สังฆทานแค่ ๔ สังฆเภทต้อง ๙ ภิกษุเท่านั้นทำสังฆเภทได้ (ยังมีอีกครับ)
วินิจฉัยอนันตริยกรรม ๕
เพื่อจะอธิบายอนันตริยกรรมที่ปุถุชนทำ แต่พระอริยสาวกไม่ทำให้แจ่มแจ้ง
พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรม โดยทวาร โดยการตั้งอยู่ชั่วกัป โดยวิบาก และโดยสาธารณะ เป็นต้น........ วินิจฉัยโดยกรรม ใน ๕ อย่างนั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรมก่อน.
๑ และ ๒ ฆ่ามารดา และฆ่าบิดา ก็ในเรื่องกรรมนี้ เมื่อบุคคลเป็นมนุษย์ปลงชีวิตมารดาหรือบิดาผู้เป็นมนุษย์ซึ่งไม่เปลี่ยนเพศ กรรมเป็นอนันตริยกรรม. บุคคลนั้นคิดว่าเราจักห้ามผลของกรรมนั้น จึงสร้างสถูปทองประมาณเท่ามหาเจดีย์ ให้เต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี ถวายทานแก่พระสงฆ์ผู้นั่งเต็มจักรวาลทั้งสิ้นก็ดี เที่ยวไปไม่ปล่อยชายสังฆาฏิของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี เมื่อแตกกาย (ทำลายขันธ์) ย่อมเข้าถึงนรกเท่านั้น.
ส่วนผู้ใด ตนเองเป็นมนุษย์ ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือตนเองเป็นเดรัจฉาน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นมนุษย์ หรือเป็นเดียรัจฉานเหมือนกัน ปลงชีวิตมารดาบิดาผู้เป็นเดียรัจฉาน กรรมของผู้นั้นยังไม่เป็นอนันตริยกรรม แต่เป็นกรรมหนัก ตั้งอยู่ใกล้ชิดอนันตริยกรรม. แต่ปัญหานี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยสัตว์ผู้มีกำเนิดเป็นมนุษย์. พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ฆ่าบิดาตนเอง กับพระเทวทัต
ในปัญหานั้นควรกล่าวเอฬกจตุกกะ สังคามจตุกกะ และโจรจตุกกะ.
อธิบายว่า มนุษย์ฆ่ามารดาบิดาที่เป็นมนุษย์ ซึ่งอยู่ในที่ที่แพะอยู่ แม้ด้วยความมุ่งหมายว่า เราจะฆ่าแพะ ย่อมต้องอนันตริยกรรม.
แต่ฆ่าแพะด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นแพะ หรือด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา ย่อมไม่ต้องอนันตริยกรรม. ฆ่ามารดาบิดาด้วยความมุ่งหมายว่าเป็นมารดาบิดา ย่อมต้องอนันตริยกรรมแน่.
ใน ๒ จตุกกะแม้ที่เหลือก็มีนัยดังกล่าวนี้นั่นแหละ. ๓. ฆ่าพระอรหันต์ พึงทราบจตุกกะเหล่านี้แม้ในพระอรหันต์เหมือนในมารดาบิดา.
ฆ่าพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์เท่านั้น ต้องอนันตริยกรรม. ที่เป็นยักษ์ (เทวดา) ไม่ต้อง (อนันตริยกรรม). แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่น อนันตริยกรรมเหมือนกัน. ก็สำหรับพระอรหันต์ที่เป็นมนุษย์ เมื่อประหารด้วยศัสตราหรือแม้ใส่ยาพิษในเวลายังเป็นปุถุชน ถ้าท่านบรรลุพระอรหัตแล้วตายด้วยการกระทำอันนั้น เป็นอรหันตฆาตแน่ๆ.
ส่วนทานที่ถวายในเวลาท่านเป็นปุถุชน ซึ่งท่านฉันแล้วบรรลุพระอรหัต ทานนั้นเป็นอันให้แก่ปุถุชนนั่นแหละ. ไม่มีอนันตริยกรรม แก่คนผู้ฆ่าพระอริยบุคคลทั้งหลายที่นอกเหนือจากพระอรหันต์.
แต่กรรมเป็นกรรมหนัก เช่นเดียวกับอนันตริยกรรมนั่นแล. ๔. ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป พึงทราบวินิจฉัยในโลหิตุปปาทกรรม (กรรมคือการทำพระโลหิตให้ห้อ) ต่อไป
ชื่อว่าการทำให้หนังขาดด้วยความพยายามของคนอื่น แล้วทำให้เลือดออก ไม่มีแก่พระตถาคต เพราะพระองค์มีพระวรกายไม่แตก แต่พระโลหิตคั่งอยู่ในที่เดียวกันในภายในพระสรีระ.
แม้สะเก็ดหินที่แตกกระเด็นไปจากศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงไป กระทบปลายพระบาทของพระตถาคต พระบาทได้มีพระโลหิตห้ออยู่ข้างในทีเดียว ประหนึ่งถูกขวานทุบ. เมื่อพระเทวทัตทำเช่นนั้น จึงจัดเป็นอนันตริยกรรม. ส่วนหมอชีวกเอามีดตัดหนังพระบาทตามที่พระตถาคตทรงเห็นชอบ นำเลือดเสียออกจากที่นั้น ทำให้ทรงพระสำราญ เมื่อทำอย่างนั้น เป็นการกระทำที่เป็นบุญทีเดียว.
หินก้อนนี้แหล่ะที่ว่า ลอยอยุ่สามารถเอาเชือกลอดได้ เห็นว่าเป็นหินที่พระเทวทัต
กลิ้งลงมาใส่พระพุทธองค์(ความเชื่อของท้องถิ่น)เขาคิชฌกูฏ
ถามว่า ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้ว ชนเหล่าใดทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ กรรมอะไรจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น? ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม. แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุหรือพระปฏิมา ควรทำ. แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือนกัน. ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ที่ตั้งเจดีย์ จะตัดทิ้งก็ควร. ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์ จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มีไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
ก็ในเรือนอาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น จะตัดกิ่งโพธิ์เสียก็ได้.
เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสียออกไป ก็ควรเหมือนกัน แม้บุญก็ได้ เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
๕. สังฆเภท พึงทราบวินิจฉัยในการทำสังฆเภทต่อไป.
ความแตกกันและอนันตริยกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เมื่อสงฆ์ผู้อยู่ในสีมา ไม่ประชุมกัน พาบริษัทแยกไปทำการชักชวน การสวดประกาศและการให้จับสลาก ผู้ทำกรรม หรือสวดอุทเทส.
แต่เมื่อภิกษุทำกรรมด้วยคิดว่าควร เพราะสำคัญว่าเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นความแตกกันเท่านั้น ไม่เป็นอนันตริยกรรม. เพราะบริษัทหย่อนกว่า ๙ รูปก็เหมือนกัน (เป็นความแตกกัน แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม) โดยกำหนดอย่างต่ำที่สุด ในคน ๙ คน คนใดทำลายสงฆ์ได้ อนันตริยกรรมย่อมมีแก่คนนั้น. สำหรับพวกอธรรมวาทีผู้คล้อยตามย่อมมีโทษมาก ผู้เป็นธรรมวาทีไม่มีโทษ.
ในการทำลายหมู่ของภิกษุทั้ง ๙ รูปนั้น (สงฆ์ ๙ รูป) นั้น (ปรากฏ) พระสูตรเป็นหลักฐานดังนี้ว่า
ดูก่อนอุบาลี ฝ่ายหนึ่งมีภิกษุ ๔ รูป อีกฝ่ายหนึ่งมี ๔ รูป รูปที่ ๙ สวดประกาศให้จับสลากว่า นี้ธรรม นี้วินัย นี้สัตถุศาสน์ พวกท่านจงถือเอาสิ่งนี้ จงชอบใจสิ่งนี้.
ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีอย่างนี้แล. ดูก่อนอุบาลี ความร้าวรานแห่งสงฆ์ ความแตกแห่งสงฆ์ ย่อมมีแก่ภิกษุจำนวน ๙ รูปหรือเกินกว่า ๙ รูปได้ดังนี้. ก็บรรดาอนันตริยกรรมทั้ง ๕ ประการเหล่านั้น สังฆเภทเป็นวจีกรรม ที่เหลือเป็นกายกรรม พึงทราบวินิจฉัยโดยกรรมด้วยประการดังนี้แล.
วินิจฉัยโดยทวาร บทว่า ทฺวารโต ความว่า ก็กรรมเหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ ย่อมตั้งขึ้นทางกายทวารบ้าง วจีทวารบ้าง.
ก็ในเรื่องนี้ กรรม ๔ ประการเบื้องต้น ถึงจะตั้งขึ้นทางวจีทวารด้วยอาณัตติกประโยค (การสั่งบังคับ) ก็ให้เกิดผลทางกายทวารได้เหมือนกัน
สังฆเภทแม้จะตั้งขึ้นทางกายทวารของภิกษุผู้ทำการทำลายด้วยใช้หัวแม่มือ ให้เกิดผลทางวจีทวารได้เหมือนกัน ในเรื่องที่ว่าด้วยสังฆเภทนี้ พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยทวารด้วยประการดังนี้.
วินิจฉัยโดยตั้งอยู่ชั่วกัป บทว่า กปฺปฏฺฐิติยโต ความว่า ก็ในอธิการนี้ สังฆเภทเท่านั้นตั้งอยู่ชั่วกัป.
ด้วยว่าบุคคลทำสังฆเภทในคราวกัปเสื่อมหรือตอนกลางของกัป ในเมื่อกัปพินาศไป ย่อมพ้น (จากกรรมได้) ก็แม้ถ้าว่า พรุ่งนี้กัปเสื่อมพินาศ ทำสังฆเภทวันนี้ พอพรุ่งนี้ก็พ้น ตกนรกวันเดียวเท่านั้น. แต่เหตุการณ์อย่างนี้ไม่มี.
กรรม ๔ ประการที่เหลือเป็นอนันตริยกรรมอย่างเดียว ไม่เป็นกรรมที่ตั้งอยู่ชั่วกัป.
พึงทราบวินิจฉัยโดยการตั้งอยู่ชั่วกัปในเรื่องนี้ ด้วยประการฉะนี้. พระเจ้าสุปปพุทธะเป็นกษัตริย์โกลิยะวงศ์เป็นพระราชบิดาของพระเทวทัต เป็นอีกคนถูกธรณีสูบ ลงมหาอเวจีนรก
วินิจฉัยโดยวิปาก บทว่า ปากโต ความว่า ก็บุคคลใดทำอนันตริยกรรมเหล่านี้แม้ทั้ง ๕ ประการ
สังฆเภทอย่างเดียวย่อมให้ผลเนื่องด้วยการปฏิสนธิแก่บุคคลนั้น.
กรรมที่เหลือย่อมนับเข้าในข้อมีอาทิอย่างนี้ว่า “เป็นอโหสิกรรม แต่ไม่เป็นอโหสิวิบาก”
ในเมื่อไม่มีการทำสังฆเภท การทำพระโลหิตให้ห้อขึ้นย่อมให้ผล.
ในเมื่อไม่มีการทำพระโลหิตให้ห้อขึ้น อรหันตฆาตย่อมให้ผล.
และในเมื่อไม่มีอรหันตฆาต ถ้าบิดามีศีล มารดาไม่มีศีล ปิตุฆาตย่อมให้ผล
หรือบิดาไม่มีศีล แต่มารดามีศีล มาตุฆาตย่อมให้ผล เนื่องด้วยการให้ปฏิสนธิ.
ถ้ามาตาปิตุฆาตจะให้ผลไซร้ในเมื่อท่านทั้งสองเป็นคนมีศีลด้วยกัน
หรือเป็นคนไม่มีศีลด้วยกัน มาตุฆาตเท่านั้นย่อมให้ผลเนื่องด้วยปฏิสนธิ
เพราะมารดาทำสิ่งที่คนทำได้ยากกับทั้งมีอุปการะมากแก่พวกลูกๆ
พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยวิบากในเรื่องอนันตริยกรรมนี้ ด้วยประการอย่างนี้.
วินิจฉัยโดยสาธารณะเป็นต้น บทว่า สาธารณาทีหิ ความว่า อนันตริยกรรม ๔ ประการข้อต้นๆ เป็นกรรมทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด. แต่สังฆเภทเป็นกรรมเฉพาะภิกษุผู้มีประการดังตรัสไว้โดยพระบาลีว่า
ดูก่อนอุบาลี ภิกษุณีทำลายสงฆ์ไม่ได้ สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (เหล่านี้) ก็ทำลายสงฆ์ไม่ได้. ดูก่อนอุบาลี ภิกษุเหล่านั้นที่เป็นปกตัตตะมีสังวาสเสมอกันอยู่ในสีมาเดียวกัน จึงจะทำลายสงฆ์ได้.
ดังนี้ (สังฆเภท) ไม่เป็นกรรมสำหรับคนอื่น เพราะฉะนั้น จึงเป็นเรื่องไม่ทั่วไป (แก่คนพวกอื่น).
ด้วยอาทิศัพท์ (ในบทว่า สาธารณาทีหิ) บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ท่านประสงค์เอาว่า เป็นผู้มีทุกขเวทนา สหรคตด้วยทุกข์ และสัมปยุตด้วยโทสะและโมหะ. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดย (เป็นกรรมที่) สาธารณะเป็นต้นในที่นี้อย่างนี้แล.
นางจิญจมาณวิกาเมื่อชาติก่อนหน้านั้นนางเกิดเป็น นางอมิตตดา ภริยาของชูชกหรือพระเทวทัตในชาติเดียวกัน เป็นอีกคนที่ถูกธรณีสูบ
แก้บท อญฺญํ สตฺถารํ บทว่า อญฺญํ สตฺถารํ ความว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พึงยึดถืออย่างนี้ว่า พระศาสดาของเรานี้ไม่สามารถทำหน้าที่ของพระศาสดาได้ และแม้ในระหว่างภพจะพึงยึดถือเจ้าลัทธิอื่นอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้เป็นศาสดาของเราดังนี้ ข้อที่กล่าวมานั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=234
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๙. ปริกุปปสูตร [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้ เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก
เดือดร้อน แก้ไขไม่ได้ ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ
บุคคลผู้ฆ่ามารดา ๑
ผู้ฆ่าบิดา ๑
ผู้ฆ่าพระอรหันต์ ๑
ผู้มีจิตประทุษร้ายทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ ๑
ผู้ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๕ จำพวกนี้แล เป็นผู้ต้องไปอบาย ต้องไปนรก เดือดร้อน แก้ไข
ไม่ได้ ฯ
ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
อนันตริยกรรม ๕ (กรรมหนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศล ซึ่งให้ผลทันที)
๑. มาตุฆาต (ฆ่ามารดา)
๒. ปิตุฆาต (ฆ่าบิดา)
๓. อรหันตฆาต (ฆ่าพระอรหันต์)
๔. โลหิตุปบาท (ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงพระโลหิตห้อขึ้นไป)
๕. สังฆเภท (ยังสงฆ์ให้แตกกัน, ทำลายสงฆ์) องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๒๙/๑๖๕
ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ๑๐. มาตริสูตร [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้
๖ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ
ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่ามารดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าบิดา ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อฆ่าพระอรหันต์ ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อขึ้นด้วยจิตประทุษร้าย ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ๑
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อถือศาสดาอื่น ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายฐานะที่ไม่ควรเป็นได้ ๖ ประการนี้แล ฯ
ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
อภิฐาน ๖ (กรรมที่เด่นยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ, ฐานะอันยิ่งยวด, ฐานอันหนัก, ความผิดพลาดสถานหนัก)
อภิฐาน ๕ ข้อแรก ตรงกับ อนันตริยกรรม ๕ คือ มาตุฆาต ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท และ สังฆเภท เพิ่มข้อ ๖ คือ
๖. อัญญสัตถุทเทส (ถือศาสดาอื่น คือ ถือถูกอยู่แล้ว กลับไพล่ทิ้งไปถือ)
อภิฐานนี้ ในบาลีที่มาเดิม เรียกว่า อภัพพฐาน (ฐานะที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ คือ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ไม่อาจจะกระทำ คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำ)
องฺ.ฉกฺก.๒๒/๓๖๕/๔๙๐/; ขุ.ขุ.๒๕/๗/๗; ขุ.สุ.๒๕/๓๑๔/๓๖๙
ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
นันทยักษ์ ถูกธรณีสูบเพราะไปตีศีรษะพระสารีบุตร
เรามาลองเปรียบเทียบ อนันตริยกรรมกับอภิฐานกันดู หากพิจารณาตามพยัญชนะและอรรถตามทีปรากฏขณะนี้ จะเห็นว่า
อนันตริกรรม เป็นข้อธรรมที่ถูกบัญญัติว่า คนทีทำกรรมประเภทนี้มีคติเดียว คือ ต้องลงนรกสถานเดียว ซึ่งคนที่จะทำกรรมประเภทนี้ได้ เป็นได้ทั้งปุถุชน และภิกษุปุถุชน
ส่วนอภิฐาน เป็นข้อธรรมที่ถูกบัญญัติขึ้นมาเพื่อ ที่จะปฏิเสธว่า อริยบุคคล ทั้งที่มีเพศฆราวาสและบรรพชิต มีโสดาบันเป็นอย่างต่ำ ทำกรรมประเภทนี้ไม่ได้ หรือ เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำ
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนันตริกรรม ก็คือ
๑.การฆ่าบิดามารดา เป็นเรื่องของมนุษย์เท่านั้น ทั้งผู้ฆ่าและผู้ถูกฆ่า
๒.การฆ่าพระอรหันต์ก็เหมือนกัน เป็นเรื่องระหว่างมนุษย์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเทวดาหรือยักษ์
๓.การทำลายพระบรมสารีริกธาตุ และต้นโพธิ์ เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริกรรม
๔.การทำสงฆ์แตกแยกต้องมี ๙ รูปขึ้นไป และผู้ทำต้องเป็นภิกษุเท่านั้น จึงเป็นสังฆเภท
