ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี  (อ่าน 6787 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:22:06 am »
ใน อดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว ทรงครองราชย์โดยธรรม แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรงครองราชย์ในวิเทหรัฐ พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงเป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง คนสมัยนั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปี ดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน พระเจ้าคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้ ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์ ขณะนั้นพระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเต้นไปในท้องฟ้า แสงจันทร์อันตรธานหายไป อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็นแสงพระจันทร์ จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้
พระ ราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร์ ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้ เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา แม้ข้าราชบริพารนี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่าราศีเหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็นเสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา
แล้ว ทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้องประสงค์ให้เป็นพระราชา เถิด พระราชาแห่งคันธารรัฐนั้นทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิม พานต์
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า พระราชาอันเป็นพระสหายของเราสบายดีหรือ ? ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วทรงดำริว่า เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไรกับราชสมบัติ แล้วจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกว้างยาว ๗ โยชน์ คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน ในวิเทหรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์และหญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว เสวยผลไม้ตามที่มี ประทับอยู่ไม่เป็นประจำเที่ยวสัญจรไป
ทั้ง ๒ ท่านนั้น ประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอ ภายหลังได้มาพบกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน ครั้งนั้นวิเทหดาบส ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้นนั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง พระราหูบดบังดวงจันทร์ ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า ท่านวิเทหดาบสคิดว่า แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดูเห็นพระจันทร์ถูกราหูยึด ไว้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั่น ได้บดบังพระจันทร์ ทำให้หมดรัศมี
ท่าน คันธารดาบสตอบว่า ดูก่อนอันเตวาสิก นี้ชื่อว่าราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่องแสงสว่าง แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว คิดว่าดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์นี้ก็กลายเป็นหมดแสงไป เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา ราชสมบัตินี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองแม้สำหรับเรา เราจักบวชอยู่จนกระทั่งราชสมบัติจะไม่ทำให้เราอับแสงเหมือนราหูบังดวงจันทร์ แล้วทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบังนั่นเองให้เป็นอารมณ์ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่หลวงบวชแล้ว
วิเทหดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระหรือ ?
คันธารดาบส ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ
วิเทหดาบส ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมเองก็ชื่อว่าพระเจ้าวิเทหะ ในมิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกันมิใช่หรือ ?
คันธารดาบส ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์ จึงออกบวช ?
วิ เทหดาบส กระผมได้ทราบว่าท่านบวชแล้ว คิดว่า ท่านคงได้เห็นคุณมหันต์ของการบวชแน่นอน จึงทำท่านนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ แล้วสละราชสมบัติออกบวช
ตั้งแต่ นั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือเกิน เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร ท่องเที่ยวไป ก็แหละทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้นมาเป็นเวลานาน จึงพากันลงมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง คนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ถวายภิกษารับปฏิญญาแล้ว พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้นให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทางก็พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ๆ มีน้ำสะดวกเพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ
ท่าน พากันเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลาหลังนั้นแล้ว จึงไปที่อยู่ของตน คนแม้เหล่านั้นเมื่อถวายอาหารท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย
วัน หนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือจำนวนมากในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น วิเทหดาบสถือเอาเกลือไป ในเวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ก็ถวายเกลือจนพอ ฝ่ายตนเองก็หยิบเอาประมาณพอควร ที่เกินต้องการก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า ด้วยคิดว่า จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ
อยู่ มาวันหนึ่งเมื่อได้อาหารจืด ท่านวิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแก่ท่านคันธาระแล้ว นำเกลือออกมาจากต้นหญ้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ นิมนต์ท่านรับเกลือ คันธารดาบสถามว่า วันนี้คนทั้งหลายไม่ได้ถวายเกลือ ท่านได้มาจากไหน ?


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2011, 06:30:21 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:22:42 am »
เทหดาบส ข้าแต่ท่านอาจารย์ ในวันก่อนคนทั้งหลายได้ถวายเกลือมาก กระผมจึงเก็บเกลือที่เกินความต้องการไว้ด้วยตั้งใจว่า จักใช้ในวันที่อาหารมีรสจืด
พระ โพธิสัตว์จึงต่อว่าวิเทหดาบสว่า โมฆบุรุษเอ๋ย ท่านละทิ้งวิเทหรัฐประมาณ ๓ ร้อยโยชน์มาแล้ว ถึงความไม่มีกังวลอะไร บัดนี้ ยังเกิดความทะยานอยากในก้อนเกลืออีกหรือ เมื่อจะตักเตือนท่าน จึงได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:
[๑๐๔๓] ท่านสละหมู่บ้านอันบริบูรณ์ถึงหมื่นหกพันตำบล และคลังที่เต็มไปด้วย
ทรัพย์มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาทำการสะสมเพียงก้อนเกลืออีกเล่า?
วิ เทหดาบสถูกตำหนิอยู่อย่างนี้ ทนคำตำหนิไม่ได้ ก็กลายเป็นปฏิปักษ์ไป เมื่อจะแย้งว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านไม่เห็นโทษของตัวเอง เห็นแต่โทษของผมอย่างเดียว ท่านดำริว่า เราจะประโยชน์อะไร ด้วยคนอื่นที่ตักเตือนเรา เราจักเตือนตัวเราเอง ทอดทิ้งราชสมบัติออกบวชแล้ว แต่วันนี้เหตุไฉนท่านจึงตักเตือนผม จึงได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:
[๑๐๔๔] ท่านสู้สละคันธารวิสัย อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์มากมาย เลิกการสั่งสม ๑
มาแล้ว บัดนี้ ทำไมยังมาสอนข้าพเจ้าให้สั่งสมในที่นี้อีกเล่า?
๑ ท่านทิ้งคันธารรัฐ หนีจากการปกครอง ในราชธานีอันนั้น บัดนี้ ยังจะปกครองในที่นี้อีก
พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:
[๑๐๔๕] ดูกรท่านวิเทหดาบส ข้าพเจ้าย่อมกล่าวแต่คำที่เป็นธรรม ข้าพเจ้าไม่พอ
ใจกล่าวคำที่ไม่เป็นธรรม เมื่อข้าพเจ้ากล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อม
ไม่เข้ามาติดอยู่เลย
วิ เทหดาบสฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ ท่านอาจารย์ บุคคลแม้เมื่อกล่าวถ้อยคำที่อิงประโยชน์ ก็ไม่ควรกล่าวกระทบเสียดแทงผู้อื่น ท่านกล่าวคำหยาบคายมาก เหมือนโกนผมด้วยมีดโกนไม่คม แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:
[๑๐๔๖] บุคคลอื่นได้รับความโกรธเคือง เพราะถ้อยคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงหาก
ถ้อยคำนั้นจะมีประโยชน์มาก บัณฑิตก็ไม่ควรกล่าว
๒ เนื้อความว่า บุคคลไม่ควรกล่าววาจาที่ประทุษร้ายบุคคลอื่น แม้วาจานั้นจะมีประโยชน์มากมาย
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้น ว่า:
[๑๐๔๗] บุคคลทำกรรมที่ไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนอยู่ จะโกรธเคืองก็ตาม ไม่
โกรธเคืองก็ตาม หรือจะทิ้งเสียเหมือนโปรยข้าวลีบก็ตาม เมื่อข้าพเจ้า
กล่าวคำที่เป็นธรรมอยู่ บาปย่อมไม่เข้าติดอยู่เลย ๓
๓ มี คำอธิบายว่า บุคคลผู้ทำกรรมไม่สมควร เมื่อถูกตักเตือนว่า ท่านทำกรรมไม่สมควรแล้ว จะโกรธก็ตาม หรือไม่โกรธก็ตาม อีกอย่างหนึ่งเขาจะเขี่ยทิ้งเหมือนกำแกลบหว่านทิ้งก็ตาม แต่ว่าเมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาปย่อมไม่มี
ก็ แหละพระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ดำรงอยู่ในข้อปฏิบัติที่สมควรแก่โอวาทของพระสุคตนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคต จักไม่ทะนุถนอมเลย เหมือนช่างหม้อทะนุถนอมภาชนะดินเหนียวที่ยังดิบๆ ฉะนั้น เราตถาคตจักบำราบเอา บำราบเอา ผู้ใดหนักแน่นเป็นสาระ ผู้นั้นก็จักดำรงอยู่ได้ เมื่อจะตักเตือนวิเทหดาบสอีก เพื่อแสดง ให้เห็นว่า ท่านตักเตือนบำราบแล้ว ตักเตือนบำราบอีก จึงรับบุคคลทั้งหลายผู้เช่นกับภาชนะดินที่เผาสุกแล้วไว้ เหมือนช่างหม้อเคาะดูแล้ว เคาะดูอีก ไม่รับเอาภาชนะดินที่ยังดิบไว้ รับเอาเฉพาะภาชนะดินที่เผาสุกแล้วเท่านั้นไว้ฉะนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาไว้ว่า:
[๑๐๔๘] ถ้าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงมีปัญญาของตนเอง หรือไม่พึงได้ศึกษาวินัยดีแล้ว
ชนเป็นอันมากก็จะเที่ยวไป เหมือนกระบือตาบอดเที่ยวไปในป่า ฉะนั้น
[๑๐๔๙] ก็แลบุคคลบางพวกในโลกนี้ ได้ศึกษาวินัยมาเป็นอย่างดีในสำนักอาจารย์
เพราะฉะนั้น เขาทั้งหลาย จึงมีวินัยอันอาจารย์แนะนำแล้ว เป็น
นักปราชญ์ มีจิตตั้งมั่นดี เที่ยวไป
คาถา นี้มีเนื้อความว่า ดูก่อนสหายวิเทหะ เพราะว่าถ้าหากสัตว์เหล่านี้ ไม่มีปัญญาหรือไม่มีวินัยคืออาจารบัญญัติที่ศึกษาดีแล้วเพราะ อาศัยเหล่าบัณฑิตผู้ให้โอวาทไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเป็นอันมากก็จะเป็นเช่นท่าน เที่ยวไปเหมือนกระบือตาบอด ไม่รู้ที่ๆ เป็นที่โคจรหรือ อโคจร มีสิ่งที่น่ารังเกียจหรือไม่มีสิ่งที่น่ารังเกียจ เที่ยวไปในพงหญ้า และเถาวัลย์เป็นต้น
แต่ เพราะเหตุที่สัตว์บางพวกในโลกนี้ ที่ปราศจากปัญญาของตน ศึกษาดีแล้วด้วยอาจารบัญญัติในสำนักอาจารย์ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นชื่อว่ามีวินัยที่แนะนำแล้ว เพราะตนเป็นผู้ที่อาจารย์แนะนำแล้ว ด้วยวินัยที่เหมาะสม คือเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ได้แก่เป็นผู้มีจิตเป็นสมาธิเที่ยวไปดังนี้
ด้วย คาถานี้ท่านคันธารดาบส แสดงคำนี้ไว้ว่า จริงอยู่ คนนี้เป็นคฤหัสถ์ ก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่ ตระกูลของตน เป็นบรรพชิตก็ศึกษาสิกขาที่สมควรแก่บรรพชิต อธิบายว่า ฝ่ายคฤหัสถ์เป็นผู้ศึกษาดีในกสิกรรมและโครักขกรรมเป็นต้น ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตนแล้วเที่ยว ก็จะเป็นผู้มีความเป็นอยู่สมบูรณ์ มีใจมั่นคงเที่ยวไป ส่วนบรรพชิต เป็นผู้ศึกษาดีในอาจาระมีการก้าวไป ข้างหน้าและการถอยกลับเป็นต้น และในอธิสีลสิกขา อธิจิตสิกขาและ อธิปัญญาสิกขาทั้งหลายที่เหมาะสมแก่บรรพชิต ที่น่าเลื่อมใสแล้วก็เป็น ผู้ปราศจากความฟุ้งซ่านมีจิตตั้งมั่นเที่ยวไป เพราะว่าในโลกนี้:
ความเป็นพหูสูต ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑
วาจาที่เป็นสุภาษิต ๑ สามอย่างนี้เป็นมงคลอัน
สูงสุดดังนี้
วิ เทหดาบสได้ฟังคำนั้นแล้ว ไหว้ขอขมาพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอท่านจงตักเตือนจงพร่ำสอนเราเถิด เรากล่าวกะท่านเพราะความเป็นผู้ไม่มีความยับยั้งใจโดยกำเนิด ขอท่านจงให้อภัยแก่เราเถิด ท่านทั้ง ๒ นั้นอยู่สมัครสมานกันแล้วได้พากันไปป่าหิมพานต์อีกนั่นแหละ ณ ที่นั้นพระโพธิสัตว์ได้บอกกสิณบริกรรมแก่วิเทหดาบส ท่านสดับแล้วยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้น ทั้ง ๒ ท่านนั้นเป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมแล้ว ได้เป็นผู้มีพรหมโลก เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
พระ ศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกไว้ว่า วิเทหราชาในครั้งนั้น ได้แก่พระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน คันธารราชา ได้แก่เราตถาคต ฉะนี้แล
จบ คันธารชาดก


ขอบคุณเนื้อหา

http://fws.cc/leavesofeden/index.php?action=printpage;topic=148.0
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:26:01 am »
นิธีนํว ปวตฺตารํ ยํ ปสฺเส วชฺชทสฺสินํ
นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิสํ ปณฺฑิตํ ภเช
 ตาทิสํ ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว นิคคหะ
ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้, พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น
ซึ่งเป็นบัณฑิต, ( เพราะว่า) เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น
มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี โทษที่ลามก."

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํ ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ บทว่า ปวตฺตารํ คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า " ท่านจงมา, เราจักชี้อุบาย เลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียด มือออกบอกว่า " ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด." วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสินํ ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่ สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑, ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษ นั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่ง ที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 12:06:52 am »
 :welcome:        แนะนำให้อ่านครับ!

 :72:  เพื่อนๆ สมาชิกมีความคิดเห็นอย่างไรครับ!   :08:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2014, 11:35:23 am »
เรื่องของฤาษี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 02:03:43 pm »

     คันธาระชาดก :035:
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา