ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไปดาวดึงษ์..ด้วยการกราบพระรัตนตรัย ทำอย่างไร..??  (อ่าน 4645 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

วัฒนธรรมของการกราบไหว้
    ในบรรดาวัฒนธรรมที่พบปะกันทั้งหลาย การยกมือขึ้นพนมไว้ที่อกนั้นเป็นสัญญลักษณ์ที่ทำกันอยู๋หลายชาติในหมู่ชาวพุทธรวมทั้งชาวอินเดีย แต่ดิฉันต้องยอมรับว่าคนไทยเราสามารถทำอาการไหว้ได้สวยงามกว่าชาติ อื่น ๆ ที่ทำกัน การไหว้ที่ถูกต้องนั้น ควรจะต้องทำด้วยอาการที่เนิบนาบ เชื่องช้า ไม่รีบร้อน

     หากเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่ก็ต้องมีการก้มศรีษะลงตามลำดับของความอาวุโส หากทำได้อย่างถูกต้องเช่นนี้แล้ว การกระทำนั้นจะได้รับคุณค่าที่ซ่อนเร้นอยู่อันเนื่องกับการเดินทางเพื่อให้ถึงเป้าหมายชีวิตคือ การทำลายมานะทิฏฐิของตนเอง สิ่งนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก คนที่มีความหยิ่งยโสนั้น ไม่สามารถจะก้มหัวให้ใครได้ง่าย ๆ

     ฉะนั้น การก้มหัวให้คนทุกครั้งที่มีการพบปะกันถึงแม้จะไม่ใช่เป็นการปฏิบัติธรรมโดยตรง แต่เป็นการทำโดยอ้อม ก้มหัวไปบ่อย ๆ จิตใจก็จะอ่อนโยนซึ่งเป็นองค์คุณที่สำคัญต่อการเข้าถึงธรรม
     ชาวญี่ปุ่นก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่ต้อนรับกันโดยการต้องก้มหัวให้แก่กันซึ่งแฝงเร้นคุณค่าแห่งการทำลายตัวตนเช่นกัน เด็ก ๆ สมัยใหม่ มักจะไหว้ผู้ใหญ่ด้วยความเร่งรีบ ไม่ก้มหัว และแบบขอไปที ซึ่งทำให้องค์คุณที่ควรจะมีด้อยลงไปมากจนอาจจะไม่เหลืออะไรเลย


     เมื่อเปรียบเทียบกับการพบปะด้วยการจับมือกันซึ่งเป็นวัฒนธรรมสากลที่คนทำกันมากกว่าครึ่งโลกนั้น จะมีคุณค่าน้อยกว่ามาก การสัมผัสมือกันสามารถแสดงออกถึงความจริงใจและไมตรีจิต ในขณะที่การกอดกันหรือจูบกันเมื่อพบปะนั้นแสดงออกถึงความอบอุ่นที่ฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง แต่จะไม่มีคุณค่าของการทำลายมานะทิฏฐิซ่อนอยู่ คือ ไม่สามารถเอาความรู้สึกแห่งความมีตัวตนออกจากจิตใจ เหมือนอย่างการไหว้ด้วยท่าทางมุทรา[2]



    การไหว้เมื่อพบปะกันนั้นเป็นวัฒนธรรมของชาวพุทธโดยตรง เพราะเป็นการกระทำที่แปรรูปมาจากการกราบพระพุทธรูป และกราบพระอันเป็นวัฒนธรรมสติปัฏฐานโดยตรง การกราบไหว้พระพุทธรูปด้วยท่าเบญจางคประดิษฐ์แบบไทยหรือแบบธิเบตนั้น เป็นองค์คุณที่สำคัญมาก

     แน่นอน การกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นผลสืบเนื่องมาจากครั้งพุทธกาล เพราะการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่เคยเกิดแก่มนุษยชาติมาก่อนแลย จึงเป็นประโยชน์ต่อคนหมู่มากอย่างใหญ่หลวง อันเป็นผลให้พุทธสาวกก้มลงกราบพระพุทธองค์ด้วยความหมดสงสัยในตัวท่าน

     เป็นการแสดงออกถึงการยอมให้ท่านเป็นผู้นำทางจิตวิญญานเพื่อท่านจะได้นำเราไปสู่เป้าหมายอันสูงสุดของชีวิตที่ท่านได้ค้นพบแล้ว ความหมดสงสัยในตัวพระพุทธเจ้า และการยอมให้ท่านนำชีวิตนี่แหละคือ องค์คุณที่ซ่อนเร้นอยู่ในการกราบพระพุทธรูปทุกครั้ง

     ผู้ที่สามารถกราบพระพุทธรูปได้อย่างงดงามด้วยท่าทางมุทรา และกราบไหว้บุคคลที่ควรกราบไหว้นั้น ชาวพุทธเราถือว่าเป็นมงคลอันสูงส่ง เพราะเป็นการค่อย ๆ สะสมองค์คุณที่สำคัญอันจะเกื้อกูลให้บุคคลนั้นเห็นธรรมได้ง่ายขึ้นในกาลข้างหน้า




จัณฑาลี
    ในพระสุตตนตปิฏก ขุทฑกนิกาย วิมานวัตถุ ได้บันทึกเรื่องราวของหญิงชราคนหนึ่งชื่อ จัณฑาลี ผู้ได้ไปถึงสวรรค์เพราะการกราบไหว้ เรื่องมีอยู่ว่า [1]

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ. พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ครั้นใกล้รุ่งอรุณพระพุทธองค์ได้ทรงเล็งพระญานเห็นหญิงชราผู้หนึ่งชื่อว่า จัณฑาลี อยู่ในหมู่บ้านจันฑาละ กำลังจะสิ้นอายุขัยไปจุติในนรก จึงทรงดำริว่า “เราจะให้หญิงชรานี้ทำบุญเพื่อจะได้ไปจุติในสวรรค์”

    พอรุ่งเช้าพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากเสด็จเข้าไปบิณฑบาตรในกรุงราชคฤห์ ขณะนั้น ยายจันฑาลีเดินถือไม้เท้าออกมาสู่นอกเมือง พบพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์กำลังเสด็จดำเนินมา ยายจัณฑาลีจึงหยุดยืนอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์

    ลำดับนั้น พระโมคคัลลานะรู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเพื่อโปรดหญิงชราผู้นี้โดยเฉพาะ จึงกล่าวกับหญิงชราว่า
    “ดูก่อน ยายจัณฑาลี ท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศเถิด พระโคดมผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่ ประทับยืนเพื่ออนุเคราะห์ท่านคนเดียว ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่งในพระองค์ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้คงที่แล้ว จงรีบประคองอัญชลีถวายบังคมเถิด ชีวิตของท่านน้อยเต็มที”

    ยายจันฑาลีเมื่อรับฟังพระเถระกล่าวดังนี้แล้วเกิดสลดใจว่า ตนเองกำลังจะสิ้นอายุแล้ว นางจึงได้ก้มลงกราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พร้อมจิตใจที่เต็มไปด้วยปีติเลื่อมใสในพระพุทธองค์
   
    ส่วนพระพุทธองค์นั้นเมื่อเห็นยายจันฑาลีได้ทำเช่นนั้นแล้ว จึงเสด็จผ่านไป เพราะทรงเห็นว่าเท่านี้เป็นอันสมควรแล้วแก่หญิงชรา



    ขณะที่ยายจันฑาลีกำลังยืนอยู่ด้วยใจที่อิ่มเอิบผ่องใสในพระพุทธคุณนั่นเอง มีโคแม่ลูกอ่อนตัวหนึ่ง ได้วิ่งมาขวิดยายจันฑทลีถึงแก่ความตายทันทีแล้วไปจุติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร

    ครั้นไปจุติในสวรรค์แล้ว จัณฑทลีเทพธิดาได้ลงจากสวรรค์พร้อมทั้งวิมานมาหาพระโมคคัลลานะ แล้วลงจากวิมานเข้าไปกราบพระเถระแล้วกล่าวว่า
    “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ท่าน”
    พระเถระจึงถามว่า “ดูก่อนเทพธิดา ! ท่านเป็นใคร ทำบุญอะไรไว้ถึงได้มีอานุภาพมาก ?”
    จัณฑาลีเทพธิดาตอบพระเถระว่า
    “ข้าพเจ้าคือยายจัณฑาลี หญิงชราที่พระผู้เป็นเจ้าได้แนะนำให้กราบไหว้พระพุทธองค์ ครั้นข้าพเจ้าได้กราบไหว้พระพุทธองค์แล้วก็ตายจากกำเนิดคนจัณฑาล ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดีงส์มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร ข้าพเจ้ามาในเวลานี้ เพื่อประสงค์จะกราบไหว้ระลึกถึงพระคุณของพระผู้เป็นเจ้า”
    เมื่อได้กล่าวดังนี้แล้ว นางได้กราบลาพระเถระกลับคืนสู่สวรรค์ดังเดิม

    เช้าวันรุ่งขึ้นพระเถระจึงเข้าไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงยกขึ้นมาแสดงให้แก่สาธุชนทั้งหลายฟังว่า
    การกราบไหว้แสดงความเคารพผู้ที่ควรกราบไหว้ มีพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ตลอดถึงบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ผู้มีพระคุณ ผู้มีอุปการะคุณนั้น ย่อมให้ผลเป็นอัศจรรย์


    ดังได้ทรงพระคาถาไว้ว่า
    “คาระโว จะ นิวาโต จะ” การเคารพนบนอบเป็นมงคลอันสูงส่ง คือเป็นความเจริญอย่างสูง

    จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมที่มีการกราบไหว้นั้นจะได้เปรียบกว่าวัฒนธรรมที่ไม่มีการกราบไหว้อย่างลิบลับ นี่คือวัฒนธรรมสติปัฏฐานที่ควรต้องดูแลรักษาไว้ให้ดีโดยการสอนให้เยวชนทำอย่างถูกต้อง

_________________________________
[1] คัดจากนิตยสารธรรมะสว่างใจ ฉบับที่ ๒๘ / กรกฏาคม-กันยายน ๒๕๔๑ จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธอเนกประสงค์ วัดสังฆทาน
เรื่องจัณฑาลี อยู่ในเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  บรรทัดที่ ๖๑๘ - ๖๕๗.  หน้าที่  ๒๕ - ๒๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=26&A=618&Z=657&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=21

[2] ผู้ที่ฝึกสมาธิจนกลายเป็น นิสัย บุคคลเหล่านั้นจะมีท่าทางอากัปกิริยาเป็นมุทรา คือ เดินเหินเคลื่อนไหวด้วยอาการที่เชื่องช้า เนิบนาบ อ่อนนุ่ม มีสติ ในขณะเดียวกันจะหนักแน่น มั่นคง และมั่นใจ เพราะนี่เป็นอาการของคนมีสติสัมปชัญญะ




อ้างอิง
หนังสือ ใบไม้กำมือเดียว (ฉบับปรับปรุง) เขียนโดยศุภวรรณ พิพัฒพรรณวงศ์ กรีน
ขอบคุณภาพจาก http://i89.photobucket.com/,http://www.dmc.tv/,http://www.se-ed.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2012, 08:57:53 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ไปดาวดึงษ์..ด้วยการกราบพระรัตนตรัย ทำอย่างไร..??
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 08:38:03 am »
0


กราบแสนครั้ง จึงได้คารวะ
    กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ เดิน 3 ก้าว แล้วก้มลงกราบกับพื้นไหว้ทีหนึ่ง เป็นวิธีการของชาวธิเบตที่จะจารึกแสวงบุญ ที่นี่เทือกเขาหิมะขาว

    ชาวธิเบตใช้วิธีการนี้ในการแสวงบุญทำให้มีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเดินทาง โดยเท้าได้เหมือนคนทุกคน ทั้งขึ้นและลงรวมแล้ว 3,000 กว่ากิโลเมตร

     ชาวธิเบตเดินทางจากซินหนงเสี้ยนเป็นอำเภอของเมืองซินหนง กันซือเป็น เขตปกครองตัวเองของมณฑลเสฉวนที่อยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน ติดกับทิเบตกับมณฑลยูนาน รวมการไหว้จนมาถึงที่นี่ได้ทั้งหมด 100,000 ครั้งคนทิเบตมีพระองค์หนึ่งอยู่ในใจตลอดเวลา




การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์
    การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์เป็นท่ากราบแบบนอนราบไปทั้งตัวตาม แบบฉบับของชาวธิเบต โดยให้ส่วนสำคัญของร่างกายแปดส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก

    สัมผัสกับพื้นดินการกราบสักการะแบบอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ ชากเซล ในภาษาธิเบต มีความหมาย โดยคำว่า ชาก (chag) หมายถึง กายศักดิ์สิทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์ และจิตศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตต์ทั้งหลาย

    ส่วนคำว่า เซล (tsel) หมายถึง การที่เราอุทิศตนอย่างจริงจังและจริงใจที่จะก้าวตามรอยพระพุทธบาทบน หนทางอันถูกต้องมุ่งสู่การบรรลุเป็นพระโพธิสัตต์หรือพระพุทธเจ้า



    วิธีการกราบจะเริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง พนมมือ ที่ระดับหน้าอก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ภายในอุ้งมือเป็นรูปดอกบัว

   อันเป็นสัญลักษณ์มีความหมายถึงการฝึกฝนปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันบนวิถีของ เมตตาและปัญญา อุทิศตนมุ่งสู่การรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตทั้งมวล

    จากนั้นให้เคลื่อนมือไปยังตำแหน่งกลางกระหม่อม หน้าผาก ลำคอ และหน้าอก อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจักรที่สำคัญในร่างกาย จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมกับเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนลำตัวเหยียดตรงกับพื้น

    ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำตัวจะเหยียดออกไป จากนั้นเคลื่อนลำแขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำตัวตามแนวโค้งของวงกลมพร้อม กับค่อยๆ ชันตัวขึ้นบนเข่า ยืดตัวขึ้นกลับสู่ท่ายืนตรงนตอนเริ่มต้น



ที่มา http://www.mekongstory.com/thousand.php
ขอบคุณภาพจาก http://sphotos.ak.fbcdn.net/,http://www.mekongstory.com/,http://www.fringer.org/.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2012, 08:58:27 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ไปดาวดึงษ์..ด้วยการกราบพระรัตนตรัย ทำอย่างไร..??
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 20, 2012, 12:07:33 pm »
0
คนไทย กราบ เบญจาคประดิษฐ์ สอนเด็ก ๆ ยังขี้เกียจกราบ กัน

คนธิเบต กราบ 8 จังหวะ เขากราบไปตามถนน อย่างศรัทธา

 
 
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร