียนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณตลาดเช้าในพื้นที่ เนื่องจาก พระภิกษุสงฆ์บางรูปมีพฤติกรรมไม่ยอมเดินบิณฑบาต แต่ใช้การยืนปักหลักบริเวณหน้าร้านจำหน่ายอาหาร มีลักษณะคล้ายเวียนอาหารที่ใช้ใส่บาตร สำหรับญาติโยมที่มาใส่บาตรในช่วงเช้า จึงได้ทำการตรวจสอบและตักเตือน




พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป้อมวิเชียรโชติการาม ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐออนไลน์ ว่า พฤติกรรมไม่เหมาะสมของพระภิกษุบางรูป มีพฤติกรรมไม่ยอมเดินบิณฑบาตโปรดญาติโยม แต่ใช้การยืนอยู่กับที่ บริเวณที่ชุมชน หน้าตลาด หรือบางราย มีการร่วมมือกับร้านอาหาร ในการนำอาหารที่ใส่บาตรมาเวียนขาย โดยเจ้าของร้านเป็นคนเชิญชวนคนที่เดินผ่านไปมา ให้มาใส่บาตร ส่วนพระอาจมีส่วนได้เสียกับร้านค้าเหล่านั้น

“ที่ผ่านมา มีการจับสึกพระ ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวมาแล้วหลายราย แต่สิ่งสำคัญจะต้องมีพระที่คอยสอดส่อง และจับตาไม่ให้มีพระประพฤติผิดร่วมกับร้านค้า โดยต้องใช้พระหนุ่มที่มีความรู้ และมีความคล่องตัวในการเดินทาง เพราะที่ผ่านมาต้องยอมรับว่า พระส่วนใหญ่ที่มีหน้าที่คอยสอดส่องดูแล เป็นพระที่มีอายุ ทำให้ขาดความคล่องตัวในการติดตามผู้กระทำผิด”




แนวทางปฏิบัติเพื่อไม่ให้เป็นที่ครหาของประชาชน พระสังฆาธิการ ในทุกอำเภอ นอกจากจะต้องสำรวจพระที่ประพฤติไม่ดีแล้ว ยังต้องประกาศข้อกำหนดว่า ในการบิณฑบาตแต่ละวัน พระควรเดินกลับวัดในเวลาเท่าใด เช่น พระทุกวัดในพื้นที่ ต้องเดินทางกลับวัดเพื่อทำภารกิจของสงฆ์ในเวลา 8.00 น. หากเลยเวลา หรือมีภารกิจ จะต้องให้ผู้มีจิตศรัทธาจัดพื้นที่ในการใส่บาตร ซึ่งไม่ควรให้พระยืนรับบาตรอยู่ในที่สาธารณะ

ปกติเวลาในการบิณฑบาต หากเป็นช่วงเข้าพรรษาจะเริ่มตั้งแต่ 05.45–08.00 น. แต่ถ้าเป็นวันพระ อาจมีญาติโยมใส่บาตรมาก เลยกำหนดเวลากลับวัดช้าสุดคือ 08.30 น. พระทุกรูปต้องมาถึงวัด ส่วนแนวทางการบิณฑบาต ห้ามยืนรอ ต้องเดินตามตรอก ที่มีญาติโยมใส่บาตร ถ้าเลยเวลากำหนด ญาติโยมจะเดินทางมาที่วัด โดยพระสามารถรับบาตรได้

“พระที่มีการกระทำผิด จะว่ากล่าวตักเตือน 3 ครั้ง หากไม่กระทำตามต้องลาสิกขา ถ้าเป็นพระที่มาจากวัดอื่น จะต้องทำการเชิญกลับไปยังวัดต้นสังกัด ถ้ามองตามหลักพระวินัย มีการกำหนดให้เดินไปตามตรอกซอกซอยตามแต่ผู้มีจิตศรัทธาจะใส่บาตร หากญาติโยมนิมนต์ให้ยืนรับบาตรนานๆ ต้องมีการจัดสถานที่ให้พระท่านนั่ง ซึ่งดูเรียบร้อยกว่า”




สำหรับการเอาผิดกับร้านค้า ที่มีส่วนร่วมในการกระทำผิดร่วมกับพระนอกรีต ยังไม่มีกฎหมายมาตราไหนที่สามารถเอาผิดได้ ส่วนใหญ่เมื่อจับได้ก็จะทำการตักเตือน และคอยสอดส่องไม่ให้มีพฤติกรรมดังกล่าวอีก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่า พระสังฆาธิการ ในเขตดังกล่าวมีความเข้มงวดเพียงใด ถ้าเจอพระยังบิณฑบาตเลยเวลา 09.00 น. สามารถดำเนินการจับได้ทันที

พฤติกรรมไม่เหมาะสมของร้านค้าในการร่วมมือกับพระนอกรีต นำของเวียนมาใส่ เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม และถือเป็นกรรมที่มองไม่เห็น เพราะของที่ประชาชนยกไหว้ท่วมหัว แล้วนำมาขายต่อ ทำให้ทำมาหากินไม่ขึ้น ซึ่งของที่ใส่บาตรหากพระฉันไม่หมดควรแบ่งปันให้กับคนยากจน เช่นเดียวกับพระ ไม่ควรเห็นแก่ปัจจัย ทำให้หลงมัวเมา และลืมหลักปฏิบัติอันดีงาม.





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2686978
23 เม.ย. 2566 18:42 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > THE ISSUE > ไทยรัฐออนไลน์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ