ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'นิวัฒน์ธำรง' รับปาก..ดันคลอด 'ธนาคารพระพุทธศาสนา'  (อ่าน 1902 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29299
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



'นิวัฒน์ธำรง' รับปาก..ดันคลอด 'ธนาคารพระพุทธศาสนา'

องค์กรพุทธเข้าพบ'นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล' ขอความมั่นใจหนุนตั้ง ธ.พระพุทธศาสนา ด้านรมต.สำนักฯรับปากช่วยผลักดันหากเป็นความต้องการของคณะสงฆ์และพุทธบริษัท

    ๒๑พ.ย.๒๕๕๕ ผู้แทนองค์กรชาวพุทธภายใต้การนำของพระเทพวิสุทธิกวี ประธานศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา และคณะประกอบด้วยพระเมธีธรรมาจารย์ พระครูศรีชยาภิวัฒน์ พระครูวินัยธรธีรวิทย์  และพระปลัดปิยศักดิ์ ปิยธมฺโม พร้อมด้วย พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล ประธานศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย เข้าพบนายนิวัฒน์ธำรงบุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ในฐานะที่รับผิดชอบงานด้านพระพุทธศาสนา ที่ทำเนียบรัฐบาล

     พระเมธีธรรมาจารย์ เปิดเผยว่า ประเด็นการเข้าพบเพื่อปรึกษาหารือถึงความจำเป็นและภารกิจเร่งด่วนในการเสนอร่าง พ.ร.บ. ของคณะสงฆ์ในนามรัฐบาล จำนวน ๓ ร่าง ประกอบด้วย ๑. ร่าง พ.ร.บ. ธนาคารพระพุทธศาสนา พ.ศ.... ๒. ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา พ.ศ....๓. ร่าง พ.ร.บ. แม่ชีไทย พ.ศ....
    ทั้งหมดได้ใช้เวลาพูดคุยกันกว่า ๒ ชั่วโมง บรรยากาศเป็นไปด้วยมิตรไมตรีที่ดี

    "นายนิวัฒน์ธำรงเข้าใจและยินดีที่จะให้การสนับสนุนโดยเฉพาะ พ.ร.บ. ธนาคารพระพุทธศาสนา และ พ.ร.บ. อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ถือว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเร่งออกให้ได้ ส่วนพ.ร.บ.แม่ชีไทย ก็เร่งรัดและจะนัด ผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุยกันต่อไป" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าวและว่า

  โดยเฉพาะพ.ร.บ.ธนาคารพระพุทธศาสนานั้นนายนายนิวัฒน์ธำรงบอกว่า "จะช่วยผลักดันและสำทับว่า เมื่อเป็นความต้องการของคณะสงฆ์และพุทธบริษัทก็ต้องผลักดัน" อาตมาจึงเสนอบทความเรื่องธนาคารพระพุทธศาสนา ไว้ให้รัฐมนตรีพิจารณา พร้อมหลักการและเหตุผลของพระเทพวิสุทธิกวี และนอกจากนั้นวันนี้จึงขอเสนอหลักการเพิ่มเติมถึง เหตุผลและความจำเป็นของการเกิด ธนาคารพระพุทธศาสนาในสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้





๑.เหตุผลด้านความเป็นจริง
     ๑.๑ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทย ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก
     ๑.๒ พระพุทธศาสนามีคุณูปการต่อประเทศชาติมาช้านานในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งแต่สุโขทัยมาจนถึงปัจจุบัน
     ๑.๓ ความสงบ ร่มเย็น สันติ และสมญานาม สยามเมืองยิ้ม ส่วนใหญ่ล้วนเกิดจากอิทธิพลคำสอนของพระพุทธศาสนา


๒. เหตุผลด้านการเมือง
    การที่รัฐบาลจะสร้างประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ให้แก่ทั้งรัฐบาลเองและต่อประเทศชาติ และนับเป็นการกระทำอามิสบูชาครั้งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ คุณความดี เกียติยศชื่อเสียงนี้จะติดไปทั้งโดยส่วนตัวของผู้กระทำให้บังเกิด รัฐบาลโดยรวมและแผ่นดินไทย ดังเช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์ได้ต่อสู้ผ่านยุคสมัยมายุคแล้วยุคเล่า เพื่อให้มี พ.ร.บ. เป็นของตนเอง

    การต่อสู้ผลักดันยืดเยื้อยาวนานกว่า ๖๐ ปี ในที่สุดรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี ก็ผลักดันให้ทั้งสองมหาวิทยาลัยสงฆ์มี พ.ร.บ.คลอดออกมาจนได้

    ในขณะที่อายุรัฐบาลมีไม่ถึง ๑ ปี จนบัดนี้ก็ยังเป็นเกียรติประวัติ เกียรติยศ คุณความดี ความภาคภูมิใจและคำแสร้ซ้องสรรเสริญของพระสงฆ์ที่มีต่อ นายกรัฐมนตรีที่ชื่อว่า พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น คือนายสุขวิช รังสิตพล และคณะรัฐบาลทุกคน


๓. เหตุผลด้านเศรษฐกิจ
    ปัจจุบันรัฐบาลลงทุนในโครงการใหญ่มากมาย ทั้งที่คุ้มและเสี่ยง บางอย่างก็กลายเป็น NPL แต่ก็ต้องเดินหน้าทำต่อไป รวมทั้งนโยบายประชานิยมที่ ต้องใช้เงินมหาศาลแต่ก็ต้องทำเพราะผลดีเกิดกับพี่น้องประชาชนโดยตรง และในหลายโครงการรัฐบาลก็พูดชัดเจนว่ายอมขาดทุนเพื่อประชาชนของประเทศ เช่นโครงการจำนำข้าว ธนาคาร ธกส. เป็นต้น

    แล้วทำไมการลงทุนด้านคุณงามความดีต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งในความเป็นจริงก็ใช้เงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับงบประมาณของรัฐบาล แต่เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ได้ประโยชน์ สร้างความมั่นคงให้กับพระพุทธศาสนา จะลงเลไปทำไม


๔. เหตุผลด้านศาสนา
    ชาวคริสต์ก็มีธนาคารใหญ่ที่นครวาติกัน ชาวมุสลิมก็มีธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อาตมาเชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจว่า ศาสนิกของทั้งสองศาสนาก็คงเอาใจช่วยชาวพุทธในประเทศไทย ให้มีธนาคารเป็นของตัวเอง เหมือนอย่างที่ทั้งสองศาสนามีอยู่และอำนวยประโยชน์มหาศาลต่อการเผยแผ่ของทั้งสองศาสนาทั้งในประเทศไทยและเวทีโลก

    ขณะเดียวกันทุกศาสนาล้วนสอนให้คนทำดี และสำคัญสอนเรื่องความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกันทั้งในศาสนาของตนและต่างศาสนา ไม่เลือกปฎิบัติ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว โดยเฉพาะรัฐบาลต้องให้ความเสมอภาคในทุกภาคส่วน ละเอียดอ่อนกว่านั้นคือศาสนา ควรระมัดระวัง

๕. เหตุผลอื่นๆ
   ๕.๑ ตามหลักของพระพุทธศาสนา สามารถตั้งธนาคารได้โดยไม่ขัดหลักธรรมใดๆ โดยอนุวัต ตามเรื่องเมณฑกเศรษฐีในสมัยพุทธกาลเป็นต้นเรื่อง
   ๕.๒ จะไม่มีการบังคับวัดต่างๆให้นำเงินของวัดนั้นๆมาฝากธนาคารพุทธฯ แน่นอน
   ๕.๓ จะไม่ไปข้องแวะเงินศาสนสมบัติกลางเด็ดขาด เพราะมีการบริหารกองทุนอย่างเป็นธรรมาภิบาลแล้ว


      "บัดนี้ หลังจากพวกเราได้เข้าพบ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเปิดใจกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เราพบหนทาง มองเห็นแสงสว่าง และมีความหวังอย่างที่สุดว่า รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะทำความปรารถนาของพระสงฆ์และชาวพุทธทั่วประเทศให้บรรลุเป้าหมายแน่นอน" พระเมธีธรรมาจารย์ กล่าว


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20121121/145372/นิวัฒน์ธำรงรับปากดันคลอดธ.พุทธ.html#.UK1ldWfvolh
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: 'นิวัฒน์ธำรง' รับปาก..ดันคลอด 'ธนาคารพระพุทธศาสนา'
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 22, 2012, 12:37:07 pm »
0
อยากให้มีเร็ว ๆ ครับ ผมอยากรู้ว่า กองทุนธนาคาร จะช่วยชาติ ช่วยคนได้อย่างไร ครับ

  :25: :c017: :s_good: :49:
บันทึกการเข้า