ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (14)  (อ่าน 2050 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29297
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (14)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


คําว่าคนไทยในที่นี้รวมทั้งพระไทยด้วย เพราะอย่าลืมว่าพระไทยก็มาจากคนไทย คือคนไทยมาบวช และส่วนใหญ่ก็มาบวชแค่ตามประเพณีที่แทบจะหมดเนื้อ เหลือแต่รูปแบบ ก่อนบวชก็ไม่ได้เอาใจใส่เรื่องของพระพุทธศาสนา บวชแล้ว พวกหนึ่งก็ยึดถือรูปแบบนั้นไปสักแต่ว่าตามที่ยึดถือสืบกันมา อีกพวกหนึ่งที่มาบวชด้วยจำใจก็มาก

จุดที่น่าสังเกตอยู่ตรงที่ว่า การบวชตามประเพณีเก่านั้น มาประสานเข้ากับกระแสการศึกษาสมัยใหม่แบบตะวันตก กลายเป็นความจริงที่ย้อนแย้งว่า การศึกษาสมัยใหม่นั่นแหละเป็นแรงผลักดันให้คนมาบวช นี่หมายถึงคนชนบทสมัยนั้น

ทำไมเป็นอย่างนั้น ก็คือเรื่องของสังคมไทยที่จัดการบ้านเมืองกันมาโดยต้องเน้นศูนย์กลางและข้างบนก่อน เวลาผ่านมาระยะหนึ่ง ข้างล่าง ในชนบท การศึกษาขยายไปไม่ถึง เด็กบ้านนอกแทบไม่มีโอกาสเรียนหนังสือในระบบของรัฐเลย อย่างดีจบ ป.4 ก็สูงแล้ว เป็นอันว่าจบจริงๆ คือหมดแค่นั้น ไม่มีทางไป

ถึงตอนนี้ชาวบ้านนอกก็ต้องอาศัยประเพณีเก่าและสถาบันดั้งเดิมละ คือพ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้เรียนต่อ ก็พาลูกมาฝากวัด ให้เรียนนักธรรม หรืออะไรที่พอมีให้ได้เรียนเป็นทางก้าวหน้าบ้าง

เดี๋ยวก่อน อย่านึกว่าชาวบ้านนอกเขาเอาลูกมาบวชเพราะมีศรัทธาอยากให้ลูกสืบต่อพระศาสนาหรืออะไรทำนองนั้นนะ ไม่ใช่หรอก ตัวผลักดันให้บวชก็คือกระแสความนิยมการศึกษาสมัยใหม่แบบตะวันตกนี่แหละ ที่เข้าใจกันว่าการศึกษาเป็นบันไดไต่ไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในสังคม ที่จะไปเป็นใหญ่เป็นโต

คนบ้านนอกก็อยากให้ลูกได้เข้าสู่ระบบไต่บันไดนั้นด้วย แต่เขาไม่มีโอกาส การศึกษาของรัฐก็ไปไม่ถึงชนบท และตัวเขาเองก็ไม่มีเงินจะส่งลูกมาเรียนในกรุงหรือแม้แต่ในเมือง

ถึงตอนนี้การศึกษาเล่าเรียนในวัดก็กลายเป็นเพียงภาคสมทบหรือส่วนแซมที่มาเสริมฐานอย่างไม่เป็นทางการให้แก่การศึกษาสมัยใหม่ของรัฐไทย สำหรับให้คนด้อยโอกาสในชนบทมีช่องทางเข้ามาแทรกในระบบการศึกษาสำหรับผู้มีโอกาสเหนือกว่าในเมืองในกรุง

เมื่อเด็กบ้านนอกเข้ามาในช่องทางที่พอจะรอรับโอกาสได้บ้างอย่างนี้แล้ว ถ้าอยากเรียนสูงขึ้นไปก็เข้ามาเรียนต่อที่วัดในกรุงเทพฯ เมื่อสอบเปรียญได้ชั้นนั้นชั้นนี้ ทางฝ่ายรัฐก็เทียบวุฒิให้พอไปเข้ารับราชการได้บ้าง

ว่ากันไป การเล่าเรียนในสายของวัดนี่ก็ดีอย่างหนึ่ง คือพวกพระเณรจากชนบทเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ แล้วก็ต้องไปเยี่ยมญาติโยมพ่อแม่พี่น้องในต่างจังหวัด ทำให้มีการสื่อสารถึงกัน และมีการเคลื่อนย้ายถิ่น คือเด็กบ้านนอกที่ไม่มีที่เล่าเรียนในท้องถิ่นที่จะเข้าถึงระบบการศึกษาของรัฐ ถึงจะไม่บวชเณรก็ไปอยู่เป็นเด็กวัด เมื่ออยากเรียนสูงขึ้นก็ตามพระบ้านนอกที่มาอยู่วัดในกรุง ซึ่งเป็นญาติหรือเป็นพระรู้จัก เมื่อท่านไปเยี่ยมบ้านก็ให้ท่านพาเข้ามาอยู่ที่วัดในกรุงนั้น แล้วก็มีโอกาสได้มาเรียนในกรุงเทพฯ

เป็นอันว่า ย้อนหลังไปสักครึ่งศตวรรษ คนชนบทที่มีโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาของรัฐได้เรียนสูงขึ้นบ้าง ก็มาในสายของวัดนี่เอง โดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มาในเพศพระเณร กับกลุ่มที่มาอยู่เป็นศิษย์วัด

ที่มา  http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOREUzTURFMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4Tnc9PQ==
ขอบคุณภาพจาก http://www.watnyanaves.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ