ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ของท่านครูบาศรีวิชัย เป็นเช่นไร.?  (อ่าน 2084 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29309
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ครูบาน้อย 'กิจของสงฆ์ไม่มีเกษียณ'
ครูบาน้อย เตชปญฺโญ ในวันที่'กิจของสงฆ์ไม่มีเกษียณ' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

   "คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำแล้วคิด คิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด คิดก่อนไป ไม่ใช่ไปแล้วคิด คิดดี เพื่อดี คิดดี สู่ดี ของจริงทำจริง เห็นจริง ของดีทำดี เห็นดี คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี คิดชั่ว ทำชั่ว ได้ชั่ว ฉะนั้น ให้ถึงพร้อมทานศีลภาวนา นิพพานัง ปรมัง สุขัง”

      "วันนี้ คือ ชาตินี้ วันพรุ่งนี้ คือ ชาติหน้า วันเวลามันเร็ว จะทำความดีก็รีบทำอย่าผัดวันประกันพรุ่ง อย่าหลงใหลในลาภ ยศ สรรเสริญ อย่าปล่อยให้ โลภะ โทสะ โมหะ มาครอบงำ ต้องมีสติ คาถาชนะมาร คือ อดทน อดทน อดทน อดทน"

      ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคำสอนของพระครูสิริศีลสังวร หรือ ครูบาน้อย เตชปญฺโญ เจ้าอาวาสวัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่

     ส่วนคำสอนที่ครูบาน้อยมักจะสอนพระเณรทั้งในวัดและเดินทางไปเยี่ยม คือ
     "เป็นพระต้องหลับดึกๆ ตื่นแต่เช้าๆ หมั่นไหว้พระ สวดมนต์ ฟังธรรม เดินจงกรม
     เที่ยวบิณฑบาต(ภิกขาจาร) อดทน อดทน อดทน คือ
     ขันติที่มีสมาธิกำกับ มารไม่มีบารมีไม่เกิด บารมีจะเกิดเมื่อมีมารมาทดสอบ"


     แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง ๖๐ ปี แต่วัตรปฏิบัติประจำวันของครูบาน้อยไม่เคยเปลี่ยนแปลง
     ถ้าอยู่ที่วัดท่านจะตื่นตั้งแต่ ๐๔.๐๐ น. เพื่อนำพระภิกษุสามเณรในวัดสวดมนต์ ทำสมาธิ และเดินจงกรม
     จากนั้นเวลา ๐๗.๐๐ น. ออกบิณฑบาต ออกโปรดพุทธศาสนิกชน
     จากนั้นก็อยู่วัดโปรดญาติโยมที่ไปกราบไหว้ขอพร จนถึงเวลา ๑๘.๐๐ น. ก็จะนำภิกษุสามเณรทำวัตรเย็น ทำสมาธิ แผ่เมตตา เว้นแต่มีกิจนิมนต์ต่างจังหวัดเท่านั้น และวัตรปฏิบัติหนึ่งที่ครูบาน้อยทำไม่เคยขาดคือ ทุกข้างขึ้นของทุกๆ เดือน ท่านจะไปทำบุญตักบาตรพระเณร ๑๐๘ รูป ณ หน้าอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย เชิงดอยสุเทพ





    ส่วนวัตรปฏิบัติของครูบาน้อยที่เรียกว่าพิเศษ หรือแตกต่างจากพระรูปอื่นๆ คือ หากเป็นวันพระ จะเว้นอาหาร
     คือ รับบิณฑบาตมาได้เท่าใดจะนำถวายพระพุทธเจ้าทั้งหมด เรียกว่า "ข้าวชีวิต"
     และในวันนั้นท่านจะเจริญภาวนาทั้งวัน ที่สำคัญคือ ท่านไม่ดูทีวี ไม่ฟังวิทยุ ไม่ใช้โทรศัพท์ อยากคุยต้องมาเจอเองที่วัด


     ทั้งนี้ครูบาน้อยได้สร้างศาสนสถานภายในวัดศรีดอนมูล
     ทั้งโบสถ์ วิหาร ศาลา และกุฏิ เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาจากฝีมือสล่าเชียงใหม่
     นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำทิพย์ภายในวัดศรีดอนมูล เชื่อกันว่าช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชะงัด
     ก่อนนำไปใช้ต้องทำจิตใจให้บริสุทธิ์ มีสมาธิ จึงจักบังเกิดผลต้องตามความประสงค์

     ส่วนโครงการหนึ่งที่ครูบาน้อยกำลังดำเนินการก่อสร้างซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จคือ เจดีย์ ๙ คณาจารย์

     นอกจากนี้ครูบาน้อยยังมีเมตตาต่อผู้เฒ่า ผู้แก่ ผู้ยากไร้ ท่านจะแจกทานแก่บุคคลเหล่านี้ทุกครั้งที่มีงานบุญในวัดศรีดอนมูล รวมทั้งมีเมตตาต่อชุมชนคนใกล้วัด โดยริเริ่มสร้างโรงพยาบาลในหมู่บ้านศรีดอนมูล โดยหาทุนซื้อที่ดิน รวมทั้งสร้างอาคารทั้งหมด

     มนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้ไปกราบไหว้ขอพรคือ
     คำประพรมท่านรับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่หล้าตาทิพย์ (พระครูจันทสมานคุณ)
     ซึ่งคำประพรมน้ำมนต์นี้เป็นคำโคลงของล้านนาไทย ที่อวยพรให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมให้มีความสุขความเจริญในหน้าที่การงาน ตลอดถึงมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ว่าจะไปรดครั้งละกี่คนท่านร่ายคำโคลงของล้านนาไทยไม่ต่ำกว่า ๑๕ นาที


      พระครูจันทสมานคุณ หรือ หลวงปู่หล้า ตาทิพย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าตึง หมู่ ๒ ต.ออนใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ อดีตพระเกจิชื่อดังของล้านนา ซึ่งคำประพรมน้ำมนต์นี้เป็นคำโคลงของล้านนาไทย ที่อวยพรให้แก่คณะศรัทธาญาติโยมให้มีความสุขความเจริญในหน้าที่การงาน ตลอดถึงมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง





      เมื่อถามว่าจะเลิกหรือหยุดเข้านิโรธกรรมปีไหน ครูบาน้อย พูดไว้อย่างน่าคิดว่า
      "ตอนนี้สุขภาพจิต สุขภาพกายยังพร้อม กิจของสงฆ์ไม่มีวันเกษียณ จึงของปฏิบัติเข้านิโรธกรรมต่อไป จนกว่าสังขารจะไม่เอื้ออำนวย"

    สำหรับชาติภูมิของ "ครูบาน้อย" นั้น ชื่อและสกุลเดิม คือ "ประสิทธิ์ กองคำ"
    เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ ณ บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่
    ด้วยความที่เป็นคนสนใจในพระพุทธศาสนา จึงเข้าพิธีบรรพชาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๐๗ โดยมีครูบาอิ่นแก้ว วัดกู่เสือ จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังจากร่ำเรียนศึกษาตำรายาสมุนไพร และสอบนักธรรมเอกสำเร็จ เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔ ณ วัดพญาชมพู โดยมีครูบาอุ่นเรือน วัดป่าแคโยง จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ฉายา “เตชปญฺโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาเป็นเดช ภายใต้ร่มบวรพระพุทธศาสนา มาจนถึงปัจจุบัน


      นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นศึกษาสรรพวิชาตำราแขนงต่างๆ ทั้งปริยัติธรรม แผนกบาลี ณ สำนักเรียนวัดพระธนาหริภุญชัย จ.ลำพูน ฝึกวิปัสสนากรรมฐานจากครูบาผัด และครูบาพรหมมา พรหมจักโก ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูน ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์ และพระคาถาต่างๆ จากพระครูจันทสมานคุณ หรือหลวงปู่หล้า วัดป่าตึง จ.เชียงใหม่ และศึกษาวิชาอักขระภาษาล้านนาวิทยาคม ด้านเมตตามหานิยม ตำรายาสมุนไพร จากครูบาคำปัน นันทิโย วัดหม้อคำตวง จ.เชียงใหม่

      ภายใต้ศีล ๒๒๗ ข้อ ครูบาน้อยได้ตั้งมั่นบำเพ็ญเพียรอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด จริยวัตรปฏิบัติเรียบง่าย มีปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสของผู้พบเห็น พระเถระผู้ประพฤติปฏิบัติในจริยวัตรแห่งสงฆ์ได้อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับความเป็นผู้รู้สำนึกในคุณบุพการี ครูบาอาจารย์ และผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา จนกระทั่งเป็นที่กล่าวขานตั้งสมญานามให้ว่า “นักบุญยอดกตัญญู”





สองทศวรรษแห่งพลังอานุภาพ “นิโรธกรรม”

    การปฏิบัติ เข้า-ออกนิโรธกรรมประจำปีของครูบาน้อย เป็นแบบเฉพาะที่ผสมผสานกับธุดงควัตร
    หมายถึง นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ดำเนินตามรอยของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
    อันเป็นกุศโลบายเฉพาะ มุ่งขัดเกลากิเลสให้บางเบาลงไปเป็นครั้งเป็นคราว
    แตกต่างกับนิโรธสมาบัติของพระอริยเจ้าที่ตัดกิเลสได้

    นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ เป็นการดับอายตนะชั่วคราว เพื่อความสงบแห่งจิต
    เป็นแนวทางที่ครูบาน้อยยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นอาจาริยบูชา มาตาปิตุบูชา เป็นเวลาตามกำลังที่จะปฏิบัติได้

    ครูบาน้อย บอกว่า การนิโรธกรรม เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคง
    จากนั้น ภายใน ๓-๕-๗-๙ วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตร
    ขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง ๕ วา ยาว ๕ วา มีประตูปิดเปิด

 
    ความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ เข้า ๓ วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    เข้า ๕ วัน คือ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตไตรยโย
    เข้า ๗ วัน คือ พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะ
    เข้า ๙ วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑


    สำหรับการเข้านิโรธกรรม ใน พ.ศ.๒๕๕๖ นี้ ถือว่าเป็นปีที่ ๒๐
    นับตั้งแต่การเข้านิโรธกรรมของครูบาน้อย ปีที่ ๑ พ.ศ.๒๕๓๗ เป็นต้นมา ถึงปัจจุบันเป็นปีที่ ๒๐
    โดยใน พ.ศ.๒๕๕๖ ท่านจะเข้านิโรธกรรม ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๗ กุมภาพันธ์
    โดยวันที่ ๑๗ ซึ่งเป็นวันออกนิโรธกรรมนั้น เวลา ๐๖.๐๙ น. ครูบาน้อยจะออกรับบิณฑบาต
    จากนั้นเวลา ๑๓.๐๐-๑๗.๐๐ น. จะมีพิธีทอดผ้าป่าเพื่อสมทบทุนสร้างมหาวิหารธรรมสามัคคีรวมใจและโรงพยาบาล


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130211/151527/ครูบาน้อยกิจของสงฆ์ไม่มีเกษียณ.html#.UT0oGzd6W85
http://www.watsridonmoon.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 11, 2013, 11:00:38 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ