ความสำคัญของปิติ
ปิติ เป็นอาหาร ของพรหม
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์ประกอบของสัมมาสมาธิ
ปิติ เป็นตัวบ่งชี้ว่า บรรลุธรรม
ปิติ เป็น สติปัฏฐาน
ปิติ เป็นอาหาร ของพรหม
สมัยที่โลกพินาศ สัตว์โลกที่มีฌานก็ได้ไปเกิดในชั้นพรหม มีรัศมี ไม่มีเพศ
มีปิติเป็นอาหาร
เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ ต่อมาเกิดพื้นดินขึ้น มีกลิ่นมีสี รสดี อาภัสสรพรหมตนหนึ่งลองชิมดินนั้นจึงติดใจ สัตว์โลกอื่น ๆ ก็ชิมตามทำให้ติดใจ เกิด “ตัณหา” หมดรัศมี ต้องกลายเป็น “มนุษย์” อยู่บนพื้นโลก เกิดผิวพรรณหยาบละเอียดต่างกัน
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
โพชฌงค์ ๗ คือ
๑.สติสัมโพชฌงค์
๒.ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์
๓.วิริยะสัมโพชฌงค์
๔.ปิติสัมโพชฌงค
๕.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
๖.สมาธิสัมโพชฌงค์
๗.อุเบกขาสัมโพชฌงค์
สติสัมโพชฌงค์
สติในธรรมภายใน มีอยู่ สติในธรรมภายนอกมีอยู่ สติในธรรมแม้ใด สติในธรรมแม้นั้น ก็ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน สติในธรรมภายนอกแม้ใด สติในธรรมภายนอกแม้นั้น ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ความเลือกสรรในธรรมภายใน มีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายนอกมีอยู่ ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้ใด ความเลือกสรรในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชื่อว่าธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้ใดความเลือกสรรในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
วิริยะสัมโพชฌงค์
ความเพียรทางกายมีอยู่ ความเพียรทางใจมีอยู่ ความเพียรทางกายแม้ใด ความเพียรทางกายแม้ชื่อว่า วิริยะสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ความเพียรทางใจแม้ใด ความเพียรทางใจแม้นั้น ก็ชื่อว่า วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปิติสัมโพชฌงค์
ปิติที่มีวิตก วิจารมีอยู่ ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารมีอยู่ ปิติที่มีวิตกวิจารแม้ใด ปิติที่มีวิตกมีวิจารแม้นั้น ชื่อว่า ปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ปิติที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้ใด ปิติไม่มีวิตก ปิติที่ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่าปิติสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
กายปัสสธิ มีอยู่ จิตปัสสัทธิมีอยู่ กายปัสสัทธิแม้ใด กายปัสสัทธิแม้นั้น ก็ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน จิตปัสสัทธิแม้ใด จิตปัสสธิแม้นั้น ก็ชื่อว่า ปัสสธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
สมาธิสัมโพชฌงค์
สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร มีอยู่ สมาธิไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีอยู่ สมาธิที่มีวิตก มีวิจาร แม้ใด สมาธิที่มีวิตก มีวิจารแม้นั้นชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตก ไม่มีวิจารแม้นั้น ก็ชื่อว่า สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
อุเบกขาสัมโพชฌค์
อุเบกขาในธรรมภายในมีอยู่ อุเบกขาในธรรมภายนอกมีอยู่ อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้ใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายในแม้นั้น ก็ชือว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน อุเบกขาในธรรมภายนอกมแใด อุเบกขาแม้ในธรรมภายนอกแม้นั้น ก็ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ปิติ เป็น ธรรมที่เป็นองค์ประกอบของสัมมาสมาธิ
สมาธิ มี มากมายหลายแบบ
แต่ละแบบล้วนมีประโยชน์ (ยกเว้นมิจฉาสมาธิคือมีนิวรณ์5)
เช่น เพื่อความสุข เช่นสมาธิประเภทรูปฌาน
เพื่อความสงบ เช่น สมาธิประเภทอรูปฌาน
เพื่อญานทัศนะ ปาฎิหารย์ เช่น กสินต่างๆ
แต่จะมีแบบเดียว ที่ทำให้เกิดวิชชา คือสัมมาสมาธิ ที่ต้องมี องค์ธรรมคือ ปิติ (ปิติสัมโพชฌงค์)
โดยพิจารณา ขันธ์5 ดูว่าเกิดได้อย่างไร ดับได้อย่างไร
ปิติ เป็นตัวบ่งชี้ว่า บรรลุธรรม
พุทธพจน์ ก่อนปรินิพพาน
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลเป็นพื้นฐานเป็นที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ ประหนึ่งแผ่นดินเป็นที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลายทั้งที่มีชีพและหาชีพมิได้ เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์ มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจ ย่อมอยู่สบาย มีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาด เช็ดถูเรียบร้อยปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิคือความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้น เป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบเหมือนเรือนที่มีฝาผนัง มีประตูหน้าต่างปิดเปิดได้เรียบร้อย มีหลังคาสำหรับป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียก แดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลมแดดและฝน กล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่า สมาธิอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะต่างๆ ให้เบาบางและหมดสิ้นไป เหมือนบุคคลผู้มีกำลังจับศาสตราอันคมกริบแล้วถางป่าให้โล่งเตียนก็ปานกัน"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ปัญญาซึ่งมีสมาธิเป็นรากฐานนั้น ย่อมปรากฏดุจไฟดวงใหญ่กำจัดความมืดให้ปลาสนาการ มีแสงสว่างรุ่งเรืองอำไพ ขับฝุ่นละอองคือกิเลสให้ปลิวหาย ปัญญาจึงเป็นประดุจประทีปแห่งดวงใจ"
"อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติ ที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไป เพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีล สมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะย่อมพบกับปิติปราโมทย์อันใหญ่หลวง รู้สึกตนว่าได้พบขุมทรัพย์มหึมา หาอะไรเปรียบมิได้ อิ่มอาบซาบซ่านด้วยธรรม ตนของตนเองนั่นแลเป็นผู้รู้ว่า บัดนี้กิเลสานุสัยต่างๆ ได้สิ้นไปแล้ว ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว เหมือนบุคคลผู้ตัดแขนขาด ย่อมรู้ด้วยตนเองว่าบัดนี้แขนของตนได้ขาดแล้ว"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปด ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจ ประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลายวิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐสุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร"
ปิติ เป็น สติปัฏฐาน
สติปัฎฐานสุตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต........
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต...........
....
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ ปีติสัมโพชฌงค์ มีอยู่ ณ ภายในจิต......มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า ปิติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อปิติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง ปิติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ปิติสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้
.....
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต.........
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต......
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
อนึ่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่
อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่า ความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือ โพชฌงค์ ๗ ฯ
จากคุณ : aunemaek2
