ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตะลึง.! พระพุทธรูป "พระเวชสุวรรณทิเบต"..ถูกนาซียึด ที่แท้สลักจาก "หินอุกกาบาต"  (อ่าน 2600 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ตะลึง.! พระพุทธรูป "พระเวชสุวรรณทิเบต"..ถูกนาซียึด ที่แท้สลักจาก "หินอุกกาบาต"

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญหลายรายได้เปิดเผยในเอกสารการค้นคว้า ระบุว่า พระพุทธรูป"พระเวชสุวรรณ"ที่กองทัพนาซี ยึดจากทิเบต เมื่อปี 1938 นั้น แท้จริงถูกสร้างจากอุกกาบาตที่ตกมายังโลกในอดีต

รายงานระบุว่า พระพุทธรูปดังกล่าว ถูกยึดในช่วงที่นายไฮนริช ฮิมม์เล่อร์ ผู้บัญชาการกองทัพเอสเอสของนาซี ได้นำกลุ่มเดินทางไปยังทิเบต ในช่วงปี 1938-1939 เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของชาวอารยัน ตามความเชื่อของฮิตเล่อร์ ผู้นำนาซี ซึ่งเชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่มีความสมบูรณ์แบบที่สุดของโลก

โดยนายเอิร์นต์ แชเฟอร์ นักชาติพันธุ์วิทยา ได้ค้นพบพระพุทธรูปดังกล่าว อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบจากนักโบราณคดีรุ่นปัจจุบัน พบว่า พระพุทธรูปถูกสลักจากหินอุกกาบาต โดยเป็นอุกกาบาตหายากประเภทที่เรียกว่า"อาตาไซต์"ประกอบด้วยเหล็กและนิเกล ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่า อุกกาบาตนี้ได้ตกในบริเวณมองโกเลียและไซบีเรีย ราว 15,000 ปีก่อน

    ไม่เป็นที่ทราบชัดว่า นายแชเฟอร์ นำพระพุทธรูปดังกล่าวมาได้อย่างไร
    แต่พระพุทธรูปดังกล่าวมีรูปสวัสดิกะ ซึ่งตามสัญญลักษณ์ของพุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งนำโชคดี
    โดยเมื่อพระพุทธรูปนี้ถูกนำมายังเมืองมิวนิค ก็ได้กลายเป็นสิ่งสะสมส่วนตัว

 
    และถูกนำมาเปิดเผยจากนายเอลมาร์ บุชเน่อร์ นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยสตุ๊ตการ์ท ซึ่งประมูลมาได้เมื่อปี 2009 โดยนายบุชเนอร์บอกว่า
    "การที่พระพุทธรูปดังกล่าวถูกสลักจากอุกกาบาต ย่อมหมายถึงพระพุทธรูปเป็นสิ่งที่ไม่อาจประเมินค่าได้เลย"


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1348723156&grpid=&catid=06&subcatid=0600
วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555 เวลา 12:16:46 น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2012, 12:51:09 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เครื่องหมายสวัสติกะ บนพระพุทธรูป

สวัสติกะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สวัสติกะ (ภาษาอังกฤษ: Swastika; สันสกฤต स्वस्तिक svastika)
    เป็นเครื่องหมายกากบาทที่ตรงส่วนปลายทำมุมฉาก โดยมีทั้งลักษณะที่ทิศทางด้านซ้าย (卍) หรือด้านขวา (卐)
    เครื่องหมายสวัสติกะ มีการใช้เป็นสัญลักษณ์ใน ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสน
    ในประเทศตะวันตกรู้จักกันมากในสัญลักษณ์ของฝ่ายนาซี โดยสวัสติกะของนาซีจะเอียงทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ

   
    สวัสติกะของฮินดูจะมีจุด ประดับที่มุมต่างๆ ของสัญลักษณ์
    สัญลักษณ์สวัสติกะของฝ่ายนาซี จะมีลักษณะทิศทางทางด้านขวา (卐)

    หากสังเกตดูจะพบว่าเป็นรูปอักษรโรมันตัว S 2 ตัวซ้อนกัน ซึ่งย่อมาจากคำในภาษาเยอรมัน โดย S ตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Stadt" แปลว่า บ้านเมือง และอีกตัวหนึ่งมาจากคำว่า "Sicherheit" แปลว่า ปลอดภัย



สวัสติกะแสดงถึงวัดในพุทธศาสนา ขณะที่กางเขนแสดงถึงโบสถ์คริสต์
(ภาพจากแผนที่รถไฟใต้ดินในกรุงไทเป ไต้หวัน)


สวัสติกะของศาสนาฮินดู


สวัสติกะของศาสนาเชน


สวัสติกะในสัญลักษณ์ของฝ่าหลุนกง


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก th.wikipedia.org/wiki/สวัสติกะ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

สวัสติกะประดับสร้อยคอ ศิลปะอิหร่านโบราณสมัย 1,000 ปีก่อนคริสตกาล


สวัสติกะในภาพโมเสก ศิลปะโรมัน


หลุมศพ (Stećci) ประดับลายสวัสติกะ ศิลปะยุคกลางของบอสเนีย


ตราอาร์มบอรีย์โก (Boreyko coat of arms)
ซึ่งใช้ในตราประจำตระกูลต่างๆ ของโปแลนด์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16-18


เครื่องหมายอากาศยานของกองทัพอากาศฟินแลนด์ พ.ศ. 2461 - 2488


ตราสวัสติกะของสหภาพสตรีลอตตาสวาลด์ (Lotta Svärd) ประเทศฟินแลนด์


สวัสติกะในธงประจำพรรคนาซี (ต่อมาใช้เป็นธงชาตินาซีเยอรมนี)



ขอบคุณภาพจาก th.wikipedia.org/wiki/สวัสติกะ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ