ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "นารีพิฆาต" สมัยพุทธกาล  (อ่าน 4272 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"นารีพิฆาต" สมัยพุทธกาล
« เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 11:58:29 am »
0


กรรมของพระพุทธเจ้าสมณโคดม


 " เราเคยเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ในชาติก่อน ๆ ได้กล่าวใส่ความพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่า สุรภิ ผู้มิได้ประทุษร้าย ด้วยผลแห่งกรรมนั้น เราจึงท่องเที่ยวไปในนรกสิ้นกาลนาน เสวยทุกขเวทนาสิ้นพันปีเป็นอันมากด้วย

กรรมที่เหลือนั้น ในภพสุดท้ายนี้ ก็ถูกใส่ความ เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา

( คือนางสุนทริกาเป็นนักบวชหญิงถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำเป็นบอกใครต่อใครว่าจะไปค้างคืนกับพระสมณโคดม แล้วไปค้างเสียที่อื่น รุ่งเช้าก็ทำเป็นเดินทางมาจากเชตวนารามที่ประทับ พออีก ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างนักเลงไปฆ่านางสุนทริกาเป็นเชิงให้เห็นว่านางถูกฆ่า เพื่อจะปิดปาก คนก็สงสัยว่าอาจจะจริง แต่พระราชาส่งราชบุรุษสืบดูตามร้านสุรา ก็จับพวกนักเลงได้ และลงโทษผู้จ้างด้วยในที่สุด ).

      " เพราะกล่าวใส่ความพระสาวกของพระสัพพาภิภูพุทธเจ้า มีนามว่านันทะ เราจึงท่องเที่ยวไปในนรก ตลอดกาลนานหลายหมื่นปี เมื่อได้เกิดเป็นมนุษย์ถูกใส่ความมาก.

ด้วยกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมาณวิกา จึงได้ใส่ความเราด้วยคำไม่จริงต่อหน้าหมู่ชน

( นางจิญจมาณวิกาซึ่งเป็นนักบวชสตรี ถูกพวกเดียรถีย์ใช้ให้ทำอุบายเป็นว่ามีครรภ์กับพระพุทธเจ้า โดยเอาไม้ผูกไว้ที่ท้อง แกล้งด่าประจานพระผู้มีพระภาคในที่ประชุมชน แต่เผอิญไม้ที่ผูกไว้หลุดตกลงมา จึงถูกประชาทัณฑ์ และถึงแก่ความตายในที่สุด ซึค่งอรรถกถาธรรมบทใช้คำว่า ถูกธรณีสูบตาย ภายหลังที่ถูกประชาชนลงโทษแล้ว ).

      " เราได้เคยเป็นพราหมณ์ผู้มีความรู้ ( ผู้ได้สดับ ) มีผู้เคารพสักการะ สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ ได้ใส่ความภิมฤษีผู้มีอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก ผู้มาในที่นั้น โดยกล่าวกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม มาณพทั้งหลายก็พลอยชื่นชมไปกับเรา เมื่อไปภิกขาจารในสกุลก็เที่ยวกล่าวแก่มหาชนว่า ฤษีนี้เป็นผู้บริโภคกาม.

ด้วยผลของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านี้ ทั้งหมด ก็พลอยถูกใส่ความไปด้วยเพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา


( เมื่อมีข่าวว่านางสุนทริกาถูกฆ่าตาย ชาวเมืองก็เข้าใจว่า พระภิกษุทั้งหลายมีส่วนในการฆ่าปิดปาก จึงพากันด่าว่าเมื่อแลเห็นภิกษุทั้งหลาย. เมื่อพระราชาทรงสืบทราบและให้ลงโทษผู้ฆ่าแล้ว เรื่องจึงได้สงบ ).

ที่มา  http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k24.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2011, 12:07:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "นารีพิฆาต" สมัยพุทธกาล
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 11, 2011, 12:19:08 pm »
0

จิญจมานวิกา


พุทธศาสนิกชนที่ได้เคยทำบุญย่อมเคยสดัปพุทธชัยมงคลคาถา หือ “พาหุง” ที่กล่าวถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การอ้างถึงพระพุทธานุภาพ เพื่อนำชัยมงคลมาให้แก่ผู้ฟังและผู้สวด โดยพระพุทธชัยมงคลคาถามีทั้งหมด ๘ บท และมีความหมายแตกต่างกันทั้งแปดบท กล่าวคือ
                 
บทที่ ๑ สำหรับเอาชนะศัตรูหมู่มาก เช่นในการสู้รบ                       
บทที่ ๒ สำหรับเอาชนะใจคนที่กระด้างกระเดื่องเป็นปฏิปักษ์                       
บทที่ ๓ สำหรับเอาชนะสัตว์ร้าย หรือคู่ต่อสู้                     
บทที่ ๔ สำหรับเอาชนะโจร                     
บทที่ ๕ สำหรับเอาชนะการแกล้งใส่ร้ายกล่าวโทษหรือคดีควา                       
บทที่ ๖ สำหรับเอาชนะการโต้ตอบ                     
บทที่ ๗ สำหรับเอาชนะเล่ห์เหลี่ยมกโลบาย                     
บทที่ ๘ สำหรับเอาชนะทิฐิมานะของคน

           
กล่าวโดยเฉพาะสำหรับพระคาถาบทที่ ๕ ที่อ้างพระพุทธานุภาพในการชนะผู้ใส่ร้าย กล่าวโทษนั้น กล่าวว่า
                     
“กัตวานะ กัฏฐมุทรํ อิวะ คัพภินียา
                   
 จิญจายะ ทุฏฐวจนํ ชนกายะมัชเฌ
                   
 สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตวา มุนินโท
               
 ตันเตชะสา ภวตุ เม ชยมังคลานิ”


                       
คำแปล-นางจิญจมานวิกา ใช้ไม้มีสัณฐานกลมใส่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์ เพื่อกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า องค์พระจอมมุนีก็เอาชนะได้ ด้วยวิธีสงบ ระงับพระทัยท่ามกลางหมู่คน ด้วยเดชะอันนี้ ขอชัยมงคลจงมีแก่เรา

สำหรับความเป็นมาของพระพุทธชัยมงคลคาถาบทนี้ มีประวัติว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมชวนกันประชุมสโมสรกระทำสักการบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเนืองแน่นอยู่เป็นนิจ อันเป็นเหตุให้พวกเดียรถีร์ทั้งหลายเกิดโทมนัสด้วยความอิจฉาในพระพุทธเจ้ายิ่งนัก ทั้งนี้เพราะลาภสักการะทั้งปวงที่เคยบังเกิดแก่พวกตนนั้นก็มิได้มีต่อไป กลับไปเกิดแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกเดียรถีร์จึงคิดหาอุบายเพื่อจะทำให้พระพุทธเจ้าเสื่อมเสียจากลาภสักการะ จึงนำความไปปรึกษานางจิญจมานวิกาผู้มีรูปอันอุดมล้ำเลิศกว่านารีทั้งหลายเป็นที่ยั่วยวนใจแก่บุรุษเพศยิ่งนัก ทั้งนี้ด้วยประสงค์จะให้นางได้กล่าวโทษแก่พระสมณะโคดมด้วยกลอุบายอันแยบคาย

นางจิญจมานวิกาเมื่อรับคำแห่งพวกเดียรถีย์แล้ว ก็ทำอุบายโดยแกล้งเดินไปสู่วิหารแห่งพระพุทธองค์ในตอนใกล้ค่ำ แล้วแอบซ่อนอยู่จนถึงเวลาค่ำปลอดตาคน นางก็กลับเข้าสู่สำนักพวกเดียรถีย์ ครั้นเวลาใกล้รุ่งก็กลับไปสู่วิหารแห่งพระพุทธองค์อีกครั้ง แล้วก็แกล้งสยายผมเดินออกจากวิหารทำประหนึ่งว่าได้เข้าไปอาศัยในอาศรมและหลับนอนที่นั่นตลอดคืน

เมื่อผู้ใดพบเห็นนางและถามกิจอันนางได้กระทำ นางก็จะตอบว่าได้เข้าไปอยู่ในวิหารแห่งพระพุทธเจ้ามาตลอดคืน เพราะนางกับพระพุทธเจ้านั้นได้สมัครสังวาสอยู่กินกันฉันสามีภริยาเป็นเวลาหลายวันแล้ว

มหาชนทั้งปวงที่ได้ยินดังนั้นเป็นปุถุชนก็บังเกิดความสงสัยในพระพุทธองค์ ไม่แน่แก่ใจ ลังเลอยู่ก็มี ที่กล่าวว่านางจิญจมานวิกาแกล้งมายาใส่ใคล้พระองค์ก็มี

ฝ่ายนางจิญจมานวิกานั้นเมื่อกระทำอยู่เช่นนั้นได้ประมาณสามสีเดือนก็กระทำกลมายาให้เห็นสมจริง โดยเอาผ้าพันอุทรแสดงลักษณะดังหญิงมีครรภ์ แล้วจึงแกล้งกล่าวประจานแก่คนทั้งปวงว่า ที่นางเกิดมีครรภ์ขึ้นมาก็เพราะได้สมัครรักใคร่กับพระสมณะโคดม ฝ่ายพาลชนก็เชื่อถ้อยคำของนางเพราะเห็นสมจริง

ครั้นอยู่ต่อมาได้ประมาณแปดเดือน นางจิญจมานวิกาจึงเอาเชือกผูกท้อนไม้รัดให้แนบแน่นเข้ากับอุทรของตนแล้วเอาผ้าคลุมลงมา แกล้งเอาไม้ทุบบริเวณมือและเท้าของตนให้บวมขึ้นดั่งลักษณะหญิงที่ใกล้จะให้กำเนิดแก่ทารก พร้อมทั้งทำร่างกายให้ดูเศร้าหมอง

ครั้นเย็นวันหนึ่งขณะที่พระพุทธองค์แสดงธรรมแก่ชนทั้งหลาย นางจิญจมานวิกาจึงมายืนอยู่หน้าพระพักตร์ของพระองค์ แล้วกล่าวประจานพระองค์ที่เป็นเหตุให้นางตั้งครรภ์ แล้วก็ทอดทิ้งมิได้ดูแลอนุเคราะห์นางให้เหมาะสม ดีแต่จะสมัครรักใคร่ชมเชยเท่านั้น แล้วได้บริภาษพระพุทธองค์ด้วยถ้อยคำหยาบช้าประการต่างๆ

 แต่พระพุทธองค์หาหวั่นไหวไม่ ตรัสตอบแก่นางไปว่า ความครั้งนี้เท็จจริงประการใดหามีผู้ใดรู้เห็นไม่ มีแต่พระองค์กับนางเท่านั้นที่ทราบ

ที่มาของภาพ จากจิตรกรรมฝาผนังวิหารวัดพระธาตุจอมปิง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

เหตุครั้งนี้บันดาลให้สมเด็จพระอมรินทราธิราชบังเกิดความเดือดร้อน ด้วยนางจิญจมานวิกาเจรจามุสาวาทใส่โทษแก่พระพุทธเจ้าด้วยถ้อยคำอันหาความจริงมิได้ จึงดำริจะให้ชนทั้งปวงประจักษ์แจ้งในความจริง จึงมีเทวบัญชาให้เทวดาสี่องค์ เนรมิตกายเป็นหนูเข้าไปกัดเชือกที่ใช้ผูกท่อนไม้ที่รัดไว้ที่อุทรของนางจิญจมานวิกา

เทพทั้งสี่เมื่อรับเทวบัญชาแล้วก็กระทำตาม โดยเนรมิตกายเป็นหนูกัดเชือกจนขาด ไม้ก็ตกลงมาจากอุทรของนางถูกเท้าทั้งสองของนางขาดออกไปดุจถูกเฉือนด้วยของมีคมฉันนั้น คนทั้งหลายเห็นดังนั้นก็บังเกิดความโกรธ ชวนกันบริภาษทุบตีและขับไล่นางจิญจมานวิกาจนระบมและลำบากยิ่งนัก แล้วก็ชวนกันฉุดบ้าง ลากบ้างจนนางออกมานอกอารามแห่งพระพุทธองค์

พอลับพระเนตรแห่งพระองค์เท่านั้น พระแม่ธรณีก็บันดาลแหวกพระธรณีเป็นช่องบังเกิดเปลวไฟมหากาฬมาหุ้มคลุมร่างของนางจิญจมานวิกา ให้ตกลงสู่อเวจีนรกได้รับทุกขเวทนาหาที่เปรียบมิได้ 

สำหรับในยุคปัจจุบันที่มีการใส่ร้ายกล่าวหากันอยู่เป็นนิจ และเกิดในทุกวงการไม่เว้นแม้แต่วงการสงฆ์ และวงการศึกษา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ประสบพบเหตุการณ์ดังกล่าว ควรมีสติระลึกถึงพระพุทธชัยมงคลคาถาดังกล่าว และระลึกอยู่เสมอว่า

ผู้กระทำกรรมอันใดไว้ ย่อมได้รับผลกรรมดังกล่าว การที่มีคนกล่าวหาใส่ร้ายป้ายสี โดยที่เราไม่ได้ทำความผิด หรือมิได้กระทำตามข้อกล่าวหา แม้จะมีผู้โฉดเขลาเบาปัญญาหลงเชื่อตามคำป้ายสีนั้น แต่สีที่ป้ายก็ย่อมไม่มีความคงทน ย่อมหลุดออกมาให้เห็นเนื้อแท้สักวัหนึ่ง

การที่เราเมินเฉยต่อคำกล่าวหาว่าร้ายนั้น เป็นบทพิสูจน์ความกล้าหาญทางจริยธรรมประการหนึ่ง การไม่แก้ข้อกล่าวหานั้น มิใช่เป็นเพราะเรากลัวผู้กล่าวหา แต่เราหวังผลอันหอมหวานของการเพิกเฉยดังกล่าวนั้นต่างหาก เนื่องจากประการแรก เราได้มีโอกาสฝึกตนให้มีสติ ให้รู้อารมณ์ที่มากระทบจากการถูกกล่าวหาดังกล่าว

ประการที่สอง เราได้รับความงาม จากการปฏิบัติธรรมข้อขันติ และโสรัจจะ ซึ่งเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความงาม การมีขันติ ได้แก่  ความอดทน และโสรัจจะ ความสงบเสงี่ยมนั้น ย่อมไม่ทำให้เราแสดงกิริยาอาการอันไม่งดงาม หรืองดกล่าววาจาที่ไม่ไพเราะออกมาได้ และประการที่สาม เป็นการรอเวลาที่พิสูจน์กฎแห่งกรรม กล่าวคือ ผู้ที่ประทุษร้ายบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายตอบ ย่อมได้รับโทษ ๑๐ ประการ

หากเราเกิดความเดือดร้อนใจจากข้อกล่าวหาว่าร้ายดังกล่าว จนไม่อาจจะระงับใจได้แล้ว ขอให้ได้สาธยายท่องพระพุทธชัยมงคลคาถาบทที่ ๕ ดังกล่าวนี้ และรำลึกถึงพระพุทธจริยาวัตรในตอนนี้ พร้อมกับนึกว่าสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐเลิศกว่าผู้ใดในไตรโลกยังถูกกล่าวหาว่าร้าย สำหรับเราผู้เป็นปุถุชนนั้น ย่อมไม่อาจจะล่วงโลกธรรมดังกล่าวได้เช่นกัน


ที่มาของภาพข้างบน จากจิตรกรรมฝาผนังวิหารพระเจ้าละโว้ วัดพระบรมธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
ที่มา  http://www.angelfire.com/country/thanyawat/Jinjamanviga.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ