ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ ประกอบเพลงดนตรีประกอบ กับ ไม่มีเพลงดนตรีประกอบ อันไหนได้บุญมากกว่าคะ  (อ่าน 4242 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ ประกอบเพลงดนตรีประกอบ กับ ไม่มีเพลงดนตรีประกอบ อันไหนได้บุญมากกว่าคะ

บางครั้งก็มาคิดว่า ในศีล 8 ระบุว่า ห้ามร้องรำ ขับเพลง บรรเลงดนตรีคะ

 แต่เห็นมีเพลงดนตรีประกอบสวดมนต์ อย่างนี้ ไม่ทราบว่าทำอย่างนั้นเป็นบุญหรือไม่คะ

 หรือ สวดธรรมดา เป็นบุญมากกว่าคะ

   มีพระสูตร ชี้แจงเรื่องนี้หรือไม่คะ ขอบคุณ คะ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะผิดศีล นะคะ แต่ ส่วนตัวก็ชอบเพลงสวดมนต์ คะ เช่น เพลง ชินบัญชร คะ
  :s_hi: :58: :58:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เท่าที่ทราบมานะครับ (อ่านเจอในพระไตรปิฏก) พระพุทธองค์ ไม่ให้ขับเสียงยาว แต่อนุญาิติ ให้เป็นสรภัญญะ แล้วผมก็ไปเจอ เอะ! ที่ไหนแล้วน้า+ :smiley_confused1: เห็นบอกว่าสรภัญญะมี๒๕ เท่าทีรู้ก็ประมาณนี้นะครับ   แต่ที่ผมสังเกตุเห็นเองนะครับ ไม่ว่าอะไรๆ ถ้าเราใช้เราเห็นมีประโยชน์ก็เอามาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้นะครับ ประสพการณ์จากการศึกษาจากพุทธองค์ ก็คือ การพิจรณาโดยแยบคาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความหลุดพ้น
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

  เวลาพูดถึงการสวดมนต์ ให้เป็นบุญ ควรต้องแบ่งระดับ การสวดมนต์ด้วย

    1.ในระดับเบื้องต้น คนทั่วไป ก็มีการสวด ขับกล่อม ใช้เครื่องดนตรี ประกอบ มีจังหวะ ท่วงทำนอง อันนี้เหมาะสม สำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อสร้างสมอุปนิสัยในทางธรรม

    2.ในระดับกลาง ไม่ควรใช้เครื่องขับกล่อม และเครื่องประโคมดนตรี อันเป็นข้าศึกกับกุศล คงใช้เสียงประกอบเป็นจังหวะ เสียงเดียว เสียงกระทบ เช่นกระดิ่ง ระฆัง ไม้เคาะ

    3.ในระดับสูง ไม่ควรใช้เลย เพราะเมื่อใช้ประกอบการสวด ย่อมประกอบด้วยตัณหา เป็นข้าศึกต่อ จิตที่มุ่งตรงต่อพระนิพพาน ทำให้จิตตกข้างฝ่าย กุศล ปรุงแต่งตาม

     ที่นี้การสวด ดูความจำเป็น ในทางภาวนาใช้การสวดเป็นการบริกรรม ไม่ใช่สักแต่ว่าสวด


     การสวดภาวนามีอยู่ สองแบบ


       1.สวดใช้ คือ บริกรรมด้วยความเร็วที่เหมาะสม เช่นการสวดไปเรื่อย ๆ เป็นต้น

       2.สวดฝึก คือ การภาวนา ประสานจิตให้เป็นสมาธิ กับคำบริกรรม มีการปรสานจิต กับฐานจิต

       ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจในส่วนนี้ด้วย


     การสวดมนต์เป็นบุญอยู่แล้ว แต่ต้องดู สภาวะเพศด้วย ถ้าเป็นฆราวาส จะสวดแบบร้องเพลงก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นพระสงฆ์สามเณรแล้ว ต้องพึงระวังการ เจื้อยแจ้วเสียงด้วย เท่าที่พบกับพระที่สวดด้วยเสียงเื้อื้อน เสียงแหล่ หลายรูป ทั้งระดับประเทศ จังหวัด วัด เท่าที่พบยังติดในเสียงทั้งหมด ไม่ได้ติดในธรรม มีการภาวนาอยู่ในขั้นเทวดาเป็นส่วนใหญ่ อันนี้สำหรับที่อาตมา ได้พบ ดังนั้นส่วนตัวไม่นิยมให้ลูกศิษย์ที่เป็นพระภิกษุ สามเณรสวดเอื่้่อนเสียง ถึงแม้จะดูว่าเป็นการสืบสานประเพณี ก็ขอให้ พระภิกษุึสามเณร รูปอื่น ที่ไม่ใช่ศิษย์ทำก้แล้วกัน


  เจริญพร / เจริญธรรม

    ;)

 
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
สวดมนต์ ประกอบเพลงดนตรีประกอบ กับ ไม่มีเพลงดนตรีประกอบ อันไหนได้บุญมากกว่าคะ

บางครั้งก็มาคิดว่า ในศีล 8 ระบุว่า ห้ามร้องรำ ขับเพลง บรรเลงดนตรีคะ

 แต่เห็นมีเพลงดนตรีประกอบสวดมนต์ อย่างนี้ ไม่ทราบว่าทำอย่างนั้นเป็นบุญหรือไม่คะ

 หรือ สวดธรรมดา เป็นบุญมากกว่าคะ

   มีพระสูตร ชี้แจงเรื่องนี้หรือไม่คะ ขอบคุณ คะ

  :c017: :25:


    เอาล่ะครับ พอมีข้อมูลที่จะเป็นคำตอบได้ ก่อนอื่นต้องกำหนดความหมายคำว่า "สวดมนต์ั" กันก่อน
    เบื้องต้นขอให้ไปอ่านกระทู้นี้

    สวดมนต์ คือ อะไร โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3721.msg25364;topicseen#new

    จุดประสงค์เดิมของการสวดมนต์
    เพื่อรักษาพุทธวจนะเอาไว้ ในสมัยพุทธกาล นิยมใช้วิธีท่องจำแล้วนำมาสาธยายพร้อมกัน การสาธยายพุทธวจนะด้วยวิธีการสวดนั้น ทำให้รู้ว่า การทรงจำของภิกษุหมู่นั้น จำได้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
    โดยเมื่อสวดพร้อมกัน หากจำนวนคำไม่เท่ากัน(จำมาไม่เหมือนกัน) การสวดก็จะไม่พร้อมเพรียงกัน
นั่นหมายถึง ต้องมีใครที่จำมาผิด
    วิธีสวดพร้อมกัน จึงเป็นวิธีตรวจสอบและตรวจทานพุทธวจนะ เพื่อรักษาพุทธวจนะให้คงอยู่สืบไป


    ภาษาที่ใช้ในการสวด
    พระพุทธเจ้าตรัสสอนเป็นภาษาบาลีทั้งหมด หากถามว่า สวดเป็นภาษาอื่นได้หรือไม่ เรื่องนี้ในพระไตรปิฏกมีคำตอบครับ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒

         [๑๘๐] สมัยนั้น ภิกษุสองรูปเป็นพี่น้องกัน ชื่อเมฏฐะและโกกุฏฐะ เป็นชาติพราหมณ์ พูดจาอ่อนหวาน เสียงไพเราะ เธอสองรูปนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

         แล้วกราบทูลว่า
         พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ ภิกษุทั้งหลายต่างชื่อ ต่างโคตร ต่างชาติ ต่างสกุลกันเข้ามาบวช พวกเธอจะทำพระพุทธวจนะให้ผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต

         พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
         ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะขอยกพระพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤตดังนี้เล่า
         ดูกรโมฆะบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงยกพุทธวจนะขึ้นโดยภาษาสันสกฤต รูปใดยกขึ้น ต้องอาบัติทุกกฏ
        เราอนุญาตให้เล่าเรียนพุทธวจนะตามภาษาเดิม ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๓๑๕ - ๑๓๒๗. หน้าที่ ๕๔ - ๕๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=1315&Z=1327&pagebreak=0   



       จากพระวินัยปิฎกจะเห็นว่า พระพุทธองค์กำหนดให้ใช้ภาษาเดิมในการเล่าเรียน คือ ภาษาบาลีนั่นเอง
       ดังนั้น หากใครสวดเป็นภาษาอื่น เป็นอาบัติ ส่วนตัวคิดว่า แม้แต่สวดแปลเป็นภาษาไทย ก็อาจเป็นอาบัติได้เช่นกัน เพราะพระองค์ระบุไว้ให้ใช้ภาษาเดิม


       สวดมนต์เป็นทำนองได้หรือไม่
       สวดมนต์โดยใช้ทำนองสรภัญญะมีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว ในพระวินัยปิฎก มีคำตอบครับ




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
เรื่องพระโสณกุฏิกัณณะ  ถวายเทศน์ในพระวิหาร


      [๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในที่แจ้งจนดึก จึงเสด็จเข้าพระวิหาร แม้ท่านพระโสณะก็ยับยั้งอยู่ในที่แจ้งจนดึกจึงเข้าพระวิหาร
       ครั้นเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี พระผู้มีพระภาคทรงตื่นพระบรรทมแล้ว ทรงอัชเฌสนาท่านพระโสณะว่า
       ดูกรภิกษุ เธอจงกล่าวธรรมตามถนัด
       ท่านพระโสณะกราบทูลสนองพระพุทธบัญชาว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

       
      แล้วได้สวดพระสูตรทั้งหลาย อันมีอยู่ในอัฏฐกวรรค จนหมดสิ้นโดยสรภัญญะ
      ครั้นจบสรภัญญะของท่านพระโสณะ

      พระผู้มีพระภาคทรงพระปราโมทย์ โปรดประทานสาธุการว่า
      ดีละ ดีละ ภิกษุ สูตรทั้งหลายที่มีในอัฏฐกวรรคเธอเรียนมาดีแล้ว ทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงจำได้แม่นยำดี เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจาไพเราะเพราะพริ้ง ไม่มีโทษ ให้เข้าใจรู้ความได้แจ่มชัด เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ?

             
      ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามีพรรษาเดียว พระพุทธเจ้าข้า
             ภ. เพราะเหตุไร เธอจึงมัวประพฤติชักช้าเช่นนั้นเล่า ภิกษุ?
             โส. ข้าพระพุทธเจ้าเห็นโทษในกามทั้งหลายนานแล้ว แต่เพราะฆราวาสคับแคบ มีกิจ
มาก มีกรณียมาก จึงได้ประพฤติชักช้าอยู่ พระพุทธเจ้าข้า.


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๕  บรรทัดที่ ๕๔๕ - ๖๓๗.  หน้าที่  ๒๓ - ๒๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=5&A=545&Z=637&pagebreak=0


        สรภัญญะ ทำนองสวดคำฉันท์

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


        เป็นอันว่า สวดทำนองสรภัญญะทำได้ครับ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้าม


      สวดมนต์มีดนตรีได้หรือไม่
      บรรพชิตไม่ได้แน่นอน ขนาดศีลแปดยังห้ามฟังห้ามเล่น แต่ปุถุชนถือแค่ศีลห้า ใครชอบอย่างไรก็ตามอัธยาศัย ถ้าจะให้แนะนำ หากต้องการสมาธิ ไม่ควรมีเสียงร้อง หากเอาตัวผมเป็นบรรทัดฐาน เพลงบรรเลงที่เป็นทำนองเร็ว หรือกระชากๆ ไม่ช่วยสร้างสมาธิครับ

      แต่ถ้าใช้เพลงบรรเลงในการสร้างสมาธิไปนานๆ จะติดครับ เป็นนิวรณ์ตัวหนึ่ง คือ กามฉันทะ เป็นการหลงในเสียง(กามฉันทะ คือ หลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์)
      ดังนั้น การจะได้มาซึ่งสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เพื่อทำให้ถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์แล้ว ไม่ควรใช้เสียงใดๆมาช่วย  แต่ในเบื้องต้นเสียงก็เป็นกุศโลบายหนึ่ง ที่ใช้เป็นเครื่องมือดึงจิตให้สงบได้


      การสวดมนต์แบบมีดนตรีกับไม่มีดนตรี อย่างไหนได้บุญมากกว่า
      เรื่องนี้ตอบไม่ได้ครับ ผมถือว่า เป็นอจินไตย เพราะสภาวะของจิตในขณะนั้น เป็นกรรมฐานหรือไม่อย่างไร
หากเป็นกรรมฐานก็ต้องแยกแยะให้ได้ว่า เป็นวิปัสสนา หรือ สมถะ(ได้บุญไม่เท่ากัน)
      หากจะบอกว่า ไม่มีดนตรีได้บุญมากกว่า เพราะไม่สร้างนิวรณ์ อันนี้ก็เกินวิสัยที่จะทราบได้
      เพราะอาจมีบางท่านพักเสียงดนตรีแล้ว สามารถบรรลุฌานได้ ใครละจะไปรู้ได้


      เอาล่ะครับ ผมเริ่มอึดอัด คิดอะไรไม่ออก นิวรณ์เข้าแทรก ขออคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

       :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ