ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระอนุรุทธ "ถือวัตรไม่นอน ๕๕ ปี"..แล้วท่านทำอะไรล่ะ.??  (อ่าน 6602 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28562
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

๙. อนุรุทธเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระอนุรุทธเถระ

      [๓๙๓]    พระอนุรุทธะละพระชนกชนนี พระประยูรญาติ ละเบญจกามคุณได้แล้ว เพ่งฌานอยู่ บุคคลผู้เพียบพร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้อง มีดนตรีบรรเลง ปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า ก็ไม่บรรลุถึงความบริสุทธิ์ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องนั้นได้ เพราะยังเป็นผู้ยินดีในกามคุณอันเป็นวิสัยแห่งมาร

     พระอนุรุทธะก้าวล่วงเบญจกามคุณนั้นเสียแล้ว ยินดีในพระพุทธศาสนา ก้าวล่วงโอฆะทั้งปวงแล้ว เพ่งฌานอยู่ พระอนุรุทธะได้ก้าวล่วงกามคุณเหล่านี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันน่ารื่นรมย์ใจแล้ว เพ่งฌานอยู่

    พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์ หาอาสวะมิได้ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง กลับจากบิณฑบาตแล้วเที่ยวแสวงหาผ้าบังสุกุลอยู่ พระอนุรุทธะเป็นนักปราชญ์มีปรีชา หาอาสวะมิได้ เที่ยวเลือกหาเอาแต่ผ้าบังสุกุล ครั้นได้มาแล้ว ก็มาซักย้อมเอาเองแล้วนุ่งห่ม

    บาปธรรมอันเศร้าหมอง เหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้มักมาก ไม่สันโดษ ระคนด้วยหมู่ มีจิตฟุ้งซ่าน



    อนึ่ง ภิกษุใดเป็นผู้มีสติ มักน้อย สันโดษ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีในวิเวก ชอบสงัด ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ กุศลธรรมซึ่งเป็นฝ่ายให้ตรัสรู้เหล่านี้ ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ก็ตรัสสรรเสริญภิกษุนั้นว่า เป็นผู้หมดอาสวะ

    พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว เสด็จมาหาเรา ด้วยมโนมยิทธิทางกาย เมื่อใด ความดำริได้มีแก่เรา เมื่อนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เสด็จเข้ามาหาเราด้วยพระฤทธิ์แล้วทรงแสดงธรรมอันยิ่งแก่เรา

    พระพุทธเจ้าผู้ทรงยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้าแก่เรา เรารู้ทั่วถึงพระธรรม
เทศนาของพระองค์แล้ว เป็นผู้ยินดีในพระศาสนา ปฏิบัติตามคำพร่ำสอนอยู่ เราบรรลุวิชชา ๓ โดยลำดับ ได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว


   เราถือการไม่นอนเป็นวัตรมาเป็นเวลา ๕๕ ปี เรากำจัดความง่วงเหงาหาวนอนมาแล้วเป็นเวลา ๒๕ ปี



   ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ภิกษุทั้งหลายถามเราว่า พระผู้มีพระภาคปรินิพพานแล้วหรือยัง
    เราได้ตอบว่า ลมหายใจออกและหายใจเข้ามิได้มีแก่พระผู้มีพระภาค ผู้มีพระหฤทัยตั้งมั่น คงที่ แต่พระองค์ยังไม่ปรินิพพานก่อน

      พระผู้มีพระภาคผู้มีพระจักษุ ผู้ไม่มีตัณหาเป็นเครื่องทำใจให้หวั่นไหว ทรงทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ คือ เสด็จออกจากจตุตถฌาน แล้วจึงจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคทรงอดกลั้นเวทนา ด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคผู้เป็นดวงประทีปของชาวโลกกับทั้งเทวโลก เสด็จดับขันธปรินิพพาน ความพ้นพิเศษแห่งพระหฤทัยได้มีขึ้นแล้ว

      บัดนี้ธรรมเหล่านี้อันมีสัมผัสเป็นที่ ๕ ของพระมหามุนีได้สิ้นสุดลงแล้ว ในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว จิตและเจตสิกธรรมเหล่าอื่นจักไม่มีอีกต่อไป

      ดูกรเทวดา บัดนี้ การอยู่อีกต่อไปด้วยอำนาจการอุบัติในเทพนิกาย ย่อมไม่มี ชาติสงสารสิ้นไปแล้ว บัดนี้ การเกิดในภพใหม่มิได้มี ภิกษุใดรู้แจ้งมนุษยโลก เทวโลก พร้อมทั้งพรหมโลกอันมีประเภทตั้งพัน ได้ในเวลาครู่เดียว ทั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญในคุณ คือ อิทธิฤทธิ์ และในจุติ และอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นย่อมเห็นเทพเจ้าทั้งหลายได้ตามความประสงค์



      เมื่อก่อนเรามีนามว่า "อันนภาระ" เป็นคนยากจน เที่ยวหารับจ้างเลี้ยงชีพ ได้ถวายอาหารแด่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นสมณะเรืองยศ เพราะบุญกรรมที่ได้ทำมาแล้ว เราจึงได้มาเกิดในศากยตระกูลพระประยูรญาติขนานนามให้เราว่า อนุรุทธะ เป็นผู้เพียบพร้อมไปด้วยการฟ้อนรำและขับร้อง มีเครื่องดนตรีบรรเลงปลุกให้รื่นเริงใจอยู่ทุกค่ำเช้า

     ต่อมา เราได้เห็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ไม่มีภัย แต่ที่ไหนๆ ได้ยังจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ท่านแล้ว ออกบวชเป็นบรรพชิต เราระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้

     เราได้เคยเป็นท้าวสักกรินทร์เทวราชอยู่ในดาวดึงส์เทพพิภพมาแล้ว เราได้ปราบปรามไพรีพ่ายแพ้แล้ว ขึ้นผ่านสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจอมมนุษย์นิกร ในชมพูทวีปมีสมุทรสาครทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ๗ ครั้ง ได้ปกครองปวงประชานิการโดยธรรม ด้วยไม่ต้องใช้อาชญาหรือศาตราใดๆ

     เราระลึกชาติหนหลังในคราวที่อยู่ ในมนุษยโลกได้ดังนี้ คือ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ชาติ เป็นพระอินทร์
๗ ชาติ รวมการท่องเที่ยวอยู่เป็น ๑๔ ชาติด้วยกัน


     ในเมื่อสมาธิอันประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นธรรมอันเอกปรากฏขึ้นที่เราได้ เพราะความสงบระงับกิเลส  ทิพยจักษุของเราจึงบริสุทธิ์ เราดำรงอยู่ในฌานอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ รู้จุติและอุบัติ การมา การไป ความเป็นอย่างนี้ และความเป็นอย่างอื่น ของสัตว์ทั้งหลาย

    เรามีความคุ้นเคยกับพระบรมศาสดามาแล้วเป็นอย่างดี เราได้ทำคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระอันหนักลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพขึ้นได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ภายใต้พุ่มกอไม้ไผ่ใกล้บ้านเวฬุวคามแห่งแคว้นวัชชี.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๗๘๓๔ - ๗๘๙๘. หน้าที่ ๓๓๗ - ๓๓๙.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=26&A=7834&Z=7898&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=393
ขอบคุณภาพจาก http://i.ytimg.com/,http://www.dhammajak.net/,http://www.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2012, 12:26:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28562
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


   
    พระอนุรุทธเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ


    พระอนุรุทธะ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าอมิโตทนะ ผู้เป็นพระเจ้าอาของพระบรม
    ศาสดา มีพระเชษฐา (พี่ชาย) พระนามว่า เจ้าชายมหานามะ มีพระกนิษฐภคินี (น้องสาว) พระ
    นามว่า พระนางโรหิณี รวมเป็น ๓ พระองค์ด้วยกัน เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้วเสร็จมาโปรด
    พระประยูรญาติศากยวงศ์ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ได้มีศากยกุมารผู้มีชื่อเสียงออกบวชติดตามพระบรม
    ศาสดาหลายพระองค์


    พี่ชายชวนบวช
    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ เสด็จจาริกไปสู่มหาชนบท ประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน แขวง
    เมืองพาราณสี ครั้งนั้น เข้าศากยพระนามว่าเจ้าชายมหานามะ ผู้เป็นพระเชษฐา ได้ปรึกษากับเจ้า
    ชายอนุรุทธะพระอนุชาว่า:-

    “ในตระกูลของเรานี้ ยังไม่มีผู้ใดออกบวชตามเสด็จพระบรมศาสดาเลย เราสองคนพี่
    น้องนี้ ควรที่คนใดคนหนึ่งน่าจะออกบวช น้องจะบวชเองหรือจะให้พี่บวช ขอให้น้องเป็นผู้เลือก
    ตามความสมัครใจ ถ้าไม่มีใครบวชเลย ก็ดูเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง”


    เนื่องจากอนุรุทธกุมารนั้น เป็นพระโอรสองค์เล็ก พระเจ้าอมิโตทนะ พระบิดาและพระ
    มารดามีความรักทะนุถนอมเป็นอย่างมาก เป็นกษัตริย์สุขุมมาลชาติ มีบุญมาก หมู่พระประยูร
    ญาติทั้งหลายต่างก็โปรดปรานเอาอกเอาใจตั้งแต่แรกประสูติจนเจริญวัยสู่วัยหนุ่ม เมื่อได้ฟังเจ้าพี่
    มหานามะตรัสถึงเรื่องการบรรพชาอย่างนั้น จึงกราบทูลถามว่า

    “เสด็จพี่ ที่เรียกว่าบรรพชานั้น คืออะไร”
    “ที่เรียกบรรพชาก็คือการปลงพระเกศาและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสต์ บรรทมเหนือ
    พื้นดิน และบิณฑบาตเลี้ยงชีพตามกิจของสมณะ”
    “เสด็จพี่ หม่อมฉันไม่เคยทุกข์ยากลำบากอย่างนั้น ขอให้เสร็จพี่บวชเองเถิด”
    “อนุรุทธะ ถ้าอย่างนั้น เจ้าก็ต้องศึกษาเรื่องการงาน และการครองเรือนให้เข้าใจเป็น
    อย่างดี”


    ไม่รู้จักคำว่า “ไม่มี”
    แท้ที่จริง เจ้าชายอนุรุทธะ ได้รับการเอาอกเอาใจจากพระประยูรญาติดังกล่าว จน
    กระทั่งไม่ทราบเรื่องการงาน และการดำเนินชีวิตของฆราวาสเลย ยิ่งไปกว่านั้นแม้แต่คำว่า “ไม่
    มี” ก็ไม่เคยได้ยินนับตั้งแต่ประสูติมา ดังมีเรื่องเล่าว่า.....

    ครั้งหนึ่ง เจ้าชายอนุรุทธะ พร้อมด้วยพระสหายชวนกันไปเล่นตีคลี โดยมีการตกลงกัน
    ว่า “ถ้าใครเล่นแพ้ต้องนำขนมมาเลี้ยงเพื่อน” ในการเล่นนั้นเจ้าชายอนุรุทธะ แพ้ถึง ๓ ครั้ง ใน
    แต่ละครั้งให้คนรับใช้ไปนำขนมจากเสด็จแม่มาเลี้ยงเพื่อนตามที่ตกลงกัน ในครั้งที่ ๔
    เจ้าชายอนุรุทธะ ก็เล่นแพ้อีก และก็ใช้ให้คนไปนำขนมมาจากพระมารดาอีก พระมารดาตรัสสั่ง
    คนรับใช้มาบอกว่า “ขนมไม่มี” เจ้าชายอนุรุทธะ ไม่รู้ความหมายของคำว่า “ไม่มี” เข้าใจไปว่า
    คำนั้นเป็นชื่อของขนมชนิดหนึ่ง จึงส่งคนรับใช้ให้ไปกราบทูลแก่เสด็จแม่ว่า “ขนมไม่มีก็เอามาเถอะ”

   
    พระมารดา เข้าพระทัยทันทีว่า พระโอรสของพระองค์นั้นไม่เคยได้ยินค่ำว่า “ไม่มี” ดัง
    นั้น จึงดำริที่จะให้โอรสของตนทราบความหมายของคำว่า “ไม่มี” นั้นว่าเป็นอย่างไร จึงนำถาด
    เปล่ามาทำความสะอาดแล้วปิดฝาด้วยถาดอีกใบหนึ่ง ส่งให้คนรับใช้นำไปให้พระโอรส ใน
    ระหว่างทางที่คนรับใช้ถือถาดเปล่าเดินไปนั้น เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูคิดว่า

    “เจ้าชายอนุรุทธะ นี้ ได้สร้างบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ครั้งที่เกิดเป็นอันนภารบุรุษ ได้ถวาย
    อาหารที่ตนกำลังจะบริโภคแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าอริฏฐะ แล้วได้ตั้งความปรารถนา
    ว่า “ถ้าได้เกิดใหม่ ขออย่าให้ได้ยินคำว่า “ไม่มี” กับทั้งสถานที่เกิดของอาหาร ก็ขออย่าได้พานพบ
    เลย” ดังนั้น ถ้าเจ้าชายอนุรุทธะได้รู้จักคำว่า ไม่มี แล้วเราต้องถูกเทพยาดาผู้มีอำนาจเหนือกว่าลง
    โทษแน่” จึงเนรมิตขนมทิพย์จนเต็มถาด เจ้าอนุรุทธะและพระสหายได้เสวยขนมทิพย์มีรสโอชา
    ยิ่งนัก ซึ่งพวกไม่เคยได้เสวยมาก่อน จึงกลับไปต่อว่าพระมารดาว่า:-


    “ข้าแต่เสด็จแม่ ทำไมเสด็จแม่เพิ่งจะมารักลูกวันนี้เอง วันอื่น ๆ ไม่เห็นเสด็จแม่ทำขนม
    ไม่มีให้ลูกเสวยเลย ตั้งแต่นี้ไป ลูกขอเสวยแต่ขนมไม่มีเพียงอย่างเดียว ขนมชนิดอื่นไม่ต้องทำให้อีก”
   
    นับแต่บัดนั้นเมื่อเจ้าชายอนุรุทธะ ขอเสวยขนม พระมารดาก็จะนำถาดมาทำความ
    สะอาดแล้วปิดฝาด้วยถาดอีกใบหนึ่งส่งไปให้ทุกครั้ง ด้วยเหตุนี้ เมื่อเจ้าพี่มหานามะ บอกให้ศึกษา
    เรื่องการงานการครองเรือน เจ้าชายอนุรุทธะ จึงทูลถามเจ้าพี่ว่า:-
    “การงานที่ว่านั้น คืออะไร ?"



    เรียนเรื่องการทำนา
    เจ้าชายมหานามะ ได้สดับคำถามของพระอนุชาดังนั้น จึงได้ยกเอาเรื่องการทำนาขึ้นมา
    สอน เริ่มด้วยการไถ การหว่าน การดูแลรักษา ตลอดจนการเก็บเกี่ยว การนวด และการนำเข้า
    เก็บในยุ้งฉาง อย่างนี้แหละ เรียกว่า “การงาน”
    “เสด็จพี่ การงานนี้จะสิ้นสุดเมื่อไร ?”
    “ไม่มีวันสิ้นสุด เมื่อถึงฤดูกาลก็ต้องทำอย่างนี้ตลอดไป วนเวียนหาที่สุดมิได้


    เจ้าชายอนุรุทธะ นั้นจะรู้เรื่องการทำนาได้อย่างไร ในเมื่อครั้งหนึ่งเคยนั่งสนทนากับพระ
    สหายและตั้งปัญหาถามกันว่า:-
    “ภัตตาหารที่เราเสวยกันทุกวันนี้ เกิดที่ไหน ?”
    “เกิดในฉาง” เจ้าชายกิมพิละตอบ เพราะเคยเห็นคนนำข้าวออกจากฉาง
    “เกิดในหม้อ” เจ้าชายภัททิยะตอบ เพราะเคยเห็นคดข้าวออกจากหม้อ
    “เกิดในชาม” เจ้าชายอนุรุทธะตอบ เพราะทุกครั้งจะเสวยภัตตาหาร ก็จะเห็นข้าวอยู่ใน
    ชามเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเข้าใจอย่างนั้น

    เมื่อใดฟังเจ้าพี่มหานามะ สอนถึงเรื่องการงาน ดังนี้แล้ว จึงเกิดการท้อแท้ขึ้นมา และ
    การงานนั้นก็ไม่มีที่สิ้นสุด จึงกราบทูลเจ้าพี่มหานามะว่า “ถ้าเช่นนั้นขอให้เสด็จพี่อยู่ครองเรือน
    เถิด หม่อมฉันจักบวชเอง ถึงแม้การบวชจะลำบากกว่าการเป็นอยู่ในฆราวาสนี้ ก็ยังมีภาระที่
    น้อยกว่า และมีวันสิ้นสุด”


    ตายดีกว่าถ้าไม่ได้บวช
    เมื่อตกลงกันเช่นนี้แล้ว เจ้าชายอนุรุทธะจึงเข้าไปเฝ้าพระมารดา กราบทูลให้ทรงทราบ
    เรื่องที่ตกลงกับเจ้าพี่มหามานะ แล้ว กราบทูลขอลาบวชตามเสด็จพระบรมศาสดา พระมารดาได้
    ฟังก็ตกพระทัยตรัสห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง แต่พระโอรสก็ยืนยันจะบวชให้ได้ ถ้าไม่ทรงอนุญาต
    ก็จะขออดอาหารจนตาย และก็เริ่มไม่เสวยอาหารตั้งแต่บัดนั้น ในที่สุดพระมารดาเห็นว่าการ
    บวชยังมีโอกาสได้เห็นโอรสดีกว่าปล่อยให้ตาย อนึ่ง อนุรุทธะนั้น เมื่อบวชแล้วได้รับความ
    ลำบากก็คงอยู่ได้ไม่นานก็จะสึกออกมาเอง

    พระมารดาจึงตกลงอนุญาตให้บวช แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าเจ้าชายภัททิยะพระสหายออกบวช
    ด้วยจึงจะให้บวช เจ้าชายอนุรุทธะดีใจรีบไปชวนเจ้าชายภัททิยะให้บวชด้วยกันโดยกล่าวว่า
    “การบวชของเราเนื่องด้วยท่าน ถ้าท่านบวชเราจึงจะได้บวช” อ้อนวอนอยู่ถึง ๗ วัน
    เจ้าชายภัททิยะจึงยอมบวชด้วย


    ในครั้งนั้น เจ้าชายศากยะ ๕ พระองค์ เจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายอานนท์
    เจ้าชายภัคคุ และ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายฝ่ายโกลิยะ ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายเทวทัต พร้อม
    ด้วยอำมาตย์ช่างกัลบกอีก ๑ คน ชื่อ อุบาลี รวมเป็น ๗ เสด็จออกเดินทางไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่
    อนุปิยอัมพวัน เมืองพาราณสี ในระหว่างทางเจ้าชายทั้ง ๖ ได้เปลื้องเครื่องประดับอันมีค่าส่ง
    มอบให้อุบาลีช่างกัลบกที่ติดตามไปด้วย พร้อมทั้งตรัสสั่งว่า:-
    “ท่านจงนำเครื่องประดับเหล่านี้ไปจำหน่ายขายเลี้ยงชีพเถิด”

    อุบาลี รับเครื่องประดับเหล่านั้นแล้วแยกทางกลับสู่พระนครกบิลพัสดุ์ พลางคิดขึ้นมา
    ว่า “ธรรมดาเจ้าศากยะทั้งหลายนั้นดุร้ายนักถ้าเห็นเรานำเครื่องประดับกลับไปก็จะพากันเข้าใจว่า
    เราทำอันตรายพระราชกุมารแล้ว นำเครื่องประดับมาก็จะลงอาญาเราจนถึงชีวิต อนึ่งเล่า เจ้าชาย
    ศากยกุมารเหล่านี้ ยังละเสียซึ่งสมบัติอันมีค่าออกบวชโดยมิมีเยื่อใย ตัวเรามีอะไรนักหนาจึงจะ
    มารับเอาสิ่งของที่เขาทิ้งดุจก้อนเขฬะนำไปดำรงชีพได้”


    เมื่อคิดดังนั้นแล้ว จึงแก้ห่อนำเครื่องประดับทั้งหลายเหล่านั้นแขวนไว้กับต้นไม้แล้ว
    กล่าวว่า “ผู้ใดปรารถนาก็จงถือเอาตามความประสงค์เถิด เราอนุญาตให้แล้ว” จากนั้นก็ออกเดิน
    ทางติดตามเจ้าชายทั้ง ๖ พระองค์ ไปทันที่อนุปิยอัมพวัน กราบทูลแจ้งความประสงค์ขอบวชด้วย


    ให้อุบาลีกัลบกบวชก่อน
    เจ้าชายอนุรุทธะ เมื่อทราบความประสงค์ของอุบาลีเช่นนั้น จึงกราบทูลพระบรมศาสดา
    ว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าพระองค์เป็นกษัตริย์ มีขัตติยมานะแรงกล้า ขอพระองค์ประทาน
    การบรรพชาแก่อุบาลี ผู้เป็นอำมาตย์รับใช้ปวงข้าพระองค์ก่อนเถิด เพื่อข้าพระองค์ทั้งหลายจะ
    ได้แสดงคารวะกราบไหว้ อุบาลี ตามประเพณีนิยมของพระพุทธสาวก จะได้ปลดเปลื้อง
    ขัตติยมานะให้หมดสิ้นไปจากสันดาน”


    พระพุทธองค์ตรัสอนุโมทนา แล้วประทานการบรรพชาแก่อุบาลีก่อนตามประสงค์
    แล้วประทานการบรรพชาแก่กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ภายหลัง เมื่อบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    ในพระพุทธศาสนาแล้ว
    พระภัททิยะ ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พร้อมไตรวิชาภายในพรรษานั้น
    พระอนุรุทธะ ได้สำเร็จทิพยจักษุญาณก่อนแล้วภายหลังได้ฟังพระธรรมเทศนา
    มหาปุริสวิตกสูตร ก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระอานนท์ ได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน
    พระภัคคุ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระกิมพิละ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
    พระเทวทัต ได้บรรลุธรรมชั้นฤทธิ์ปุถุชนอันเป็นโลกิยะ
    พระอุบาลี ศึกษาพุทธพจน์แล้ว เจริญวิปัสสนากรรมฐาน
    ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ภายในพรรษานั้น


    พระอนุรุทธะ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เรียนกรรมฐานจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรแล้ว
    เข้าไปสู่ป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ขณะเจริญสมณธรรมอยู่นั้นได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ
    คือ:-
    ๑ ธรรมนี้ของผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่ใช่ของผู้มีความปรารถนาใหญ่
    ๒ ธรรมนี้ของผู้สันโดษ ยินดีด้วยของที่มีอยู่ ไม่ใช่ของผู้ไม่สันโดษ
    ๓ ธรรมนี้ของผู้สงัดแล้ว ไม่ใช่ของผู้ยินดีในหมู่
    ๔ ธรรมนี้ของผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ของผู้เกียจคร้าน
    ๕ ธรรมนี้ของผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีสติหลง
    ๖ ธรรมนี้ของผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ของผู้มีใจไม่ตั้งมั่น
    ๗ ธรรมนี้ของผู้มีปัญญา ไม่ใช่ของผู้มีปัญญาทราม


    เมื่อพระเถระตรึกอยู่อย่างนี้ พระบรมศาสดาเสด็จไปยังที่อยู่ของพระเถระ ทราบว่าเธอ
    กำลังตรึกอยู่อย่างนั้น ทรงอนุโมทนาว่า ดีล่ะ ดีล่ะ แล้วทรงแนะให้ตรึกในข้อที่ ๘ ว่า
    ๘ ธรรมนี้ของผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า ไม่ใช่ของผู้ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า


    ได้รับยกย่องผู้มีทิพยจักษุญาณ
    ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนพระเถระแล้ว ได้เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วน
    พระอนุรุทธะ ได้บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล ตั้งแต่นั้นมา ท่านได้ตรวจดู
    สัตว์โลกด้วยทิพยจักษุญาณเสมอ ยกเว้นขณะกำลังฉันภัตตาหารเท่านั้น
    ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา ได้ตรัสยกย่องชมเชยท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้มีทิพยจักษุญาณ



    ปฐมเหตุประเพณีการทอดผ้าบังสุกุล-ผ้าป่า
    สมัยหนึ่งท่านพระอนุรุทธเถระ จำพรรษาอยู่ที่เวฬุวันเมืองราชคฤห์ จีวรที่ท่านใช้อยู่นั้น
    เก่ามาก ท่านจึงแสวงหาผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) ตามกองขยะ กองหยากเยื่อเพื่อนำมาทำจีวร
    ครั้งนั้น อดีตภรรยาเก่าของท่านชื่อ ชาลินี ซึ่งจุติได้เกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เห็น
    พระเถระแสวงหาผ้าอยู่เช่นนั้นก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงนำผ้าทิพย์มาจากสวรรค์ลงมายังโลกมนุษย์

    และคิดว่า “ถ้าเราจะนำเข้าไปถวายโดยตรง พระเถระก็คงไม่รับแน่” จึงหาอุบายซุกผ้าผืน
    นั้นในกองขยะกองหยากเยื่อ มีชายผ้าโผล่ออกมาเพื่อให้พระเถระได้เห็น ในทางที่พระเถระ
    กำลังเดินมุ่งหน้าไปทางนั้น พระเถระเห็นชายผ้าผืนนั้นแล้วถึงออกมาพิจารณาเป็นผ้าบังสุกุลและ
    คิดว่า “ผ้าผืนนี้เป็นผ้าบังสุกุลที่มีคุณค่ายิ่งนัก” แล้วนำกลับไปสู่อาราม เพื่อจัดการทำจีวร


    พระพุทธองค์ช่วยเย็บจีวร
    ในการทำจีวรของท่านนั้นเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระบรมศาสดาทรงพา
    พระมหาสาวกเป็นจำนวนมากมาร่วมทำจีวร โดยพระองค์เองทรงร้อยเข็ม พระมหากัสสปะนั่ง
    อยู่ช่วงต้น พระสารีบุตรนั่งอยู่ตรงกลาง พระอานนท์นั่งอยู่ช่วงปลายสุด ทั้ง ๓ ท่านนี้ช่วยกันเย็บจีวร

     ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่เหลือก็ช่วยกันกรอด้าย พระมหาโมคคัลลานะ กับนางเทพธิดาชาลินี
    ช่วยกันไปชักชวนอุบาสกอุบาสิกาในหมู่บ้าน ให้นำภัตตาหารมาถวายพระบรมศาสดาและพระ
    ภิกษุสงฆ์ประมาณ ๕๐๐ รูป การเย็บจีวรของพระอนุรุทธะสำเร็จลงด้วยดีภายในวันเดียวเท่านั้น
    อนึ่ง กิริยาที่นางเทพธิดาชาลินี นำผ้าไปวางซุกไว้ในกองขยะกองหยากเยื่อ ในลักษณะ
    ทอดผ้าบังสุกุลนั้น พุทธบริษัทได้ถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล และทอดผ้าป่าในปัจจุบันนี้

   
    พระอนุรุทธเถระ ดำรงชนมายุมาถึงหลังพุทธปรินิพพาน ในวันที่พระบรมศาสดา
    นิพพานนั้น ท่านก็ร่วมอยู่เฝ้าแวดล้อม ณ สาลวโนทยานนั้นด้วย และท่านยังได้ร่วมทำกิจพระ
    ศาสนาครั้งสำคัญ ในการทำปฐมสังคายนากัลป์คณะสงฆ์โดยมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
    พระอุบาลีเถระวิสัชนาพระวินัย และพระอานนท์เถระวิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม
    ท่านพระอนุรุทธเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธ์ เข้าสู่
    นิพพาน ณ ภายใต้ร่มกอไผ่ ในหมู่บ้านเวฬุวะ แคว้นวัชชี



ที่มา http://84000.org/one/1/11.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://download.buddha-thushaveiheard.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.dmc.tv/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28562
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
   
    คำถาม : พระอนุรุทธ "ถือวัตรไม่นอน ๕๕ ปี"..แล้วท่านทำอะไรล่ะ.??
    คำตอบ  : ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ตรัสสอนพระเถระแล้ว ได้เสด็จกลับสู่ที่ประทับ ส่วนพระอนุรุทธะ ได้บำเพ็ญสมณธรรมต่อไป ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
    ตั้งแต่นั้นมา ท่านได้ตรวจดูสัตว์โลกด้วยทิพยจักษุญาณเสมอ
                       ยกเว้นขณะกำลังฉันภัตตาหารเท่านั้น

    ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา ได้ตรัสยกย่องชมเชยท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ

    .....ท่านอนุรุทธเอาเวลาที่ไม่นอน ไปตรวจดูโลกธาตุ เพราะท่านมีทิพยจักษุญาณเป็นเลิศ ยกเว้นเวลาฉันเท่านั้น ที่ท่านหยุดใช้ทิพยจักษุญาณ

     :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2012, 01:00:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ