ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่เทพโลกอุดร ทำไมต้องชื่อ "เทพโลกอุดร"  (อ่าน 3425 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


หลวงปู่เทพโลกอุดร ทำไมต้องชื่อ "เทพโลกอุดร"

     ก่อนจะได้เขียนถึงเรื่องนี้ ผู้เขียนขอออกตัวสักเล็กน้อยว่า เรื่องที่จะเล่าต่อไปยังเป็นอีกเรื่องหนึ่งหาข้อยุติกันไม่ได้ กล่าวคือยังมีการถกเถียงกันถึงตัวตนอันแท้จริงของศิษย์หลวงปู่ เทพโลกอุดรท่านนี้

      แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่พอจะสรุปร่วมกันได้ก็คือ ทุกฝ่ายต่างลงความเห็นร่วมกันว่าเป็นศิษย์หลวงปู่เทพโลกอุดร ผู้มีเชื้อสายพระมหากษัตริย์พระองค์นี้มีพระศักดิ์เป็น "กรมพระราชวังบวร" ทรงดำรงตำแหน่ง วังหน้า ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์(เป็นผู้ตั้งชื่อ เทพโลกอุดร)
     แต่สำหรับตัวตนจริงของกรมวังหน้า พระองค์นี้ยังเป็นการถกเถียงกัน ( แล้วก็ ฉอด ฉอด ฉอด ....ขอข้ามเลยนะครับ หุ หุ )


     ตามประวัติเล่าว่า สมเด็จวังหน้าองค์นี้ทรงเป็นที่เกรงขามของบรรดาข้าราชบริพารยิ่งนึกและ พระองค์มีลักษณะที่แตกต่างไปจากบุคคลทั่วไปอย่างหนึ่ง คือ พระองค์มีพระชิวหาดำ ทั้งนี้ก็เพราะพระองค์โปรดการปลูกว่านสุมไพรต่างๆและทรงโปรดการชิมรสว่าน ต่าง ๆ ด้วยพระลักษณะเฉพาะตัวนั้น จึงได้มีการขนานพระนามพระองค์ว่า "องค์ลิ้นดำ"

    สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ นอกจากจะสนใจในเรื่องการปลูกว่านสมุนไพรต่าง ๆ แล้วพระองค์ยังทรงสนพระทัยในเรื่องวิชา คาถา อาคม ไสยศาสตร์
( สรุปเลยนะครับ พระองค์ท่านก็ได้เรียนกับครูต่าง ๆ ที่ว่าเก่งก็แล้ว เรียนไปหมด แต่ท่านก็ยังไม่พอใจ เพราะว่ามีแค่ เสกน้ำมนต์ แล้วก็ไล่ผี ท่านเลยได้ตั้งปณิธานว่า )
    ครั้นตัดสินพระทัยได้เช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงจุดธูป 9 ดอก แล้วทรงตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า ถ้าไม่เจออาจารย์ที่จะสอนวิชาที่พระองค์ท่านต้องการได้จะไม่กลับมาวัง ขอให้เทพยาดาฟ้าดินได้โปรดเห็นพระทัยในความตั้งใจจริง ชี้ทางให้ไปพบกับอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญได้


     ครั้นทรงอธิษฐานเสร็จ แล้ว สมเด็จวังหน้าพระองค์นี้ ก็ทรงแต่งกายอย่างสามัญชน และได้เสด็จหายไปจากพระราชวัง จนกระทั่งมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง (ไม่ปรากฏชื่อและวันเดือนปี ) สมเด็จวังหน้าก็ได้เข้าไปขอน้ำจากชาวบ้านมาดื่มและล้างพระพักตร์ ครั้นพอรู้สึกชุ่มชื่นดีแล้ว ก็ได้ถอยออกมานั่งพักอยู่ใต้ร่มเงาไม้ไหญ่ แห่งหนึ่ง

     ครานั้นตะวันเริ่มรอนแล้ว สมเด็จวังหน้าทอดพระเนตรไปข้างหน้าก็พลันเห็นพระธุดงค์รูปหนึ่งปักกลดพัก อยู่ที่ใต้ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง ซึ่งห่างจากที่พระองค์นั่งพักอยู่ไม่เท่าไร

    ครั้นเห็นเช่นนั้นสมเด็จ วังหน้า ก็ทรงดำริว่า :ชะรอยเทวดาฟ้าดินคงจะเห็นใจเราแล้ว พระธุดงค์รูปนั้นอาจจะเป็นอาจารย์ที่เรากำลังตามหาอยู่ก็ได้

    ครั้นดำริเช่นนั้น พระองค์ก็ทรงเสด็จเข้าไปใกล้ที่พระธุดงค์รูปนั้น นั่งทำสมาธิอยู่ไป ถึงใกล้ ๆ ก็สังเกตเห็นความแปลกประหลาดของพระธุดงค์รูปดังกล่าว คือ พระธุดงค์ที่ปรากฏกายอยู่เบื้องหน้าสมเด็จวังหน้าขณะนั้น
    ดูจากหน้าตาและรูปร่างเห็นว่าท่านยังเยาว์วัย ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ ผิวพรรณผุดผ่องดี อย่างผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ แต่ว่าบนศีรษะกลับมีหงอกขาวโพลนเต็ม สมเด็จวังหน้าทรงเห็นดังนั้น ก็ให้นึกแปลกพระทัยและก็เริ่มศรัทธาในรูปลักษณ์ของพระธุดงค์รูปนั้น พระองค์จึงนั่งลงนมัสการ


    ขณะนั้นพระธุดงค์ผุ้มีหน้าตาและร่างกายห นุ่ม แต่มีศีรษะขาวโพลนกำลังนั่งสมาธิ หลับตานิ่ง แต่ว่า ท่านรู้ว่ามีคนมาก้มอยู่เบื้องหน้าจึงได้ถามออกมาว่า " คุณโยมจะไปไหน"

    บัดนั้นสมเด็จวังหน้าจึงได้เล่าความเป็นมาของพระองค์ให้พระธุดงค์รูปนั้น ทราบอย่างละเอียด แล้วได้บอกถึงวัตถุประสงค์ในการเสด็จออกจากวังครั้งนี้ให้ท่านทราบด้วย
 
    พระธุดงค์นั้นไม่กล่าวกระไร แต่เมื่อสมเด็จวังหน้าได้เรียนถามปัญหาต่าง ๆ ท่านก็ตอบได้ถูกต้องทุกคำถาม และตอบอย่างมีเหตุผล ชัดเจนอย่างผู้รู้จริง ซ้ำยังได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้สมเด็จวังหน้าได้ประจักษ์เช่น ชี้กิ่งไม้กลายเป็นงู เป็นต้น

    สมเด็จวังหน้าได้เห็นเช่นนั้น ก็ประจักษ์พระทัยทันทีว่า พระธุดงค์รูปนี้ไม่ใช่ธรรมดา ท่านทรงความรู้เหนือกว่าบรรดาครูต่าง ๆ ที่พระองค์เคยเรียนมาเป็นแน่ จึงก้มกราบแทบเท้าพระธุดงค์แล้วกล่าวขอฝากตัวเป็นศิษย์ พระธุดงค์รูปนั้นก็ไม่ขัดศรัทธา สมเด็จวังหน้าจึงได้อยู่ศึกษาวิชาความรู้ตามที่พระองค์ต้องการกับพระธุดงค์ ผุ้มีความแปลกในตัวนั้นตั้งแต่บัดนั้น



    เล่ากันว่าวิชาแรกที่อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นสอนแก่สมเด็จวังหน้า ก็คือวิชานะหน้าทอง

    วิชานะหน้าทองนี้ ก็คือ การใช้แผ่นทองฝังลงในร่างกายของคน ส่วนใหญ่จะใช้บริเวณหน้าผาก การฝังนั้นก็จะฝั่งด้วยพลังจิต พระธุดงค์ผู้เป็นอาจารย์ก็ได้ถวายการสอนโดยการใช้ทองฝังเข้าไปในร่างกายโดย การใช้พลังจิตและพระอาจารย์รูปนี้ไม่ใช่เพียงแต่สอนให้ลงนะหน้าทองโดยการฝัง ทองเข้าไปในหน้าผากเท่านั้น ท่านยังปฏิบัติให้เป็นประจักษ์ถึงความสามารถที่พิสดารออกไป เช่น ส่งทองให้หายไปในอากาศ แล้วไปติดอยู่ตามต้นไม้หรือที่ต่าง ๆได้

    สมเด็จวังหน้าทรงตั้งพระทัยศึกษาวิชานี้เป็นอย่างดี แต่วิชานี้ก็ไม่ใช่เรียนกันง่าย กว่าจะสำเร็จก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร อาจารย์พระธุดงค์สอนวิธีต่าง ๆ ให้แล้วก็สั่งสมเด็จวังหน้าตั้งใจฝึกฝน ส่วนตัวท่านถอดกลดท่องธุดงค์ต่อไป แต่ก่อนจากกัน ท่านได้นัดแนะสมเด็จวังหน้า ผู้เป็นศิษย์ไว้ว่าคราวต่อไปจะได้ไปพบกันที่ไหนอีก

    ครั้นอาจารย์พระ ธุดงค์จากไปแล้ว สมเด็จวังหน้าก็ตั้งพระทัยฝึกวิชาลงนะหน้าทองนั้นต่อไป จนชำนาญดีแล้วครั้นเมื่อถึงหมายกำหนดที่อาจารย์พระธุดงค์นัดให้ไปเจอ พระองค์ก็เดินทางไปตามที่นัดหมาย

    เล่ากันว่าเรียนการสอนของศิษย์ อาจารย์คู่นี้ ค่อนข้างจะแปลกพิสดารไปจาการสอนของครูอาจารย์คนอื่น ๆ คือ จะสอนจะเรียนกันเป็นระยะ ๆ และต่างวิชาต่างสถานที่กันไป บางทีก็ต้องเดินทางไปสอนไปเรียนกันไกล ๆ และส่วนใหญ่จะอยู่ตามป่าเขาลำเนาถ้ำ บางคราวถึงกับเดินทางไปสอนไปเรียนกันถึงต่างประเทศ เช่น ประเทศลาว พม่า เป็นต้น แต่สมเด็จวังหน้าพระองค์นั้น ก็ทรงทรหด ดั้นด้นติดตามไปหาไปพบพระอาจารย์ตามที่นัดหมายได้ทุกครั้ง

   เสด็จวังหน้าพระองค์ทรงศึกษาเล่าเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ จากอาจารย์พระธุดงค์รูปนี้อยู่นาน จนชำนาญในหลายแขนงวิชา เพราะว่าพระอาจารย์ธุดงค์รูปนี้ ไม่ใช่เพียงสอนวิชาคาถาอาคมเท่านั้น ท่านยังสอนวิชาอื่น ๆ อีกด้วย

   โดยเฉพาะวิชาในพระพุทธศาสนา เช่นการนั่งสมาธิทำวิปัสสนากรรมฐาน เพราะท่านพูดกับศิษย์ว่า การนั่งสมาธินั้นจะช่วยให้จำวิชาต่าง ๆได้ดีขึ้น และสามารถนำมาประกอบใช้กับวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ได้ดี สมเด็จวังหน้าทรงปฏิบัติตามทุกอย่าง

   ครั้นศึกษาวิชาคาถาอาคม และการทำสมาธิ ทำกรรมฐานเพียงพอแล้ว วันหนึ่งอาจารย์ธุดงค์ก็ได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า

  " ถึงเวลาที่เราควรจากกันแล้ว ตอนนี้วังหน้าก็เรียนวิชาสำเร็จทุกอย่างแล้ว และอาตมาภาพขอยืนยันว่า บัดนี้ถือได้ว่า วังหน้าได้เป็นหนึ่งในแผ่นดินสมความปรารถนาแล้ว"

(ที่พิมพ์ย่อ ๆ มาไม่รู้ผมได้พิมพ์ไปเปล่า แต่ที่ท่านวังหน้าท่านออกมาหาอาจารย์ที่จะสอนท่านให้เก่งเป็นหนึ่งในแผ่นดิน ได้นี้คือเป้าหมายของท่านครับ และได้เจอหลวงพ่อเทพโลกอุดรล่ะครับ )

    ก่อนจากกันครั้งหนึ่งสมเด็จวังหน้าได้ถามอาจารย์พระธุดงค์ว่า "หลวงพ่อชื่ออะไร" ทั้งนี้ก็เพราะว่า ถึงแม้จะได้เป็นศิษย์อาจารย์กันมาหลายปีแล้ว สมเด็จวังหน้าไม่เคยได้ทราบชื่อของอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นเลย พระองค์ได้แต่เรียกพระอาจารย์ว่า "หลวงพ่อ ๆ " ส่วนอาจารย์พระธุดงค์รูปนั้นก็เรียกสมเด็จวังหน้าว่า " วังหน้าเฉย ๆ "

    เมื่อสมเด็จวังหน้าได้ทรงถามเช่นนั้น อาจารย์พระธุดงค์รูปนั้น ก็ยังไม่ยอมบอกชื่อเสียงเรียงนาม ได้แต่อธิบายสมเด็จวังหน้า ให้เห็นถึงความไม่จำเป็นของชื่อเสียงเรียงนาม และยังได้บอกกับสมเด็จวังหน้าผู้เป็นศิษย์ว่า "วังหน้าจะเรียกหลวงพ่อว่าอย่างไร หลวงพ่อก็ชื่ออย่างนั้นล่ะ"

    เมื่อ ถามถึงอายุ อาจารย์พระธุดงค์ก็ตอบว่า "อายุเท่าไรจำไม่ได้แล้ว เพราะมันนานเหลือเกินแล้ว ปู่ของวังหน้า ถ้ายังมีชีวิตอยู่อายุสักประมาณเท่าไรได้แล้วล่ะ"

    สมเด็จวังหน้าตอบ ว่า "ร้อยกว่าปีแล้ว" อาจารย์พระธุดงค์ตอบว่า "ถ้าอย่างนั้น วังหน้าก็เอาอายุของปู่สักร้อยพระองค์มาบวกกันก็ยังไม่ได้เท่าอายุของหลวง พ่อ"


    ด้วยเหตุนี้ สมเด็จวังหน้าจึงไม่สามารถจะทราบได้ว่าพระอาจารย์ของพระองค์ชื่ออะไร พระองค์จึงทรงดำริจะตั้งชื่อพระอาจารย์ลึกลับมหัศจรรย์รูปนั้นขึ้นมาเอง พระองค์ทรงใคร่ครวญหาชื่อ เพื่อจะตึ้งให้เหมาะกับพฤติกรรมของพระอาจารย์รูปนี้

    ในที่สุดก็ ตัดสินพระทัยขออนุญาตเรียกชื่อ พระอาจารย์รูปนั้นว่า "เทพโลกอุดร " เพราะพระองค์ทรงเห็นว่า พระองค์ไปไหนมาไหนรวดเร็ว ดังปรารถนาเหมือนเทพเจ้า และทรงฤทธิอภิญญาเหนือโลก อาจารย์พระธุดงค์ก็ไม่ว่าอะไร ได้แต่ยิ้มๆ



ที่มา http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=5174.0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bighead.co.th/,http://www.buddhapoem.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: หลวงปู่เทพโลกอุดร ทำไมต้องชื่อ "เทพโลกอุดร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 08, 2012, 03:52:15 pm »
0
 :25: :25: :25: อนุโมทามิ  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ