ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จะเริ่มต้น..อ่านพระไตรปิฎกอย่างไร  (อ่าน 3404 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จะเริ่มต้น..อ่านพระไตรปิฎกอย่างไร
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 10:40:33 am »
0


จะเริ่มต้น..อ่านพระไตรปิฎกอย่างไร


ถ้าคิดว่า พระไตรปิฎกเป็นแค่หนังสือชนิดหนึ่ง ท่านจะอ่านพระไตรปิฎกอย่างไรก็อ่านได้ แต่ถ้าท่านคิดว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตีพิมพ์เป็นพระไตรปิฎกคือตัวแทนของพระพุทธเจ้าที่เราเคารพนับถือ การอ่านพระไตรปิฎกของเราย่อมแตกต่างออกไปจากการอ่านหนังสือทั่วไป เพราะนี่คือการเข้าไปนั่งเฝ้าต่อพระพักตร์พระพุทธเจ้า ผู้เป็นบรมศาสดาของชาวโลก เราจึงควรอ่านอย่างนอบน้อมสูงสุด

จะเลือกอ่านพระไตรปิฎกฉบับไหนดี เพราะพระไตรปิฎกมีหลายฉบับเยอะแยะไปหมด ทั้งพระไตรปิฎกภาษาบาลี ทั้งพระไตรปิฎกภาษาไทย เช่น
    พระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราช
    พระไตรปิฎกฉบับหลวง 
    พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ   
    พระไตรปิฎกฉบับสากล
    พระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย   
    พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน
    พระไตรปิฎกฉบับอ่านง่าย
    พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน 
    หรือพระไตรปิฎกฉบับใหม่ล่าสุด คือ พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋าที่แนะนำในเว็บไซต์นี้

    ขอแนะนำว่าท่านสามารถอ่านพระไตรปิฎกฉบับใดก็ได้ สุดแต่ท่านจะหาได้
    เอาที่ท่านสะดวก เลือกอ่านฉบับที่เข้าใจง่ายก่อน เพราะจุดประสงค์การอ่านพระไตรปิฎกที่สำคัญที่สุด
    คือ อ่านเพื่อให้เข้าใจ ไม่ใช่อ่านเพื่อความขลังหรือความศักดิ์สิทธิ์





ข้อแนะนำในการอ่านพระไตรปิฎก
     
     1. หยุดภารกิจหรือกิจกรรมอื่น ๆ ของท่านทั้งหมด ก่อนจะอ่านพระไตรปิฎก

     2. ปิดเครื่องมือสื่อสาร เช่น มือถือ โทรทัศน์ วิทยุ ipod ipad ฯลฯ ก่อนอ่านพระไตรปิฎก


     3. ทำสมาธิแบบง่าย ๆ โดยนั่งตัวตรง ๆ หลับตา ตั้งสติกำหนดดูลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานสติกัมมักฐาน) สัก 10 นาที ก่อนอ่านพระไตรปิฎก

     4. ตั้งใจให้มั่นว่า จะอ่านพระไตรปิฎก ฉบับ...(ที่ท่านมีอยู่) โดยจะอ่านวันละ.... (หน้า) ลองทดลองอ่านวันละน้อย ๆ หน้าก่อน ค่อยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในวันต่อ ๆ ไป เช่นเริ่มที่ 5 หน้าต่อวัน ก็อ่านต่อเนื่องทุกวัน ๆ ละ 5 หน้า

     5. ขณะอ่าน ให้อ่านแบบใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อน ค่อย ๆ อ่านไป พิจารณาไป ให้ใจท่านจดจ่ออยู่กับพระไตรปิฎกเท่านั้น ไม่คิดวอกแวกไปเรื่องอื่น ทำความเข้าใจทุกบททุกตอนที่อ่าน อย่าอ่านผ่าน ๆ เพื่อทำสถิติว่า ฉันอ่านพระไตรปิฎกได้ 5 หน้าแล้ววันนี้ เป็นต้น

     6. นั่งอ่าน ไม่ควรนอนอ่าน ไม่ว่าจะนอนหงายหรือนอนคว่ำก็ไม่ควร

     7. ไม่กินของกินขณะอ่านพระไตรปิฎก ไม่เอาน้ำหรือเครื่องดื่มใด ๆ มาใกล้พระไตรปิฎก ท่านควรกินดื่มให้เรียบร้อยแล้วจึงมานั่งอ่าน

     8. ควรอ่านในที่มีแสงสว่างพอเหมาะ ไม่จ้าเกินไปหรือแสงน้อย เพราะจะทำให้สายตาท่านมีปัญหาได้ง่าย ๆ

     9. ไม่ถอดเสื้อผ้าอ่านพระไตรปิฎก ควรเคารพยำเกรงในพระธรรมวินัย ต้องคิดเสมอว่า เรากำลังนั่งอยู่ต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าในขณะอ่านพระไตรปิฎก

    10. ควรมีสมุดบันทึกไว้ใกล้ตัวด้วย เวลาท่านอ่านแล้ว สงสัยหรือเกิดความคิดใหม่อะไรขึ้นมา ให้จดบันทึกไว้ทันที เพื่อจะได้หาความรู้เรื่องนั้น ๆ ต่อไป

    11. ถ้าจะให้ดี ท่านควรมีหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ และพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรมของพระพรหมคุณาภรณ์ไว้ใกล้ ๆ ตัวด้วยเพื่อเปิดดู เทียบเคียงความหมายของศัพท์บางคำ

    12. เก็บหนังสือพระไตรปิฎก (และหนังสือธรรมะอื่น ๆ ) ไว้ในที่สูง

    13. เมื่ออ่านแล้ว ไม่เข้าใจ หรือสงสัยไม่แน่ใจอะไร อย่าเพิ่งรีบสรุปเอาเองว่า ต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ควรปรึกษาผู้รู้ อาจเป็นพระเถระที่ท่านมีการศึกษาและมีการปฏิบัติที่ดี หรือมาเขียนข้อความปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนประสบการณ์การอ่านพระไตรปิฎกของท่าน ที่กระดานพระไตรปิฎกในเว็บไซต์พระไตรปิฎกฉบับกระเป๋าแห่งนี้

    14. หลังอ่านพระไตรปิฎกในแต่ละวัน ควรแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งมวลแบบไม่มีขอบเขตจำกัด (อัปปมัญญาเมตตา) ปรารถนาให้ทุกชีวิตมีแต่ความสุข ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีความทุกข์ร้อนใด ๆ




สร้างแรงจูงใจในการอ่านพระไตรปิฎก
     บุญนักหนาที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ ท่านลองถามตัวเองบ่อย ๆ ว่าในชีวิตนี้ เราจะสามารถอ่านพระไตรปิฎกฉบับใดฉบับหนึ่งให้จบได้หรือไม่ ลองสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองดู เช่น เราจะอ่านพระไตรปิฎกถวายพระพุทธเจ้า เราจะอ่านพระไตรปิฎกเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์  เราจะอ่านพระไตรปิฎกเพื่ออุทิศให้พ่อแม่ เราจะอ่านพระไตรปิฏกเพื่ออุทิศให้คนที่เรารักหรือคนที่เราเคยรัก ฯลฯ เป็นต้น

     โดยเฉลี่ยแล้ว ท่านจะใช้เวลาในการอ่านพระไตรปิฎกตามวิธีที่แนะนำข้างบนนี้เพียง 1 ชั่วโมง - ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่ได้เสียเวลามากมายอะไรเลย เมื่อเทียบกับการดูหนัง ฟังเพลง ดูข่าว ดูละครในแต่ละวันของท่าน ถ้าบอกว่าตนเองเป็นชาวพุทธ ท่านจะไม่อ้างเลยว่า ไม่มีเวลาอ่านพระไตรปิฎก



อ่านพระไตรปิฎกได้สร้างบารมี

     เชื่อหรือไม่ การอ่านพระไตรปิฎก ทำให้ท่านได้สร้างบารมีหลายประการดังนี้
       - อธิษฐานบารมี (ความตั้งใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการอ่าน)
       - ขันติบารมี (ความอดทนอดกลั้นไม่ย่อท้อ)
       - วิริยะบารมี (ความบากบั่นเอาใจใส่ต่อเนื่อง)
       - สัจจะบารมี (รักษาความสัจจ์ให้ตนเอง เช่นจะอ่าน 5 หน้าก็อ่านได้ 5 หน้าจริง ๆ) และ
       - ปัญญาบารมี (ทำให้ท่านเกิดปัญญา รู้ เข้าใจพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าอย่างลึกซื้งแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งขึ้น)


      วันนี้ ท่านอ่านพระไตรปิฎกแล้วหรือยัง



ที่มา http://3pidok.com/main.php?url=news_view&id=16&cat=B
ขอบคุณภาพจาก http://www.technoinhome.com/,http://3pidok.com/,http://4.bp.blogspot.com/,http://www.bodhinet.co.th/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 10, 2012, 10:42:42 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จะเริ่มต้น..อ่านพระไตรปิฎกอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 07:26:27 pm »
0
อนุโมทนา ครับ เรื่องนี้นับว่ามีประโยชน์มากจริง ๆ ครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จะเริ่มต้น..อ่านพระไตรปิฎกอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2012, 09:52:40 pm »
0
ยุคนี้พระไตรปิฏก บุกเข้าถึงในบ้าน แต่คนอ่านก็น้อยลง
สมัยที่ผมเคยบวชสมัยเมื่อ 30 ปีที่แล้ว คัมภีร์ใบลานต้องจองกันไปอ่านนะครับ
ยุคนี้ มีเป็นตู้ สือมากมาย แต่หาคนอ่านน้อยลง

  แสดงให้เห็นว่า ยุคนี้ อคติตัญญู บัวพ้นน้ำหายากครับ วปจิตัญญู บัวกำลังจะพ้นก็น่าจะหายากเช่นกัน

 
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ