ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปล่อยเต่า..อย่าคิดว่าได้บุญ  (อ่าน 1917 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปล่อยเต่า..อย่าคิดว่าได้บุญ
« เมื่อ: มิถุนายน 19, 2012, 08:12:33 pm »
0


ปล่อยเต่า..อย่าคิดว่าได้บุญ

เตือนคนไทยให้รู้ว่าปล่อยเต่าไม่ได้บุญ นักวิชาการชี้มนุษย์เป็นภัยร้ายต่อเต่าไทยอันดับหนึ่ง เหตุจำนวนเต่าในธรรมชาติลดเกินครึ่ง

      เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.  ที่จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ ดร.พิชัย  สนแจ้ง ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ(อพวช.) พร้อมด้วย ศ.ดร.สุพจน์  หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันเป็นประธานเปิดนิทรรศการ “เต่า”

      หวังให้คนรุ่นใหม่อนุรักษ์เต่า เหตุปริมาณเต่าในธรรมชาติลดลงเกินกว่าร้อยละ 50
      ชี้มนุษย์ คือ ภัยคุกคามเต่าอันดับ 1 เตือนปล่อยเต่าเป็นการทำบาปโดยตรง


      ดร.พิชัย   เปิดเผยว่า  อพวช. เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความหลากหลายทางชีวภาพให้กับประชาชน ผ่านสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่าง ๆ การจัดนิทรรศการ “เต่า” (Turtles) เกิดขึ้นจากความร่วมมือกัน ระหว่าง อพวช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งสำหรับการสร้างความตระหนักให้กับสังคมในการอนุรักษ์เต่า  อันจะเป็นประโยชน์ในเชิงนิเวศวิทยาของประเทศไทย

      “นิทรรศการเต่า จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยเรื่อง ชีววิทยาเต่า จัดแสดงเกี่ยวกับสรีระวิทยาของเต่า ส่วนต่อมาคือ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเต่า รวมถึงวิถีชีวิตของคนที่เกี่ยวข้องกับเต่า อาทิ ทำไมเต่าอายุยืน  “กลิ่นเต่า” เหม็นแค่ไหน ความเชื่อเกี่ยวกับเต่า งานศิลปะจากเต่า

       ในส่วนสุดท้ายจะนำเสนอเรื่อง ความสำคัญและการอนุรักษ์ ซึ่งเกี่ยวกับสาเหตุที่เต่าลดจำนวนลง บทบาทของเต่าในระบบนิเวศ และความสำคัญในการอนุรักษ์เต่า คนไทยใช้ประโยชน์จากเต่าอย่างไร ปล่อยเต่าอย่างไรให้ได้บุญ รวมถึงเรื่องเต่าต่างประเทศในไทย” ดร.พิชัยกล่าว



       ศ.ดร.สุพจน์  กล่าวว่า ปัจจุบันเต่าไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติที่มาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งถูกคุกคามทั้งจากภัยธรรมชาติได้แก่ความเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศวิทยาของโลก ตลอดจนจากนักล่าที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก คือ มนุษย์

      ทั้งจากการล่าเพื่อนำไปบริโภคด้วยความเชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะ
      หรือแม้กระทั่ง การจับเพื่อนำไปปล่อยตามความเชื่อทางศาสนา
      ล้วนแต่ส่งผลให้สัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการและอยู่บนโลกมานานมากกว่า 220 ล้านปี ลดลงมากกว่าร้อยละ 50


      ดังนั้น จึงอยากให้สังคมเกิดความตระหนักถึงการร่วมกันอนุรักษ์สัตว์ดึกดำบรรพที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาในประเทศไทยจากการเข้ามาชมและเรียนรู้ในนิทรรศการชุดนี้ ซึ่งจะสะท้อนปัญหาวิกฤตการณ์การอยู่รอดของเต่าในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี

     รศ.ดร.กำธร  ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นคว้าวิจัยเต่าในประเทศไทย  กล่าวว่า มนุษย์เข้าไปทำลายวิถีชีวิตของเต่าหลายรูปแบบ ทั้งการลุกล้ำถิ่นที่อยู่ของเต่า การปล่อยสารพิษลงแหล่งน้ำ การจับเต่าในธรรมชาติ มาบริโภค หรือแม้นกระทั่งการทำบุญปล่อยซึ่งมีงานวิจัยว่าเต่าที่มนุษย์ซื้อมาปล่อยตามความเชื่อทางศาสนานั้นตายกว่าร้อยละ 90 ถึงเวลาที่ควรจะช่วยกันอนุรักษ์

     “ ปัจจุบันจำนวนเต่าในธรรมชาติทุกชนิด ลดลงมากกว่าร้อยละ 50 บางชนิดเหลือพียงร้อยละ 5 และบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ เช่น ตะพาบม่านลาย, เต่ากระอานและเต่าลายตีนเป็ด  เต่า 3 ชนิดของไทยติดอันดับ เต่า 25 ชนิดของโลก ที่ใกล้สูญพันธ์ เช่นเดียวกับ ตะพาบหัวกบ ที่อาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งเป็นน้ำกร่อย  นับเป็นอีกชนิดหนึ่งที่ที่หาได้ยากมากในบ้านเราแต่ยังมีอยู่บ้างหาได้ในประเทศเวียดนาม กัมพูชา


     ทั้งนี้ เต่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่เป็นทั้งผู้ล่าและผู้ถูกล่า ดังนั้นการลดจำนวนลงของเต่าย่อมมีผลกระทบอย่างแน่นอนในห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ


   
     ขณะที่อีกความนิยมหนึ่ง คือ การทำบุญปล่อยเต่า ส่วนตัวเห็นว่าเป็นการทำบาป 100 เปอร์เซ็นต์
     เพราะเต่าในบ้านเรามีมากกว่า 30 ชนิด แต่ละชนิด ก็อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ต่างกัน อาหารต่างกัน
     เมื่อผู้ทำบุญไม่มีความรู้เรื่องชนิดของเต่า อาหารที่เหมาะสม รวมทั้งพื้นที่ที่เหมาะสมในการปล่อย เท่ากับว่าเป็นการปล่อยเต่าให้ตายได้บาปมากกว่าได้บุญ


     อีกความนิยมคือ การเลี้ยงเต่าไว้เป็นสัตว์เลี้ยง ตนเห็นว่าหากมีการศึกษาข้อมูลของเต่าให้ดี มีการขออนุญาตครอบครองและสามารถการเลี้ยง ขยายพันธุ์ได้ นับเป็นการอนุรักษ์เต่าอีกทาง แต่ผู้เลี้ยงต้องมีการศึกษาธรรมชาติของเต่าชนิดนั้นๆ ให้ดีก่อน เพราะเต่าเป็นสัตว์ที่อ่อนไหวง่ายในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่าง หากไม่มีข้อมูลในการดูแล จะเป็นการนำเต่ามาทรมานมากกว่า” รองศาสตราจารย์ ดร.กำธร กล่าว

     นิทรรศการ “เต่า” (Turtles) จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน เป็นต้นไป ณ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 อาคารจามจุรีสแควร์ สามย่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 160 5356 หรือ www.nsm.or.th


ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/education/120364
ขอบคุณภาพจาก http://news.phuketindex.com/,http://i147.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ