ท่านผู้รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ได้แต่งเรื่องสาธกให้เห็นเป็นปุคคลธิษฐานประกอบเข้า
ทรงทดลองดูแล้วก็ทรง ประจักษ์ความจริง ความจริงที่ว่านี้ กวีท่านแต่งเป็นปุคคลาธิษฐาน
คือ พระอินทร์ถือพิณสามสายมาทรงดีดให้ฟัง สายพิณที่หนึ่งลวดขึงตึงเกินไปเลยขาด สายที่สองหย่อน
เกินไปดีดไม่ดัง สายที่สามไม่หย่อนไม่ตึงนัก ดีดดัง
ถ้าอย่างนั้น พระอินทร์ พระพรหม นั้น ไม่มีจริงใช่ หรือป่าวครับ
รวมถึง เรื่องราวที่เกิดขึ้น ในพระพุทธประวัติ นี้ก็ไม่มีจริงใช่ไหมครับ
อย่างเช่น ตอนที่พระพุทธเจ้า เปิดโลก , โปรดพุทธมารดา ,ลอยถาด ,ปราบชฏิลด้วยฤทธิ์แสดง ยมกปาฏิหาริย์
รุกขเทวดาเข้าเฝ้า แสดงธรรมโปรดเทวดา ในทุกวัน
ที่จิรงผมเอง ก็เป็นศิษย์สวนโมก ฯ อ่านพุทธประวัติจากพระโอษฏ์ ของหลวงพ่อพุทธทาส และก็มีความเห็นว่า
เทวดา นรก ไม่มีจริง เป็นแต่ บุคคลาธิษฐาน เป็น กลบท ในวิธีการสอนของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ผมมีความคิดว่า โลกหน้าไม่มีจริง มีแต่โลกนี้ต้องทำให้ดีที่สุด เพราะพิจารณาด้วยปัญญาของผมเองแล้ว
ไม่มีความเป็นไปได้ ที่มีเรื่องเหลือเชื่อ บรรดาเทวดา และ เทวฑูต ทั้งหลาย ล้วนแล้วแต่เป็น กลอุบายในการสอน ของพระสงฆ์ และ พระพุทธเจ้า เพื่อน้อมให้ศรัทธา
จนกระทั่ง วันหนึ่งนั้นผมได้ฟังการบรรยายธรรม บนศาลาปฏิบัติธรรม และ ถามตอบ ปัญหา กับพระอาจารย์
จึงได้ทราบ และ คิดได้ว่า เราเข้าใจผิด
ถึงแม้ผมจะยังไม่ได้ ขึ้นกรรมฐาน แต่วันนั้น ผมได้ปฏิบัติกรรมฐาน เป็นครั้งแรกในชีิวิต ที่ผมนั่งกรรมฐาน ได้ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง กับคณะบนศาลาได้ ทั้งที่ตอนแรก ไม่มั่นใจเลย ว่าจะทำ
หลังจากได้สนทนากับ พระอาจารย์ จึงรู้่ได้ว่า
ถ้าเราเชื่อมั่น ในพระพุทธองค์ ก็ต้องเชื่อมั่นในการตรัสรู้ ของพระพุทธองค์
การเชื่อมั่น ( ศรัทธา ) ต้องเชื่อใน โลกหน้า และ โลกหลัง ปุพเพนิวาสนุสสติญาณ
และเชื่อเรื่อง กรรม คือ มุญจิตุกัมยตาญาณ
และเชื่อในธรรม คือ อาสวักขยญาณ


ข้อความในพระไตรปิฏก ช่วงที่พระองค์ได้ละจากการบำเพ็ญ ทุกกรกิริยา ไม่มีการกล่าวถึงพระอินทร์
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - หน้าที่ 321
[๔๒๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารให้น้อยลงๆ
เพียงซองมือหนึ่งๆ บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วดำ
บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดบัวบ้าง. เราก็กินอาหารให้น้อยลงๆ ดังนั้นจนมีร่างกายซูบผอมยิ่งนัก เพราะเป็น
ผู้มีอาหารน้อยนั้น เหลือแต่อวัยวะใหญ่น้อย เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ
เนื้อตะโพกก็ลีบเหมือนกีบอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนาม เหมือนเถาวัลย์ [หนามรอบข้อ]
ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่าที่สะพรั่งอยู่ ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้า
ตาเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ หนังศีรษะบนศีรษะก็เหี่ยวหดหู่ เหมือนลูกน้ำเต้า
ที่เขาตัดมายังดิบ ต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวไป. เรานึกว่าจะลูบพื้นท้องก็จับถึงกระดูกสันหลัง
เมื่อนึกว่า จะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถึงพื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราติดแนบถึงกระดูกสันหลัง
เมื่อนึกว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนแซล้มลง ณ ที่นั้น. เมื่อจะให้กายสบายบ้าง เอา
ฝ่ามือลูบตัวเข้า ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกายเพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย. มนุษย์ทั้งหลาย
เห็นเราเข้าแล้วก็กล่าวว่า พระสมณโคดมดำไป บางพวกก็พูดว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่
คล้ำไป บางพวกก็พูดว่า ไม่ดำ ไม่คล้ำ เป็นแต่พร้อยไป. เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์เปล่งปลั่ง
แต่เสียผิวไป ก็เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น.
[๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ
ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียรเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป.
แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ
ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย
ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว
สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก
อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น
พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ
ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา
ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.
[๔๒๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริต่อไปว่า ความสุขนั้น เราผู้มีกายถึงความซูบ
ผอมมาก ไม่ทำได้ง่ายเพื่อจะบรรลุ ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารหยาบ คือข้าวสุกและกุมมาสเถิด.
เราก็กินอาหารหยาบคือข้าวสุกและกุมมาส. ครั้งนั้น ภิกษุทั้ง ๕ ที่เฝ้าบำรุงเราด้วยหวังว่า
พระสมณะโคดมบรรลุธรรมใด จักบอกธรรมนั้นแก่เราทั้งหลาย. เมื่อใด เรากินอาหารหยาบ
คือข้าวสุกและ กุมมาส เมื่อนั้นภิกษุทั้ง ๕ นั้นก็ระอาหลีกไปด้วยเข้าใจว่า พระสมณโคดมมักมาก
คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากเสียแล้ว.
[๔๒๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรากินอาหารหยาบให้กายมีกำลังแล้ว สงัดจากกาม สงัดจาก
อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้สุขเวทนาที่
เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. เราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต
ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิด
แต่สมาธิอยู่. เรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข. เราบรรลุ
จตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส และโทมนัสในก่อน
เสียได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิต
เราตั้งอยู่ได้. เราเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควร
แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ก็โน้มน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เราย่อม
ระลึกชาติที่เคยอยู่อาศัยในก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ระลึก
ชาติที่เคยอยู่อาศัยได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ
ในปฐมยามแห่งราตรี เราได้บรรลุวิชชาที่ ๑ อันนี้ เมื่อเราไม่ประมาท มีความเพียร ส่งจิตไปอยู่
อวิชชาเรากำจัดเสียแล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดเรากำจัดเสียแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว.
แม้สุขเวทนาที่เกิดขึ้นแล้วเห็นปานนี้ ก็มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 11
อนัจฉริยคาถา
บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว
โดยยาก เพราะธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะ
ครอบงำแล้วไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อันราคะย้อมแล้ว
ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียด
ลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์
ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแสคือนิพพาน.
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาเห็นอยู่ ดังนี้ พระทัยก็น้อมไปเพื่อความขวนขวายน้อย
ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
พรหมยาจนกถา
[๘] ครั้งนั้น
ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระปริวิตกแห่งจิตของพระผู้มีพระภาคด้วยใจ
ของตนแล้วเกิดความปริวิตกว่า ชาวเราผู้เจริญ โลกจักฉิบหายหนอ โลกจักวินาศหนอ เพราะ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงน้อมพระทัยไปเพื่อความขวนขวายน้อย ไม่ทรงน้อม
พระทัยไปเพื่อทรงแสดงธรรม.
ลำดับนั้น
ท้าวสหัมบดีพรหมได้หายไปในพรหมโลก มาปรากฏ ณ เบื้องพระพักตร์
ของพระผู้มีพระภาค ดุจบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ครั้นแล้วห่มผ้า
อุตราสงค์เฉวียงบ่า คุกชาณุมณฑลเบื้องขวาลงบนแผ่นดิน ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค
แล้วได้ทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดทรงแสดงธรรม
ขอพระสุคตได้โปรดทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ทั้งหลายจำพวกที่มีธุลีในจักษุน้อยมีอยู่ เพราะ
ไม่ได้ฟังธรรมย่อมเสื่อม ผู้รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.
ท้าวสหัมบดีพรหมได้กราบทูลดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเป็นประพันธคาถาต่อไปว่า
เมื่อก่อนธรรมไม่บริสุทธิ์อันคนมีมลทินทั้งหลาย
คิดแล้วได้ปรากฏในมคธชนบท ขอพระองค์ได้
โปรดทรงเปิดประตูแห่งอมตธรรมนี้ ขอสัตว์ทั้ง
หลายจงฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมด
มลทินตรัสรู้แล้วตามลำดับ เปรียบเหมือนบุรุษ
มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขา ซึ่งล้วนแล้วด้วยศิลา
พึงเห็นชุมชนได้โดยรอบฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มี
ปัญญาดี มีพระปัญญาจักษุรอบคอบ ขอพระองค์
ผู้ปราศจากความโศกจงเสด็จขึ้นสู่ปราสาท อัน
สำเร็จด้วยธรรม แล้วทรงพิจารณาชุมชน ผู้
เกลื่อนกล่นด้วยความโศก ผู้อันชาติและชรา
ครอบงำแล้ว มีอุปมัยฉันนั้นเถิด ข้าแต่
พระองค์ผู้มีความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่
หาหนี้มิได้ ขอพระองค์จงทรงอุตสาหะเที่ยวไป
ในโลกเถิด ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรม
เพราะสัตว์รู้ทั่วถึงธรรมจักมี.
ทรงพิจารณาสัตวโลกเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า
[๙] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงกราบคำทูลอาราธนาของพรหม และทรงอาศัย
ความกรุณาในหมู่สัตว์ จึงทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ เมื่อตรวจดูสัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ
ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อยก็มี ที่มีธุลีคือกิเลสในจักษุมากก็มี ที่มีอินทรีย์
แก่กล้าก็มี ที่มีอินทรีย์อ่อนก็มี ที่มีอาการดีก็มี ที่มีอาการทรามก็มี ที่จะสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี
ที่จะสอนให้รู้ได้ยากก็มี ที่มีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ก็มี.
มีอุปมาเหมือนดอกอุบลในกออุบล ดอกปทุมในกอปทุม หรือดอกบุณฑริกในกอบุณฑริก
ที่เกิดแล้วในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ งอกงามแล้วในน้ำ บางเหล่ายังจมในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้
บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งอยู่พ้นน้ำ อันน้ำไม่ติดแล้ว.
พระผู้มีพระภาคทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลาย บางพวก
มีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมีอาการดี บางพวกมีอาการทราม บางพวกสอนให้รู้ได้ง่าย
บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวกมีปกติเห็นปรโลกและโทษโดยความเป็นภัยอยู่ ฉันนั้น
เหมือนกัน ครั้นแล้วได้ตรัสคาถาตอบท้าวสหัมบดีพรหมว่า ดังนี้:-
เราเปิดประตูอมตะแก่ท่านแล้ว สัตว์เหล่าใดจะฟัง
จงปล่อยศรัทธามาเถิด ดูกรพรหม เพราะเรา
มีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่แสดงธรรม
ที่เราคล่องแคล่ว ประณีต ในหมู่มนุษย์.
ครั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาสเพื่อจะแสดงธรรม
แล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณแล้ว อันตรธานไปในที่นั้นแล.
พรหมยาจนกถา จบ
ส่วนตอนที่ พรหม อาราธนา มีชื่อของพรหม ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจน ผมว่าช่วงนี้ไม่ใช่ บุคคลาธิษฐาน
มีมูลเหตุ พระดำรัสตรัสเรื่อง ประสูติ ก็มีกล่าวถึง สวรรค์ชั้นดุสิต พรหมอาราธนา ปรากฏข้อความใน
เรื่อง มหาปัญจวิโลกนะ
มูลเหตุ ผมต้องการชี้แจงว่า พระไตรปิฏก ตรงไป ตรงมา ถ้าเป็นบุคลาธิษฐาน ถ้าเป็น ธรรมธิษฐาน
เพราะผ่านการกลั่นกรอง มาจากพระอรหันต์ ที่มีจำนวนมากว่า 1000 รูป ในการทำสังคายนา
มิใช่ปฎิรูป เพียงรูปเดียว โพสต์ฺไว้เพื่อไม่ให้เขว แบบผมอีก
ดังนั้นผมขอร่วมตอบด้วยครับว่า
กา่รปฎิบัติธรรม สู่สายกลาง ไม่ได้เกิดจากพระอินทร์ ครับ
แต่การแสดงธรรม โปรดเวไนยนั้น มีพรหมชื่อว่า สหัมบดี เป็น ผู้อาราธนา ส่วนหนึ่ง
ในส่วน น้ำพระทัยของพระพุทธเจ้า ปรารภไว้ตั้งแต่ตอนแรกก่อน พรหมอาราธนาแล้ว ด้วยพุทธบารมีนั้น
ย่อมพิจารณาการโปรด สัพพะสัตว์ ผู้มีความพร้อมอยู่แล้ว
คุณ nathaponson และ พระอาจารย์ ได้โพสต์ตอบ เรื่องความสงสัยให้ผม
อ่านแล้ว ประทับใจมาก ครับ