ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากได้สมาธิ "แบบไม่มีความเนิ่นช้า" ต้องใช้ "วสี ๕"  (อ่าน 4184 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

     [๒๒๕] คำว่า วสี ความว่า วสี ๕ ประการ คือ
              อาวัชชนาวสี๑
              สมาปัชชนาวสี ๑
              อธิษฐานวสี ๑
              วุฏฐานวสี ๑
              ปัจจเวกขณวสี ๑ ฯ


        สมาปัตติลาภีบุคคล คำนึงถึงปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
        ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อาวัชชนาวสี


       สมาปัตติลาภีบุคคล เข้าปฐมฌานได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนา
       ไม่มีความเนิ่นช้าในการเข้า เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สมาปัชชนาวสี


       สมาปัตติลาภีบุคคล อธิษฐานปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
       ไม่มีความเนิ่นช้าในการอธิษฐาน เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อธิษฐานวสี


       สมาปัตติลาภีบุคคล ออกปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
        ไม่มีความเนิ่นช้าในการออก เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า วุฏฐานวสี


       สมาปัตติลาภีบุคคล พิจารณาปฐมฌานได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา
       ไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปัจจเวกขณวสี



        สมาปัตติลาภีบุคคล คำนึงถึงทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่และขณะตามที่ปรารถนา ไม่มีความเนิ่นช้าในการคำนึงถึง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า อาวัชชนาวสี
        .............ฯลฯ.............

        สมาปัตติลาภีบุคคล เข้า ฯลฯ อธิษฐาน ออก พิจารณา เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติได้ ณ สถานที่ และขณะตามที่ปรารถนาไม่มีความเนิ่นช้าในการพิจารณา เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ปัจจเวกขณวสี

       

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  บรรทัดที่ ๒๔๓๑ - ๒๕๐๒.  หน้าที่  ๙๙ - ๑๐๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=2431&Z=2502&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=217
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/,http://www.somdechsuk.org/


    วสี ความชำนาญ มี ๕ อย่าง คือ

       ๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว ในการนึก ตรวจองค์ฌานที่ตนได้ออกมาแล้ว

      ๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว ในการที่เข้าฌานได้รวดเร็วทันที

       ๓. อธิฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว ในการที่จะรักษาไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์

       ๔. วุฏฐานวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว ในการจะออกจากฌานเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ

       ๕. ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญคล่องแคล่ว ในการพิจารณาทบทวนองค์ฌาน



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


     หลายท่านอาจตั้งคำถามว่า แล้ววิธีฝึกให้ได้ "วสีทั้งห้าประการ" ต้องทำอย่างไร
    เรื่องนี้ต้องร่ายกันยาว..ขอรับ ใครมีวิชชาดีก็แบ่งปันกันหน่อย อย่าได้เขินอาย
    ส่วนผมต้องขอเวลาสักระยะ นึกได้เมื่อไหร่จะมาคุยต่อ

     :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 11:23:05 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ