ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" มีที่มาอย่างไร.?  (อ่าน 5673 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


"สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" มีที่มาอย่างไร.?

คำพังเพย "สวรรค์ในอก นรกในใจ" มีความหมายว่า ใจคนเรานั้นเป็นสำคัญ จะดีจะชั่วจะทุกข์จะสุขก็ย่อมขึ้นอยู่ที่ตัวของเรา จะเลือกที่จะคิดหรือที่จะเป็น ซึ่งคำพังเพยนี้ท่านขุนวิจิตรมาตราได้อธิบายไว้ในหนังสือสำนวนไทย ว่าเทียบได้กับพุทธสุภาษิตที่ว่า
    "นรกไม่มีผู้ใดก่อสร้างขึ้น คือ ไฟโกรธในใจให้เกิดไฟนรกและเผาผลาญเจ้าของไฟที่ให้เกิดขึ้นนั้น เมื่อผู้ใดทำการชั่ว ผู้นั้นจุดไฟนรกขึ้นและผู้นั้นย่อมไหม้ไปด้วยไฟของตนเอง"

        ในโคลงโลกนิติสำนวนเก่า ได้มีโคลงกระทู้ "สวรรค์ในอกนรกในใจ" ดังนี้
         .........สวรรค์ แสวงสุขได้.........เสียกรรม
         ในอก อิ่มบุญธรรม....................เที่ยงได้
         นรก รักบาปนำ........................ไปสู่ ทุกข์แฮ
         ในใจ ให้สุขให้.........................ทุกข์ด้วยใจเอง ฯ


        อธิบายเพิ่มเติม ด้วยโคลงในหนังสือ "ปัญหาขัดข้องในวชิรญาณ ดังนี้
        ............เราดีเขาว่าร้าย..............ช่างเขา
        สวรรค์นรกอกใจเรา...................ย่อมแจ้ง
        ใช่ควรจะถือเอา........................เป็นมั่น
        ดีชั่วอาจกลั่นแกล้ง....................กล่าวได้ดุจจริง ฯ

_______________________________________________________________
ที่มา http://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20090318185540AAytuXV




ความหมายตามพจนานุกรม
      สวรรค์ในอก นรกในใจ, สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ
      (สํา) น. ความสุขที่เกิดจากการทำความดี หรือความทุกข์ที่เกิดจากการทำความชั่ว ย่อมอยู่ในใจของผู้ทำเอง
.
___________________________________________
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://ahph9thi.gotoknow.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ" มีที่มาอย่างไร.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 05, 2013, 11:21:24 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
ขณสูตร

    [๒๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ อันเราเห็นแล้ว

    ในผัสสายตนิกนรกนั้น สัตว์จะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าปรารถนา ย่อมเห็นแต่รูปไม่น่าใคร่ ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าใคร่ ย่อมเห็นแต่รูปอันไม่น่าพอใจ ย่อมไม่เห็นรูปอันน่าพอใจ
    จะฟังเสียงอะไรๆ ด้วยหู...
    จะดมกลิ่นอะไรๆ ด้วยจมูก...
    จะลิ้มรสอะไรๆ ด้วยลิ้น...
    จะถูกต้องโผฏฐัพพะอะไรๆ ด้วยกาย...
    จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
    ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา
    ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าใคร่ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าใคร่
    ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันน่าพอใจ


    [๒๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย สวรรค์ชื่อว่า ผัสสายตนิกะ ๖ ชั้น เราได้เห็นแล้ว

    ในผัสสายตนิกสวรรค์นั้น บุคคลจะเห็นรูปอะไรๆ ด้วยจักษุ
    ก็ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าปรารถนา ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าปรารถนา
    ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าใคร่ ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าใคร่
    ย่อมเห็นแต่รูปอันน่าพอใจ ย่อมไม่เห็นรูปอันไม่น่าพอใจ ฯลฯ


    จะรู้แจ้งธรรมารมณ์อะไรๆ ด้วยใจ
    ก็ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าปรารถนา ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าปรารถนา
    ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์ที่น่าใคร่ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์ที่ไม่น่าใคร่
    ย่อมรู้แจ้งแต่ธรรมารมณ์อันน่าพอใจ ย่อมไม่รู้แจ้งธรรมารมณ์อันไม่น่าพอใจ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นลาภของเธอทั้งหลายแล้ว เธอทั้งหลายได้ดีแล้ว
    ขณะเพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เธอทั้งหลายได้เฉพาะแล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๒

_____________________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=3253&Z=3276         




อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค สฬายตนสังยุตต์ เทวทหวรรคที่ ๔
๒. ขณสูตร

    อรรถกถาขณสูตรที่ ๒               
    ในขณสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
    บทว่า ฉ ผสฺสายตนิกา นาม ความว่า นรกชื่อว่า ผัสสายตนะ ๖ ไม่มี.
    นรกทั้งหลายที่ชื่อฉผัสสายตนิกา แต่ละชื่อไม่มี.
    จริงอยู่ บัญญัติว่า ผัสสายตนะทางทวาร ๖ ย่อมมีในมหานรก แม้ทั้งหมด ๓๑ ขุมนั่นเอง.


    แต่คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอา อเวจีมหานรก.
    แม้ในบทว่า สคฺคา (สวรรค์) นี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะ บุรีดาวดึงส์ เท่านั้น.
    แต่ชื่อว่าบัญญัติแห่งอายตนะหก แม้แต่ละอย่างในกามาวจรเทวโลกไม่มีก็หาไม่.

    ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฉผัสสายตนิกานี้ไว้ทำไม.
    ตอบว่า ใครๆ ไม่อาจจะอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในนรกได้ เพราะได้รับแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว    
    และไม่อาจอยู่ประพฤติมรรคพรหมจรรย์ในเทวโลกได้
    เพราะเกิดความประมาทด้วยสามารถความยินดีในการเล่นโดยส่วนเดียว
    เพราะได้รับความสุขโดยส่วนเดียว
.


    ส่วนมนุษยโลกมีความสุขและความทุกข์ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ. นี้ชื่อว่าเป็นกรรมภูมิของมรรคพรหมจรรย์.
    กรรมภูมินั้น พวกท่านได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ซึ่งเป็นของมนุษย์ที่พวกเธอได้กันแล้ว จัดเป็นลาภของพวกท่าน และภาวะเป็นมนุษย์ที่พวกเธอได้แล้วนี้ ก็เป็นขณะเป็นสมัยของการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ที่พวกเธอได้.

               
    สมจริงดังคำที่พระโปราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า.
    การเจริญมรรคในที่นี้ นี้ก็เป็นกรรมภูมิ ธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความสังเวชเป็นอันมาก ในที่นี้ก็เป็นฐานะอยู่ ท่านเกิดความสังเวชแล้ว ก็จงประกอบความเพียรโดย แยบคายในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวชเถิด.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํเวคา แปลว่า ความสังเวช.
            จบอรรถกถาขณสูตรที่ ๒
             
__________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=18&i=214
ขอบคุณภาพจาก http://ahph9thi.gotoknow.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 05, 2013, 11:26:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ