การลักทรัพย์
องค์แห่งการลักทรัพย์ การลักทรัพย์ต้องประกอบด้วยองค์ 5 คือ
1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
2. รู้อยู่ว่าทรัพย์นั้นมีเจ้าของหวงแหน
3. มีจิตคิดจะลักทรัพย์นั้น
4. มีความพยายามลักทรัพย์นั้น
5. ลักทรัพย์ได้ด้วยความพยายามนั้น ลักษณะของการลักทรัพย์ การลักทรัพย์แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. โจรกรรม มี 14 ประเภท ได้แก่
- ลักขโมย ได้แก่ การขโมยทรัพย์ผู้อื่น เมื่อเขาไม่รู้ไม่เห็น
- ฉกชิง ได้แก่ การแย่งเอาทรัพย์ผู้อื่นซึ่งๆ หน้า
- ขู่กรรโชก ได้แก่ การทำให้เจ้าของทรัพย์เกิดความกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์
- ปล้น ได้แก่ การยกพวก ถือเอาอาวุธเข้าปล้นทรัพย์ผู้อื่น
- ตู่ ได้แก่ การกล่าวตู่เอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ฉ้อโกง ได้แก่ การโกงเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- หลอก ได้แก่ การพูดปด เพื่อหลอกเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตน
- ลวง ได้แก่ การใช้เล่ห์เหลี่ยม ลวงเอาทรัพย์ผู้อื่นด้วยวิธีการต่างๆ เช่น โกงตาชั่ง
- ปลอม ได้แก่ การทำของไม่แท้ ให้เห็นว่าเป็นของแท้
- ตระบัด ได้แก่ การยืมของผู้อื่น แล้วยึดเป็นของตน
- เบียดบัง ได้แก่ การกินเศษกินเลย เบียดบังผลประโยชน์ของส่วนรวมมาเป็นของตน
- สับเปลี่ยน ได้แก่ การแอบเอาของๆ ตน ไปเปลี่ยนกับของผู้อื่นซึ่งดีกว่า
- ลักลอบ ได้แก่ การหลบภาษีการค้าขายสิ่งของผิดกฎหมาย
- ยักยอก ได้แก่ การที่ทรัพย์ของตนจะถูกยึด จึงยักยอกเอาไปไว้ที่อื่นเสีย เพื่อหลบเลี่ยง การถูกยึด
2. อนุโลมโจรกรรม มี 3 ประเภท ได้แก่
- การสมโจร เป็นการสนับสนุนให้เกิดการโจรกรรม เช่น การรับซื้อของโจร การให้ที่พักอาศัย ให้ข้าวให้น้ำแก่โจร
- ปอกลอก เป็นการคบหาผู้อื่นด้วยหวังทรัพย์ พอเขาสิ้นทรัพย์ก็เลิกคบ เป็นการ ทำให้คนสิ้นเนื้อประดาตัว
- รับสินบน เช่น การที่ข้าราชการยอมทำผิดหน้าที่ เพื่อรับสินบน
3. ฉายาโจรกรรม (การกระทำที่เข้าข่ายการลักขโมย) มี 2 ประการ ได้แก่
- ผลาญ คือ สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น โดยมิได้มุ่งหวังจะเอาทรัพย์ของ ผู้อื่นมาเป็นของตน เช่น การวางเพลิง
- หยิบฉวย คือ การถือทรัพย์ผู้อื่นมาด้วยความมักง่าย ถือวิสาสะ การลักทรัพย์ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ 1. คุณค่าของทรัพย์สินสิ่งของนั้น
2. คุณความดีของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์นั้น
3. ความพยายามในการลักทรัพย์นั้น
อ้างอิง หนังสือ "วิถีชาวพุทธ"
ที่มา
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
ผลของการลักทรัพย์ ๖ ประการ ๑. เป็นผู้มีทรัพย์น้อย
๒. ยากจนเข็ญใจ
๓. อดอยากหิวโหย
๔. ได้ในสิ่งที่ไม่ต้องการ
๕. ค้าขายขาดทุน
๖. ประสบกับภัยพิบัติ ไฟไหม้ น้ำท่วม โจรปล้น ถูกเวนคืน เป็นต้น อ้างอิง
บทเรียนอภิธรรม หลักสตรทางอินเตอร์เน็ต ตอนที่ ๖ ชุดที่ ๑ ความรู้เรื่องชีวติและภพภูมิ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
http://www.buddhism-online.org/Section06A_06.htm