พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา
[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯศึกษารายละเอียดได้ที่นี่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๕๖๔ - ๗๘๖๑. หน้าที่ ๓๑๓ - ๓๒๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534
บทย่อ "ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา" จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ) ๑๑. ยุคนัทธะ ( ธรรมที่เทียมคู่ ) บทตั้งเป็นภาษิตของพระอานนท์ แสดงว่าภิกษุ ภิกษุณีจะพยากรณ์อรหัตตผลในสำนักของพระอานนท์ ก็มี ๔ ทาง คือ
๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน )
๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย )
อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/k21.html
อ้างถึง( โปรดดูที่ย่อไว้แล้วในหน้าพระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ หน้า ๔ ด้วย )
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต (เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓) พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ ) ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด
๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส. อ้างอิง http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/13.4.html
เพื่อความกระจ่าง...ขอรับ พระสูตรนี้ผมนำมาอ้างอิงหลายครั้งแล้ว หลายคนอาจยังไม่ทราบ
