พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชาธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
สมถะ ๑
วิปัสสนา ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้วย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไ รย่อมละอวิชชาได้ ฯ
[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่า เจโตวิมุติ
เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่า ปัญญาวิมุติ ฯอ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๕๖๔ - ๑๖๑๖. หน้าที่ ๖๘ - ๗๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1564&Z=1616&pagebreak=0 ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=267ขอบคุณภาพจาก
http://www.phuttha.com/
วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ
เจโตวิมุตติ - ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ (แต่ถึงอย่างไรก็ตามต้องเกิดปัญญาวิมุตติ จึงจักทำให้เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อ) เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
ปัญญาวิมุต “ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา” หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยบำเพ็ญวิปัสสนาโดยมิได้อรูปสมาบัติมาก่อน
ปัญญาวิมุตติ - ความหลุดพ้นด้วยปัญญา,
ความหลุดพ้นที่บรรลุด้วยการกำจัดอวิชชาได้ ทำให้สำเร็จอรหัตตผล
และทำให้เจโตวิมุตติ เป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไปอ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ และฉบับประมวลธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน
อรหันต์ ๒ (ผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, ท่านผู้สมควรรับทักษิณาและการเคารพบูชาอย่างแท้จริง)
๑. สุกขวิปัสสก (ผู้เห็นแจ้งอย่างแห้งแล้ว คือ ท่านผู้มิได้ฌาน สำเร็จอรหัตด้วยเจริญแต่วิปัสสนาล้วน ๆ)
๒. สมถยานิก (ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหัต)
อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
๓. ฉฬภิญฺโญ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)
พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ
แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง ที่เป็น ๕ คือ
๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)
ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น
พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)
พระเตวิชชะ กับ พระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญาก็มี
ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้นประกอบความเพียรไว้เก่า และการบรรลุอรหัต
พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕
จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔ จึงรวมเป็น ๖๐
ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่ อ้างอิง วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก
http://www.palungdham.com/

ขอทำความเข้าใจเรื่อง เจโตวิมุต กับ ปัญญาวิมุต ให้กระจ่างยิ่งขึ้น
เจโตวิมุต เป็นการหลุดพ้นชั่วคราว ด้วยการสะกดเอาไว้ ด้วยกำลังของสมาธิ เรียกว่า "โลกิยวิมุตติ" ยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่ใช่อรหันต์
ปัญญาวิมุต เป็นการหลุดพ้นอย่างถาวร ตัดขาดโดยสิ้นเชิง เรียกว่า "โลกุตตรวิมุตติ" เป็นการบรรลุอรหันต์
คราวนี้มาทำความเข้าใจพระสูตรอีกครั้ง
"สารีบุตร เพราะบรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้
ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓
อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖
อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ
ส่วนที่ยังเหลือเป็นผู้ได้ปัญญาวิมุติ"
จากข้อความตามพระสูตรข้างต้น แบ่งเป็นอรหันต์ได้ ๔ ประเภท
๑. พระเตวิชชะ คือ ภิกษุ ๖๐ รูป เป็นผู้ได้วิชชา ๓
๒. พระฉฬภิญญะ คือ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อภิญญา ๖
๓. พระอุภโตภาควิมุต คือ อีก ๖๐ รูป เป็นผู้ได้อุภโตภาควิมุติ
๔. พระปัญญาวิมุต คือ ๕๐๐ - (๖๐+๖๐+๖๐) เท่ากับ ๓๒๐ รูป
หากวินิจฉัยตามคัมภีรวิสุทธิมรรค โดยแบ่งอรหันต์ ๒ ประเภทหลัก จะเป็นดังนี้
๑. พระปัญญาวิมุต มีจำนวน ๓๒๐ รูป (เจริญปัญญาอย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนบรรลุอรหันต์)
๒. พระอุภโตภาควิมุต ประกอบด้วย วิชชาสาม อภิญญาหก และอุภโตภาควิมุต(๖๐+๖๐+๖๐)
มีจำนวน ๑๘๐ รูป(เริ่มด้วยเจโตวิมุต และสำเร็จอรหันต์ด้วยปัญญาวิมุต)