« เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 11:35:38 am »
0
อบรม'กัมมัฏฐาน' พระนวกะแปดริ้ว
คณะสงฆ์อำเภอบางปะกง นำโดย พระราชมงคลรังษี เจ้าคณะอำเภอบางปะกง เจ้าอาวาสวัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา ได้จัดการอบรมกัมมัฏฐานแก่พระนวกะ เขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอบางปะกง ประจำปี 2555 ตามที่คณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทราได้จัดอบรมพระกัมมัฏฐานแก่พระนวกะในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2542 เป็นประจำทุกปี และในปีพ.ศ.2548 ในที่ประชุมคณะสงฆ์จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่วัดดงยาง ต.หนองแหน อ.พนมสารคาม มีความเห็นพ้องต้องกันให้เจ้าคณะอำเภอแต่ละอำเภอ จัดการอบรมพระกัมมัฏฐานแก่พระนวกะ ในเขตอำเภอของตนกันเอง
ในปีพ.ศ.2555 นี้ คณะสงฆ์อำเภอบางปะกง ได้ดำเนินการจัดการอบรมกัมมัฏฐานแก่พระนวกะ ณ วัดท่าสะอ้าน ไปเมื่อเร็วๆ นี้ รวมระยะเวลา 5 วัน 4 คืน ซึ่งมีพระนวกะเข้ารับการอบรมโดยพร้อมเพรียงกัน และได้รับความร่วมมือร่วมใจจากเจ้าคณะพระสังฆาธิการในเขตปกครองอำเภอบางปะกงเป็นอย่างดี ด้วยการส่งพระนวกะเข้ารับการอบรมพร้อมพระพี่เลี้ยงมาคอยดูแล อีกทั้งยังได้รับความศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพอาหารและน้ำปานะ แก่พระนวกะที่เข้ารับการอบรมในครั้งนี้พระราชมงคลรังษี
พระธรรมปริยัติมุนี เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นประธานเปิดการอบรมพระกัมมัฏฐานแก่พระนวกะ ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอบางปะกง และให้โอวาทมีใจความสำคัญตอนหนึ่งที่กล่าวว่า กัมมัฏฐาน อารมณ์ที่ตั้งแห่งการงานของใจ หมายถึง สิ่งที่ยึดเหนี่ยวผูกใจไว้ไม่ให้ฟุ้งซ่าน ให้ใจสงบนิ่งอยู่กับอารมณ์กัมมัฏฐานนั้นๆ เพื่อควบคุมใจให้สงบหรือให้เกิดปัญญา ตามวิธีที่เลือกปฏิบัติ เรียกอย่างหนึ่งว่า ภาวนา มี 2 ประเภท
1.สมถกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ หมายถึง การปฏิบัติธรรมด้วยการบริกรรม ทำความเพียรทางจิตที่ใช้สติเป็นหลัก เพื่อสงบระงับนิวรณ์ โดยใช้สติกำหนดอารมณ์ กัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในอารมณ์ 40 นั้น มีกสิณ 10 เป็นต้น บริกรรมเรื่อยไปจนจิตแนบแน่นในอารมณ์นั้นๆ ไม่ฟุ้งไปภายนอก การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานให้ได้ผลเร็วท่านกล่าวว่า ควรปฏิบัติให้ถูกจริตของตัวเองด้วย มี 6 อย่าง ราคจริต โทสจริต โมหจริต สัทธาจริต พุทธิจริต วิตักกจริต
2.วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา หมายถึง การปฏิบัติธรรมที่ใช้ปัญญาพิจารณาเป็นหลัก พิจารณาสภาวธรรม คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และอินทรีย์ ให้เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสามัญลักษณะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนสามารถคลายความยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ได้ และยังได้กล่าวถึง ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
1.รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
2.เวทนา ได้แก่ ระบบรับหรือรู้สึกสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
3.สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
4.สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
5.วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ หลังจากแยกแยะแล้วขันธ์นี้ อาจเรียก 'ขันธ์ 5' เบญจขันธ์ หรือ ขันธปัญจก ก็ได้
ด้านพระครูธรรมธรมนต์ชัย สารโท เลขานุการเจ้าคณะตำบลบางสมัคร วัดบางสมัคร กล่าวว่า ในการอุปสมบท พระอุปัชฌาย์ต้องสอน ตจปัญจกกรรมฐาน (กรรมฐานมีหนังเป็นที่ 5) แก่ผู้บวชใหม่เพื่อเป็นเครื่องขัดเกลาจิตเบื้องต้น
กรรมฐาน 5 นี้ ประกอบด้วย เกสา(ผม) โลมา(ขน) นะขา(เล็บ) ทันตา(ฟัน) ตะโจ(หนัง)
เวลาท่านสอนให้พระใหม่ภาวนา ท่านจะสอนให้ภาวนาในใจ ทั้งตามลำดับและทวนลำดับ (อนุโลม-ปฏิโลม)
คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
ให้ฝึกภาวนาดังนี้ จนใจสงบ เกิดเป็นสมาธิ เพราะเป็นกรรมฐานเบื้องต้นอย่างนี้เอง
ตจปัญจกกรรมฐานนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า มูลกรรมฐาน คือ กรรมฐานอันเป็นเบื้องต้น
การภาวนาโดยใช้ส่วนทั้ง 5 เป็นที่ตั้งนี้ ถ้าภาวนาเพื่อให้ใจสงบ ก็จัดเป็นสมถกรรมฐาน
แต่ถ้าใช้ปัญญาพิจารณาเห็นถึงความเป็นสิ่งปฏิกูลไม่อยู่ในอำนาจ ความควบคุมบังคับไม่ได้ของสิ่งเหล่านี้และพิจารณา ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มองเห็นถึงความไม่เที่ยง ทนได้ยาก และหาตัวตนเที่ยงแท้มิได้ ก็จัดเป็นวิปัสสนา
ในชีวิตประจำวันของคนธรรมดาต้องคอยบริหารส่วนทั้ง 5 นี้ให้เป็นสิ่งน่าภิรมย์อยู่เสมอ
ทั้งตัด ย้อม ทา ดัด เสริม แต่งเติม (พอก) ฯลฯ เราจะเห็นได้ว่า มีผลิตภัณฑ์มากมายที่ออกมาเพื่อช่วยในการปกปิดสิ่งเหล่านี้เราจึงมองไม่เห็นความเป็นสิ่งปฏิกูลของสิ่งทั้ง 5 นี้
สำหรับชาวบ้านผู้ถือศีลแปด ท่านให้ละสิ่งต่างๆ ที่ปกปิดสิ่งเหล่านั้นออกเสียบ้าง เช่น ไม่ให้มีเครื่องประทินผิว ลูบไล้ต่างๆ เป็นต้น จุดหมายก็เพื่อให้เห็นความเป็นปฏิกูลในสิ่งเหล่านี้เอง
สำหรับพระสงฆ์นั้น ตามวินัยแล้วต้อง 15 วันถึงจะอนุญาตให้อาบน้ำได้
ทั้งนี้ก็เพื่อให้มองเห็นความเป็นสิ่งปฏิกูลได้ง่ายขึ้น
พระที่ปฏิบัติกรรมฐานนี้อย่างเคร่งครัด จะมีกลิ่นติดตัวกันทุกองค์
กลิ่นนี้เรียกกันว่า 'กลิ่นกรรมฐาน'ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdOVEV6TURrMU5RPT0=§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdPUzB4TXc9PQ==http://3.bp.blogspot.com/