“ควงกล้องท่องโลก”
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์..สะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ด้วยพระอัจฉริยภาพและความสนพระทัยการถ่ายภาพใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงเห็นภาพเวลาเสด็จฯ ทรงงานทั้งในประเทศและต่างจังหวัด ทรงมีกล้องติดพระองค์และทรงบันทึกสิ่งที่ทอดพระเนตร อาทิ ศิลปวัฒนธรรม สถานที่ท่องเที่ยว วิถีชีวิตของผู้คน สิ่งของ ขนม สัตว์ชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
และตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เพื่อนำมาจัดแสดงอย่างต่อเนื่องที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นความรู้แก่นิสิต นักศึกษาและประชาชนทั่วไป
สำหรับปีนี้ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สร้างความประทับใจให้แก่ประชาชนคนไทยอีกครั้งด้วยการนำภาพถ่ายฝีพระหัตถ์มาจัดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ควงกล้องท่องโลก”
ซึ่งเป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระราชทานที่ทรงบันทึกไว้ระหว่างการเสด็จฯ ไปยังสถานที่ต่าง ๆ
ทั้งในและต่างประเทศ ระหว่างปี พ.ศ.2554-2555 จำนวน 181 ภาพ
ซึ่งจัดแสดงระหว่างนี้ถึงวันที่ 3 ก.พ. 2556 เวลา 10.00-21.00 น. (หยุดวันจันทร์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย



ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดนิทรรศการภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 10 ธ.ค.ที่ผ่านมา ภายในห้องนิทรรศการ ชั้น 9 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร พร้อมทอดพระเนตรและทรงบรรยายถึงที่มาและเรื่องราวของภาพถ่ายฝีพระหัตถ์บางส่วนที่นำมาจัดแสดงว่า
เวลาเดินทางไปไหนมาไหนพกกล้องมีลักษณะแขวนพะรุงพะรัง แต่ถ้าต้องไปงานหรูหราต้องเก็บกล้องไว้ในกระเป๋า จนเดี๋ยวนี้ต้องออกแบบเสื้อใหม่คล้ายเสื้อช็อปของเด็กนักเรียนอาชีวะ เพื่อประกอบอาชีพให้เหมาะสม เรื่องการถ่ายภาพทำให้นึกถึงสมัยก่อนที่มีการสื่อข่าวด้วยภาพ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน มีเทคโนโลยีเข้ามาทำให้ถ่ายภาพง่ายขึ้น ซึ่งกล้องถ่ายรูปนั้นดีอยู่แล้วแต่ต้องขึ้นอยู่กับคนถ่ายด้วย
ภาพ ได้ประโยชน์สองสถาน ได้พลังจากแดดและหลบแดด
ระหว่างทรงบรรยายทรงยกตัวอย่างความเป็นมาของภาพถ่ายฝีพระหัตถ์หลาย ๆ ภาพ อาทิ
ภาพถ่ายชื่อ “ชาวประมงจับปู” เป็นชายสองคนยืนถือปูที่จับได้ซึ่งอยู่ในเขตป่าชายเลนระหว่างประเทศบังกลาเทศและเบงกอลตะวันตก มีรับสั่งว่าที่นี่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งคือ เสือเบงกอล ตอนที่ไปไม่ได้เจอเสือ หลายคนบอกว่าเป็นความโชคดี จึงได้เจอแต่นก ลิง และสัตว์อื่น ๆ ภาพ ศาลพระภูมิหลังน้ำท่วม
ภาพ “พระภูมิหลังน้ำท่วม” เป็นภาพศาลพระภูมิที่ จ.น่าน ซึ่งประสบอุทกภัยแต่ผ่านการฟื้นฟูแล้ว รับสั่งว่าตอนนี้จึงมีความคิดใหม่ๆ ว่า ควรทำเป็นศาลพระภูมิไฮดรอลิกแบบลอยน้ำได้ ภาพ ตึกสูง บ้านเตี้ย
ขณะที่ภาพ “ตึกสูง บ้านเตี้ย” รับสั่งว่าทอดพระเนตรจากการล่องเรือที่มีบ้านเตี้ยและตึกสูงอยู่ริมฝั่ง แสดงให้เห็นความแตกต่างถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในสังคมไทยที่มีความหลากหลายในความเป็นอยู่ทั้งเรื่องวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ แม้มีความแตกต่างก็อยู่กันได้อย่างกลมกลืนและมีความสุข ภาพ ปู่โสม (ปู่เมธ) เฝ้าแปลงผัก
ส่วนภาพ “ปู่โสม (ปู่เมธ)เฝ้าแปลงผัก” เป็นภาพแปลงผักที่มีรูปถ่าย ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เสียบไม้ปักอยู่ ทรงบรรยายว่า ผักถือเป็นทรัพย์ได้เหมือนกัน เพราะเวลาอยากได้อะไรก็ต้องทำต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่เมื่อปลูกผักเองสามารถแน่ใจได้ว่าปลอดสารพิษ ปู่เลยต้องเฝ้าไว้ พอกินเหลือก็ได้เพาะพันธุ์ต่อไปเอาไปให้ประชาชนก็สามารถช่วยเหลือให้มีชีวิตที่มีความสุข สามารถปลูกผักกินเองและยังนำไปขายได้ คุณปู่ก็คงดีใจภาพ สี แสง และเงาลึกลับ
นอกจากร่วมชื่นชมพระอัจฉริยภาพด้านการถ่ายภาพผ่านนิทรรศการ ผู้สนใจสามารถเก็บภาพความประทับใจในรูปแบบหนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ควงกล้องท่องโลก” ราคาเล่มละ 900 บาท มีจำหน่ายที่หอศิลปวัฒนธรรมฯ และศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย.ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/society/171788