หลายท่าน มักจะถาม อาตมา ( อาจารย์ ) ว่าทำไม่ไม่ ภาวนา อยู่ในวัด ละ เพราะอยู่ในวัด น่าจะได้ประโยชน์ในด้านการภาวนา มากที่สุด หลาย ๆ ท่านก็ ก็มักจะคิดไปในทางนั้น กันเป็นส่วนใหญ่
วันนี้จะเล่า วัตรปฏิบัติเวลาอยู่ วัด ให้ฟังกันนะจ๊ะ
03.30 น. ตื่น เตรียมตัวทำวัตร สวดมนต์
04.30 น. ทำวัตรส่วดมนต์ ประมาณ 1.30 ชั่วโมง
05.40 น. ออกบิณฑบาตร ประมาณ 1.30 ขั่วโมง
ระหว่าง รอ กลับมาตั้งสำรับ เตรียมภาชนะ และ ทำความสะอาด บริเวณใกล้เคียง
07.30 น. ฉันภัตร์เช้า ประมาณ 1 ชั่วโมง
08.30 น. ทำความสะอาด สถานที่พักอาศัย มีศาลา กุฏิ ครูอาจารย์เป็นต้น
ประมาณ 1.30 ขั่วโมง
10.00 น. พักอ่านหนังสือ พักอิริยาบถ
ถ้ามีกิจนิมนต์ ฉันเพล สวดก็หมดเวลาพัก กว่าจะกลับ ก็ เที่ยงกว่า ๆ
10.50 น. เตรียมภัตร เพล ภาขนะ อาหาร
ถ้ามีกิจนิมนต์ฉันเพล ในวัด เช่น งานศพเลี้ยงเพล ก็เสร็จกัน เที่ยงกว่า ๆ
11.00 น. ลงฉันเพล ประมาณ 1 ชั่วโมง
12.00 น. พักอิริยาบถ
เวลาตามหมายเหตุ ( ตามเหตุการณ์ )
จะเห็นว่า มีเวลาว่าง 12.00 - 16.00 น. ใช่ไหม ( แต่ยังไม่ได้กล่าวเหตุการณ์ )
16.00 น. ทำความสะอาดบริเวณวัด ด้านล่าง ที่เรียกว่า กวาดวิหาร ลานเจดีย์ ยิ่งมีสถานที่มาก ก็ยิ่งต้องทำมาก และถ้ายิ่งมีพระน้อย หรือ พระที่ติดกิจอื่น อีก ก็ยิ่งต้องทำมาก
17.30 น. เตรียมตัว สรงน้ำ ทำวัตรเย็น
18.00 น. ทำวัตรเย็น
ก็กิจกรรมนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำ ส่วนใหญ่ก็ประมาณ 2 ชั่วโมง ทุกวันเป็นอย่างนั้น
20.00 น. พักผ่อน ตามอัธยาศํย แต่ถ้ามีกิจนิมนต์ เช่น สวดพระอภิธรรม ก็ยาวอีก
ถ้ามีกิจนิมนต์ 19.30 น. - 20.45 น. ประมาณนี้
21.00 น. พักผ่อนจริง ๆ
อันนี้เป็นตาราง สำหรับ พระทั่วไป นะจ๊ะ จะเห็นว่า มีช่องว่าง ให้พักอยู่ 3 ช่วงในวัน คือ
21.00 - 03.30 น. นอนพัก หรือ จะเลือกภาวนา
10.00 - 11.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี
12.00 - 16.00 น. พัก หรือ จะทำอะไรดี
อันนี้แบบปกติ สำหรับพระทั่วไป นะ๊จ๊ะ แต่ก็ต้องทำอย่างนี้
ปฏิทินกิจกรรมงานบุญประเพณี วัดแก่งขนุน
๑.งานปริวาสกรรม ๑๑ ม.ค. ถึง ๒๑ ม.ค. ทุกปี
๒.งานฟังเทศน์มหาชาติ ทุกปี
๓.งานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ทุกปี 28 มี.ค. - 15 เม.ย.
๔.งานประเพณีสงกรานต์ 13 - 14 เม.ย.
๕.งานเวียนเทียนในสำคัญทางพระพุทธศาสนา
๖.งานปฏิบัติธรรม ในวันแม่
๗.งานปฏิบัติธรรม ในวันพ่อ
และงานย่อยอื่นๆ อีก สอบถามได้ที่

ภาพประกอบนี้จาก
http://www.bloggang.com/data/pakwanเวลาจะทำกุฏิในป่า ก็ต้องการทรงนี้ แต่พอไปทำมา ด้วยอุปกรณ์เหลือต่าง ๆ ไม่ได้ทรงนี้สักที
กิจวัตร ๑๐ อย่างของพระสงฆ์ ที่ควรอ่านและปฏิบัติ
ของฝากสำหรับตัวข้าพเจ้าเองและเพื่อนพระภิกษุ
ประโยชน์ของกิจวัตร ๑๐ อย่าง
1. ลงอุโบสถ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง อุ
1. ได้ส่งเสริมพระธรรมวินัย
2. ทำให้เกิดความสามัคคี
3. มีความบริสุทธิ์
4. มุตตกนิสัย
5. คนเลื่อมใสศรัทธา
6. พาให้เป็นแบบอย่างที่ดี
2. บิณฑบาต เลี้ยงชีพ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง บิณ
1. ได้เจริญรอยตามยุคลบาท
2. ได้โอกาสออกกำลังกายตอนเช้า
3. ได้เข้าถึงความสำนึกในพระคุณแม่
4. ได้เห็นทุกข์ในการแสวงหาอาหาร
5. ได้เห็นความต้องการของประชาชน
6. ได้ทำตนให้เป็นเนื้อนาบุญยิ่งขึ้น
3. สวดมนต์ไหว้พระ , ได้ประโยชน์ 6 สวด
1. ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า
2. เข้าใจศาสนพิธี
3. มีจิตเป็นกุศล
4. ทำตนให้แกล้วกล้า
5. ชาวบ้านศรัทธา
6. รักษาสัทธรรม
4. กวาดวิหารลานเจดีย์ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง กวาด
1. ได้ออกกำลังกาย
2. ทำให้สถานที่สะอาด
3. ปราศจากโรคภัย
4. จิตใจคลายเครียด
5. เสนียดจัญไรลดลง
6. คงไว้ซึ่งศรัทธา
5. รักษาผ้าครอง , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง รัก
1. ได้ตื่นแต่เช้า
2. เอาใจใส่ในกิจวัตร
3. ฝึกหัดจิตใจ
4. ทำให้สุขภาพดี
5. มีความจำเยี่ยม
6. เตรียมตารางชีวิต6. อยู่ปริวาสกรรม , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง อยู่
1. ได้ปฏิบัติตามกิจวัตร
2. ได้กำจัดอาบัติโทษ
3. ได้โปรดญาติโยม
4. ได้ข่มมานะและทฏิฐิ
5. ปิติปราโมทย์
6. ได้ประโยชน์ในการแพร่ศาสนา
7. โกนผม โกนหนวด ตัดเล็บ , ได้ประโยชน์ 3 อย่าง โกน
1. เป็นการประหยัด
2. ขจัดความสกปรก
3. ยกย่องธรรมเนียม
8. ศึกษาและปฏิบัติครูอาจารย์ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง ศึก
1. เข้าใจในหลักของตน
2. พ้นความสงสัย
3. ป้องกันภัยจากอาบัติ
4. ยืนหยัดกตัญญู
5. เคารพครูอาจารย์
6. สืบสานวัฒนธรรม
9. เทศนาบัติ , ได้ประโยชน์ 6 อย่าง เท
1. เป็นผู้ไม่ประมาท
2. ปราศจากมลทิน
3. มีศีลบริสุทธิ์
4. หยุดความวิปฏิสาร
5. ทำการบอกอาบัติ
6. กำจัดความรังเกียจ
10. พิจารณาปัจจเวกขณะ , ได้ประโยชน์ 3 อย่าง พิ
1. ไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
2. ฉันอาหารไม่เป็นโทษ
3. เป็นประโยชน์แก่กัมมัฏฐาน