ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาการดับที่คล้ายนิพพาน  (อ่าน 2038 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อาการดับที่คล้ายนิพพาน
« เมื่อ: ธันวาคม 02, 2013, 10:54:21 am »
0


อาการดับที่คล้ายนิพพาน

     ๑. การดับด้วยอำนาจของปีติในญาณที่ ๓
     ๒. การดับด้วยอำนาจของปัสสัทธิในญาณที่ ๓ และญาณที่ ๔ แต่ยังจำไม่ได้ในขณะเพลินตามอำนาจของปัสสัทธิมันดับสงบทั้งที่ตัวยังตรงอยู่ เกิดมีความสงสัยว่าได้บรรลุมรรคผล
     ๓. การดับด้วยอำนาจของสมาธิขณะที่สมาธิของเราดีๆอยู่นี้แหละ มันจะดับวูบลงไปเลยก็เป็นได้
     ๔. การดับด้วยอำนาจของอุเบกขา คือเรากำหนดเพลินไปๆ มันดับวูบลงไปก็ได้
     ๕. การดับด้วยอำนาจของถีนมิทธะ เวลานั่งภาวนาไปในขณะที่จิตของเราถูกถีนมิทธะครอบงำเกิดความง่วง คือมันจะง่วงวูบลงไปๆ นี้เป็นอาการของจิตลงภวังค์ เมื่อจิตลงภวังค์ไปจนอิ่มตัวแล้วก็หายง่วง


      :34: :34: :34:
 
      อาการดับนี้ถ้าสติสมบูรณ์จะชัดเจนดี ถ้าสติไม่สมบูรณ์จะเลือนๆ ลางๆ ยังสองจิตสองใจอยู่ สติไม่สมบูรณ์ดับกิเลสยังอุ่นๆ อยู่ แต่มีกำลังพอที่จะฆ่าโมหะได้ แต่ตัวเองก็สะบักสะบอมเหมือนกัน ต้องพักฟื้น อาการดับเกิดในญาณที่ ๓ สติใส ๑๕ % อาการดับเกิดในญาณที่ ๔ สติใส ๙๐ % แต่ไม่สามารถจำได้ว่าดับลงไปในขณะไหน

      การเดินจงกรมระยะที่ ๑ ได้สติ ๒ ครั้ง แต่เมื่อสอบอารมณ์รู้ว่าเข้าสู่ญาณที่ ๒ ก็ให้เดินจงกรมขึ้นระยะที่ ๒ ส่วนเวลานั่งเวลานอน การกำหนดพองหนอ ยุบหนอ ก็กำหนดเหมือนเดิม แต่ให้กำหนดต้นจิตเสียก่อน เพื่อให้ญาณที่ ๒ สมบูรณ์แบบ ให้กำหนดว่า “อยาก” คือจะยืน เดิน นั่ง นอน ดื่ม ทำ พูด คิด จะทำกิจอะไรก็ตาม ให้กำหนดต้นจิตคือกำหนดว่า “อยาก” นั่นเอง ถ้าญาณที่ ๓ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๓ นั่งระยะที่ ๓ ถ้าญาณที่ ๔-๕ เกิดขึ้นแล้วให้เดินจงกรมระยะที่ ๔ นั่งระยะที่ ๔ ถ้าญาณที่ ๖-๗-๘ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๕ นั่งระยะที่ ๕ ถ้าญาณที่ ๙ ๑๐-๑๑ เกิดขึ้นแล้ว ให้เดินจงกรมระยะที่ ๖ นั่งระยะที่ ๖

      สำหรับการเดินจงกรมปฏิบัติธรรมฤดูหนาว (ปริวาส) ๓ วันเปลี่ยนครั้งหนึ่ง
      สำหรับคนแก่ให้เดินจงกรมระยะที่ ๑-๔ ก็สมบูรณ์แบบดีแล้ว ไม่ต้องให้เดินถึงระยะที่ ๕-๖ ก็ได้
      ปฏิบัติธรรมฤดูหนาว ถ้าขึ้นมานัตแล้วให้ฝึกสมาธิ นั่ง ๑ ชั่วโมง ต้องบังคับให้นั่ง ๑ ชั่วโมงให้ได้ เพราะนั่ง ๓๐ นาทีไม่ค่อยได้สมาธิ





      - การบรรยายธรรมแล้วแต่เห็นสมควรแก่ผู้ปฏิบัติ เช่น วันแรกเรื่องของหายาก ๔ ประการ หรือเรื่องปรับความเข้าใจกัน วันที่ ๒ เรื่องชีวิตเป็นของน้อยรีบทำความเพียรเถิด เป็นต้น สำหรับผู้มีความประสงค์จะแทรกศัพท์เข้าไปบ้างก็ได้ ชาวบ้านไม่รู้ศัพท์ เราก็ควรใช้ธรรมะสำหรับชาวบ้าน บรรยายธรรมะแบบชาวบ้าน

      - ผู้ไม่รู้ธรรมจริงไปเทศน์ไปสอน เวลาสอนไปๆ เกิดวิปฏิสารกลัวคนอื่นจับผิด เวลาสอบอารมณ์กลัวเขาทักท้วงขึ้นมา

      - เวลาหลวงพ่อจะเทศน์หลวงพ่อขอให้โยมอยู่ฟังเทศน์มากๆ จะทำให้มีกำลังใจเวลาที่เราเทศน์อยู่บนธรรมาสน์ ไม่มีอะไรต้องต่ำต้อยน้อยใจไม่มีใครมาแย่งเทศน์ได้ในขณะนั้นการเทศน์ควรดู กาลดูเวลาว่ามีมากไหม

      - การทวนญาณต้องอาศัยสมาธิมาก (ขณิกสมาธิที่ติดต่อ) การอธิษฐานความเกิดดับ ถ้ายังนั่งไม่ถูกที่หรือสมาธิยังไม่พอ ก็ไม่เกิด

      - เวลาอธิษฐาน ควรให้อธิษฐานหลังผ่านใหม่ๆ จึงจะดีเพราะสมาธิมีกำลังสูง



อ้างอิง : หนังสือบริบูรณธรรม หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่เป็นคำบรรยายหลักการปฏิบัติ การสอบอารมณ์ และโอวาทธรรม ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูวิศาลเขมคุณ(หลวงพ่อบ้านแก้ง) รองเจ้าคณะอำเภอเขมราฐ เจ้าอาวาสวัดพิชโสภาราม ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
ที่มา www.jomthong.org/paripunna-dhamma-part-1/อาการดับที่คล้ายนิพพาน.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.banidea.com/thareeta-resort-amphawa/thareeta-resort-review-033/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 02, 2013, 10:57:49 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อาการดับที่คล้ายนิพพาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 02, 2013, 11:27:50 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า