ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบคำอธิบาย อวิชชา นี้หมายถึงอะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ กรรมฐาน คะ  (อ่าน 3456 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบคำอธิบาย อวิชชา นี้หมายถึงอะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับ กรรมฐาน คะ
คือบางครั้งก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ เพราะบางทีไปฟัง ครูอาจารย์ พูดให้ฟังว่า

  เธอถูก อวิชชา บังใจ อันนี้หมายถึงอย่างไร

  อวิชชา กับ กิเลส หรือ อกุศลมูล คือ อันเดียวกันหรือไม่คะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

อวิชชา ความไม่รู้จริง,
       ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง มี ๔ คือความไม่รู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง
       (ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุเกิดแห่งทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ ไม่รู้ทางให้ถึงความดับทุกข์),
       อวิชชา ๘ คือ อวิชชา ๔ นั้น และเพิ่ม
       ๕. ไม่รู้อดีต ๖. ไม่รู้อนาคต ๗. ไม่รู้ทั้งอดีตทั้งอนาคต ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท;

       (ข้อ ๑๐ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๗ ในอนุสัย ๗)

อวิชชา ๔ (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง)
๑. ทุกฺเข อญฺาณํ (ไม่รู้ทุกข์)
๒. ทุกฺขสมุทเย อญฺาณํ (ไม่รู้ในทุกขสมุทัย)
๓. ทุกฺขนิโรเธ อญฺาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธ)
๔. ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อญฺาณํ (ไม่รู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)

กล่าวสั้นๆ คือ ไม่รู้ในอริยสัจ ๔

อวิชชา ๘ (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง)  ๔ ข้อแรกตรงกับอวิชชา ๔; ข้อ ๕ - ๘ ดังนี้
๕. ปุพฺพนฺเต อญฺาณํ (ไม่รู้ในส่วนอดีต)
๖. อปรนฺเต อญฺาณํ (ไม่รู้ส่วนอนาคต)
๗. ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญฺาณํ (ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต)
๘. อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺาณํ (ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา
)

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;

       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;
       ในพระอภิธรรมท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. กามราคะ
           ๒. ปฏิฆะ
           ๓. มานะ
           ๔. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)
           ๕. วิจิกิจฉา
           ๖. สีลัพพตปรามาส
           ๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)
           ๘. อิสสา (ความริษยา)
           ๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
           ๑๐. อวิชชา


อนุสัย กิเลสที่แฝงตัวนอนเนื่องอยู่ในสันดาน มี ๗ คือ
       ๑. กามราคะ ความกำหนัดในกาม
       ๒. ปฏิฆะ ความหงุดหงิด
       ๓. ทิฏฐิ ความเห็นผิด
       ๔. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
       ๕. มานะ ความถือตัว
       ๖. ภวราคะ ความกำหนดในภพ
       ๗. อวิชชา ความไม่รู้จริง



อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา, กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๓ ในอาสวะ ๓, ข้อ ๔ ในอาสวะ ๔)

อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ
       มี ๓ อย่าง คือ
           ๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม
           ๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ
           ๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา;

       อีกหมวดหนึ่งมี ๔ คือ
          ๑. กามาสวะ
           ๒. ภวาสวะ
           ๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ
           ๔. อวิชชาสวะ;

       ในทางพระวินัยและความหมายสามัญ หมายถึง เมรัย
       เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้, ผลาสโว น้ำดองผลไม้

กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์

อกุศลมูล รากเหง้าของอกุศล, ต้นเหตุของอกุศล,
       ต้นเหตุของความชั่ว มี ๓ อย่าง คือ โลภะ โทสะ โมหะ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.watthongthua.com/,http://i170.photobucket.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 05, 2011, 02:27:58 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ