« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2011, 10:59:52 am »
0
เรื่องเล่า อาจารย์เทสก์ : จาก ศีล สมาธิ ไปสู่ ปัญญา รากฐาน การ "ภาวนา"
ดังได้สดับมา
วิเวกา นาครไม่ว่าจะเป็นการเทศนาในเรื่อง กิเลส ใช้กิเลส ในที่สุด พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ก็ปักหมุดลงไปที่สติ
"สติเป็นใหญ่ในการที่จะรักษาศาสนา พรหมจรรย์" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี กล่าว
"หากขาดสติเสียอย่างเดียว ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก็จะเลอะเทอะไปหมด จะเอาสาระไม่ได้ สตินี้เข้าควบคุมในที่ใดแล้วย่อมสำเร็จประโยชน์ในที่นั้น"
ขณะที่ หิริ เป็นองค์เอกภาพกับ โอตตัปปะ
ที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ สติ เป็นองค์เอกภาพกับ ปัญญา อันเท่าปัญญาจะดำเนินไปอย่างเป็นคุณย่อมต้องมีสติกำกับ ดูแล หากเมื่อใด ปัญญา เกิน สติ ก็ยุ่งเหยิง อุตลุด
น่าสนใจก็ตรงที่พระโอวาทสุดท้ายก่อนดับขันธ์ปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนในเรื่อง
ความประมาท นี่ย่อมสัมพันธ์กับ สติ อย่างแนบแน่น เพราะหากเมื่อใดคนเราขาดสติเสียแล้วย่อมหลุดเข้าไปในแดนแห่งความประมาท
จึงในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2520 ระหว่างพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ ณ วัดหินหมากเป้ง ศรีเชียงใหม่ หนองคาย พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ก็ได้แสดงธรรมเทศนาในเรื่องของสติอย่างเป็นพิเศษ เป็นการเน้นสติอันสัมพันธ์อย่างแนบแน่นอยู่กับการปฏิบัติ ปรารภความเพียรในเรื่องสมาธิ โปรดอ่าน
เราจะต้องตั้งสติให้มั่นคง สตินั้นเป็นพื้นฐานของการภาวนา ถ้าสติไม่ดี ไม่ตั้งมั่นเสียแล้ว ก็ไม่มีพื้นฐาน
สติ คือ ความระลึกได้ในทุกที่ทุกสถาน จิตคิดนึกอย่างไรก็รู้ได้ รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่ สติคุมใจให้อยู่คงที่ ถ้าคุมใจไม่ได้ เรียกว่า สติเลื่อนลอย
จริงอยู่ มันต้องหวั่นไหว จะต้องส่งส่ายเป็นธรรมดา แต่การที่ส่งส่ายไปนั้น สติรู้อยู่ทุกขณะ คิดนึกสิ่งใดก็รู้อยู่ เมื่อสติรู้อยู่อย่างนี้และมีโอกาส เวลาหนึ่ง มันจะรวมลงไปได้ จะบริกรรมอะไรก็ตามเถอะ
อานาปานสติหรือพุทโธก็ตาม ลมหายใจเข้า ออก พุทโธ พุทโธ ก็ตาม อันนั้นเป็นเพียงเครื่องล่อให้จิตจดจ้องในสิ่งนั้นเท่านั้น การที่จิตจดจ้องในสิ่งนั้นมันมีอีกนัยหนึ่ง คือว่า เราจะต้องระลึกถึงจิตที่มันไปจดจ้อง
สติระลึกถึงอยู่เสมอ ใครเป็นคนไปจดจ้อง ใครเป็นคนว่าพุทโธ หรืออานาปานสติ ก็จะเห็นว่าใจนั้นเป็นคนไปว่า สตินั้นรู้อยู่ รู้ว่าใจนั้นไปว่า แล้วใจมันวางเองหรอก อานาปานสติหรือพุทโธมันวางเอง จับตัวนี้แล้ววางเอง อย่าไปเข้าใจว่าจิตถอน นั่นแหละ คือจิตรวม พุทโธ หรืออานาปานสติ รวมเข้ามาอยู่คู่กับสติอีก
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว อย่าไปลังเลหรือสงสัยว่าจิตถอน เดี๋ยวย้อนไปเอาอานาปานสติหรือพุทโธอีก นั่นจิตมันถอนแล้วให้ตั้งสติ ควบคุมใจอันนั้นให้อยู่แน่วแน่เต็มที่อีก มันจะมารวมอยู่กับใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีก แล้วจะยืน จะเดิน จะไป จะมา ที่ไหนๆ มันรวมเป็นอันเดียวกันอยู่เสมอๆ
ดูกายภายนอก เช่น กาย ยืน เดิน นั่ง นอน ไป มา มันจะเห็นชัดเป็นอาการคล้ายๆ กับตัวหุ่น มันไม่ใช่ตัวของเราเสียแล้ว คล้ายกันกับว่า กายกับใจมันแยกออกจากกันแล้ว ใจมองเห็นกายอยู่เสมอ
นั่นแหละ ตั้งสติให้แน่วแน่อย่างนั้นจะเกิดปัญญาอุบายได้ หรือไม่เกิดก็ขอให้อยู่นั่นไปก่อน อุบายมันจะเกิดเอง เป็นเองในที่นั้นแหละ รู้เห็นสิ่งใดเป็นเหตุชวนคิดแล้วก็คิด ไม่นอกเหนือไปจากหลักธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เป้าหมายของ ศีล และ สมาธิ ตามนัยแห่งธรรมเทศนา พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี คือ ปัญญา
ศีลเป็นบาทก้าวพื้นฐานนำไปสู่ความมั่นคงแน่วแน่แห่งอารมณ์ กระทั่งเป็นหนึ่งเดียว เอกัคคตา
จากนั้น จึงอาศัยสมาธินำไปสู่การครุ่นคิดพิจารณาในเรื่องปัญญา
จากความสะอาด นำไปสู่ความสงบ และบังเกิดความสว่างไสวที่มา
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322643231&grpid=no&catid=&subcatid=ขอบคุณภาพจาก
http://www.web-pra.com/,http://palungjit.com/,http://www.dhammajak.net/