ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พาชม“ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย”นิทรรศการเล่าเรื่อง“ในหลวงอันเป็นที่รัก”  (อ่าน 2572 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พาชม“ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย”นิทรรศการเล่าเรื่อง“ในหลวงอันเป็นที่รัก”


อดีตกาลค่าของเงินวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่เหตุที่การพกพาจำนวนมากย่อมทำไม่สะดวกและอาจเป็นอันตราย จึงปรับมาสู่การใช้ "ธนบัตร" เพื่อแลกเปลี่ยนแทน

สำหรับประเทศไทยธนบัตรใบแรกถือกำเนิด เมื่อ พ.ศ. 2445 และพัฒนารูปแบบต่างๆในการใช้อย่างแพร่หลาย ผ่านการออกแบบธนบัตรในแต่ละแบบแต่ละโอกาส ซึ่งธนบัตรก็เปรียบเหมือนสิ่งบอกเล่าประวัติศาสตร์ได้ในแต่ละยุคสมัย เพราะด้านหนึ่งการผลิตธนบัตรจะต้องเริ่มกำหนดตั้งแต่คอนเซ็ปต์ที่ต้องการเสนอ ไปจนถึงเลือกสรรองค์ประกอบต่างๆ ทั้งภาพและข้อความที่สะท้อนให้เห้นถึงแนวคิดที่ต้องการถ่ายทอดอย่างสมบูรณ์

ฉะนั้น ธนบัตรแต่ละยุคจึงผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน...ที่สำคัญบอกถึง "ยุคสมัย" และเรื่องราวในทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสยามประเทศสู่ประเทศไทยได้เช่นกัน




ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. ระหว่างเยี่ยมชมนิทรรศการ และชมการสาธิตการแกะสลัก ธนบัตร โดยช่างศิลป์ของ ธปท.

เช่นเดียวกันที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังจัดนิทรรศการ "ภัทรมหาราช ธนบัตรชาติไทย" ขึ้นในเวลานี้ ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554   ซึ่งธนบัตรที่นำมาแสดงในงานนี้ ถือเป็นธนบัตรหายาก และล้ำค่า ที่จะพาไปสัมผัสสู่เส้นทางพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจ มีโอกาสเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าวในรอบสื่อมวลชน โดยได้พูดคุยกับ “อัมรา ศรีพยัคฆ์” ผู้ช่วยผู้ว่าการ  สายวางแผนและงบประมาณ ธปท.  โดยกล่าวถึงนิทรรศการที่จัดขึ้นนี้ว่า เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอัญเชิญพระราชกรณียกิจด้านหลังธนบัตรมาจัดแสดงผ่านสื่อมัลติมีเดีย และคัดเฉพาะสิ่งที่หาชมได้ยาก เช่น ภาพต้นแบบของธนบัตรที่ไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ธนบัตรรัชกาลปัจจุบันที่หายากที่สุด ธนบัตรเลขสวย

“แนวคิดหลักในการจัดนิทรรศการครั้งนี้คือ “ความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย ที่มา...อยู่ข้างหลังภาพ” ซึ่งผู้เข้าชมจะได้ซาบซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงงานหนักเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่คนไทยตลอด 65 ปี แห่งการครองราชย์



โดยรายละเอียดในนิทรรศการ จะแบ่งออกเป็น 4 โซน ได้แก่

โซนที่ 1 “จากพระราชหฤทัยสู่ประชาราษฏร์” บทนำสู่นิทรรศการ ด้วยกระจกขนาดใหญ่ที่สลักเป็นพระบรมฉายาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่ปรากฎในธนบัตรที่ระลึก 84 พรรษา พร้อมพระราชดำรัสที่พระราชทานแก่คณะผู้บริหาร ธปท. ซึ่งเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2551 ซึ่งมีพระราชดำรัส ที่สำคัญว่า “บริหารเงินชาติให้ไม่หมด”


โซนที่ 2 “เอกธนบัตรรัชกาลที่9" : จดหมายเหตุพระราชกรณียกิจเพื่อความสุขที่ยั่งยืนของคนไทย” บอกเล่าเรื่องราวพระราชกรณียกิจตั้งแต่ต้นรัชกาล และพระราชกรณียกิจที่ปรากฎในธนบัตร ชมเหตุการณ์เบื้องหลังภาพพระราชกรณียกิจในธนบัตร เล่าเรื่องผ่านวีดิทัศน์สั้นๆ บนจอ IPAD และจุดเด่นของโซนนี้คือ แผ่นพิมพ์ธนบัตรเต็มแผ่นแสดงขั้นตอนการพิมพ์ธนบัตรที่ระลึก 84 พรรษาด้วยเทคนิคที่ล้ำยุค และแสดงภาพต้นแบบธนบัตรด้วย



โซนที่ 3  “เส้นทางแห่งการทรงงาน” สื่อให้เห็นภาพจำลองเส้นทางตลอด 65 ปี แห่งการครองราชย์ที่ได้พระราชดำเนินผ่าน และพระราชกรณียกิจในที่ต่างๆ นำเสนอด้วยเทคนิค SHADOW INTERACTIVE พร้อมภาพ แสง เสียง  และ


โซนที่ 4 “เอกธนบัตร รัชกาลที่9" : ธนบัตรหาชมยาก” จัดแสดงธนบัตรรัชกาลที่9 ที่คัดสรรว่าหาชมได้ยาก เช่น ภาพต้นแบบธนบัตรที่ไม่เคยจัดแสดงที่ใดมาก่อน ธนบัตรที่หายากและมีมูลค่าสูงของรัชกาลปัจจุบัน ตัวอย่างธนบัตร และธนบัตรเลขสวยเฉพาะหมายเลข 9999999 เป็นต้น



นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเสวนา ในหัวข้อ “พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รัก” โดย “ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล” เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ในวันที่ 16 ธันวาคม 2554 และหัวข้อ “ธนบัตรรัชกาลที่9 กับเรื่องราวที่คนไทยควรรู้” ในวันที่ 23 ธันวาคม 2554 โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่ “จุมพล ศานติพงศ์” อดีตผู้อำนวยการอาวุโส โรงพิมพ์ธนบัตร ธปท. “อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ “สมชาย แสงเงิน” แชมป์แฟนพันธุ์แท้ธนบัตรไทย โดยมี “เอนก นาวิกมูล” นักเขียนชื่อดังเป็นผู้ดำเนินรายการ


พร้อมกับชมการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ ในบรรยากาศยามเย็นด้านหน้าตำหนักสมเด็จ วังบางขุนพรหม (ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา) 

โดยในวันเสวนา จะมีการจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วย


(ภาพบน:: ธนบัตรหาชมยาก) ธนบัตรรุ่นนี้มีชื่อเล่นว่า "ป. เดช แดง" ซึ่ง ป. มาจากชื่อของจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  "เดช" มาจาก เดช สินทวงศ์ ณ อยุธยา  ผู้ว่าการ ธปท. ในสมัยนั้น และ แดงมาจาก หมึกพิมพ์ตัวเลขที่เป็นสีแดง ซึ่งต่อมาหมึกสีแดงได้ถูกยกเลิกการพิมพ์ลงธนบัตรไปเนื่องเนื่องจากเป็นสีที่พิมพ์ลงใน ธนบัตรฉบับ 100 บาทแล้ว จะทำให้มองไม่เป็นตัวเลข


พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านการเงินและเศณษฐกิจจะถูกจัดอยู่ในโซนที่ 1 "จากพระราชหฤทัยสู่ประชาราษฎร์"

 
นิทรรศการธนบัตรชาติไทยนี้ เปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี ระหว่างวันที่ 6 ธันวาคม 2554-13 มกราคม 2555  ณ ตำหนักบางขุนพรหม ตั้งแต่เวลา 9.00 – 16.30 น. เว้นวันหยุดราชการ

ทั้งนี้ ประชาชน ผู้สนใจเข้าร่วมชมนิทรรศการ สามารถโทรสอบถามได้ที่ โทร 02-356-7787, 02-356-6778 และ 02-356-6722


--รายงานโดย อนัญญา มูลเพ็ญ ผู้สื่อข่าวนสพ.ประชาชาติธุรกิจ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1323181848&grpid=09&catid=&subcatid=
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ