ตอบในฐานะที่เคย บวชเรียนมานะครับ
เป็นการดีครับ เพราะพระสามเณร ที่บวชเรียน นับว่าเป็นศาสนาทายาทครับ จำเป็นใส่ซองให้บ้างครับ ค่ารถ ค่าหนังสือ สนับสนุน ศาสนทายาท
ส่วนเรื่องการได้รับปัจจัย เป็นหน้าที่ของท่าน และอุปัชฌาย์ ครูอาจารย์ของท่านเป็นผู้สอดส่องครับ
อีกเรื่องการที่พระสงฆ์ ไม่รับปัจจัย ผมกล้าพูดครับว่า ในประเทศไทยเท่าที่ผมเจอ ไม่ว่าจะเป็น มหานิกาย หรือ ธรรมยุติ นั้นไม่รับปัจจัยไม่มีครับ แต่จะต่างกันตรงที่ว่า รับด้วยตนเอง กับให้ผู้อื่นรับให้ ก็เท่านี้ละครับ
คือ รับโดยตรง รับโดยอ้อม
เพราะอะไร วัดที่สร้าง ก็ต้องใช้ปัจจัย ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าก่อสร้าง ค่าน้ำมัน ค่าเดินทาง ค่ารักษาพยาบาล ทั้งหลายเหล่านี้ ก็ต้องใช้ปัจจัย ( เงิน ) เป็นค่าชำระทั้งนั้นละครับ
พระอาจารย์หลายรูป ที่บอกไม่ได้รับเงิน แต่สร้างวัดได้ใหญ่โต อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อหรอกครับ เพียงแต่ท่านจะรับด้วยตนเอง หรือ แต่งตั้งคณะศิษย์ เป็นกลุึ่ม หรือ คนใด คนหนึ่ง ขึ้นมารับแต่จุดประสงค์ของผู้ให้ ก็คือถวายท่านนั่นแหละ ที่ต้องการให้ท่านนำไปใช้ ไม่ว่าจะก่อสร้างวัด หรือ เผยแผ่ธรรม
ความเป็นจริง พระสามเณร ไม่ได้มีไวยาวัจจกร กันทุกรูป ทุกองค์ และญาตโยมก็ไม่สะดวกใจที่จะไปคอยตามเก็บรักษาให้ท่าน
เราใส่บาตร พระสามเณร จะฉัน หรือ ไม่ฉัน ก็จบแล้วตรงที่ใส่ บุญได้แล้วตรงที่ใส่
ฉันใด ก็ ฉันนั้น เมื่อเราถวายปัจจัย ท่านไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของท่าน ที่ท่านจะบริหารของท่าน
เราใ่ส่ทำบุญ กับท่านเพราะเราเคารพท่าน แต่ถ้าเราไม่เคารพท่าน ก็ไม่ต้องใส่ ก็เท่านี้ ครับ...
การบริหาร จัดการส่วนที่รับนั้นถือว่าเป็นหน้าที่ของ ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ พระสามเณร เหล่านี้ครับ
