« เมื่อ: เมษายน 11, 2013, 10:48:19 am »
0
ไม่มีอะไร เป็นได้ดั่งใจ สิ่งที่หวัง มักเป็น สิ่งที่ไม่ตรงกับใจ ที่คาดหวัง
พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑.มหาขันธกะ]
๖.ปัญจวัคคิยกถา ( เล่มที่ 4 หน้า ที่ 21 ฉบับมหาจุฬา )
[๑๔] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์
แม้ความเจ็บก็เป็นทุกข์
แม้ความตายก็เป็นทุกข์
ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์
ความไม่ได้สิ่งที่ปรารถนาก็เป็นทุกข์
โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์
มนุษยเราเกิดมา ก็ทุกข์ ก็ลำบาก อยู่ด้วยเรื่องที่กล่าว มานี้แหละ ถ้าเราคาดหวังสิ่งใด แล้วไม่ได้ดั่งใจ สิ่งนั้นก็คือความทุกข์ ที่แล่นโลดพาใจให้หม่นหมอง ดังนั้นสิ่งสำคัญในการภาวนา คืออะไร ? ก็ต้องเข้าใจ ดังนั้นขอแบบ่ง ระดับการภาวนาแบบง่าย ๆ ใหท่านเข้าใจกันบ้าง
1.ทำใจ ข่มใจ
การทำใจ ข่มใจ ย่อมเป็นอาการที่หลายคนต้องพยายามทำ จะใช้วิธีการใด วิธีการหนึ่งตามความถนัด แต่ก็เป็นวิธีที่มาตรฐาน เพื่อไม่ใหใจเป็นทุกข์ วิธีนี้มีมากมาย ถ้าจะกล่าวออกมา เช่นการคิดแง่บวก เป็นต้น แต่วิธีการแบบนี้ก็ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา จริง ๆ การทำใจ ข่มใจ ก็มี ศีลเป็น มาตรฐาน
2.ปล่อยวาง
เป็นวิธีที่ยินยอม และไม่ข้าไปยุ่ง หนีไปให้ไกลจากทุกข์นั้น การปล่อยวางเป็นวิธีการยอมรับความทุกข์ที่เกิดนั้นว่า มันทุกข์อย่างนี้ เ่ช่นเป็นโรคเจ็บ ก็ต้องปล่อยวาง เพราะความเจ็บเป็นสิ่งที่ไม่ได้ ก็ต้องพยายามปล่อยวาง ดังนั้นการปล่อยวางเป็นการเผชิญกับความจริงที่เกิด ด้วยการข่มใจ เรียว่า ตบะ ใครทำได้ ดี อนุโมทนา แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ การปล่อย มีสมาธิ เป็น มาตรฐาน
3.รู้แจ้งเห็นจริง
เรียกว่าการเข้าไปประจักษ์ ในความเป็นจริง เพื่อเห็นจริงว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ ทุกข์เกิดอย่างนี้ ทุกข์ตั้งอยู่อย่างนี้ ทุกข์ดับไปอย่างนี้ ทุกข์ดับได้แล้วอย่างนี้ การประจักษ์จึงต้องอาศัยปัญญาเข้าไปเห้นตามความเป็นจริง เรียกว่า เห็นแ้จ้ง อริยสัจจะ การเห็นอย่างนี้เป็นการบรรลุธรรม เพราะเมื่อเห็นแจ้งรู้จริง การดับทุกข์ ดับกิเลสจึงมีขึ้นได้ ตามหลักชองพระพุทธศาสนา เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม
การเข้าไปประจักษ์ รู้แจ้งเห็นจริง ในเบื้องต้นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ
วิธีการเข้าไปประจักษ์ตามความเป็นจริงนั้น ต้องเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา พร้อมกันไม่ขาดองค์ใดองค์หนึ่ง การเจริญอริยมรรค ก็ต้องครบทั้งองค์ 8
ในหลักการภาวนาส่วนนี้ เท่าที่พิสูจน์ด้วยความเข้าใจรู้แจ้งแล้ว การเดินโพชฌงค์ 7 นั้นเป็นวิธีการที่รวบลัดที่สุด ที่ครูอาจารย์ถ่ายทอดกันมา เพราะมีวิธีการไม่มากแต่เป็นลำดับที่ถูกต้อง แต่ผู้ที่เดินโพชฌงค์ 7 ได้นั้น ต้องหมั่นฝึกฝน พระพุทธานุสสติให้แน่นก่อน จึงจะทำการเดินจิตได้ดี และ เร็ว ในการภาวนา
ฝากไว้เพียงเท่านี้ก่อน


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2013, 12:00:25 pm โดย arlogo »

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ