ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธรูป ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท  (อ่าน 2379 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระพุทธรูป ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์ ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ทั้งสองวางที่พระเพลา (ต้นขา) พระบาทซ้ายทรงเหยียบพระบาทขวา เป็นกิริยากดพระบาท


คติและสัญลักษณ์ของการประทับรอยพระพุทธ บาทที่มาจากเหตุการณ์ ในพุทธประวัติก็คือ การประทับรอยพระบาทตามคำขอของพระอริยสาวกท่านหนึ่ง คือ สัจพันธ์ฤๅษี หรือของพญานาค หรือของพราหมณ์ชื่อ มาคัน ทิยะ นั้น เป็นเรื่องราวตามพุทธประวัติ

แต่ในคติและสัญลักษณ์อัน สำคัญที่น่าจะพิจารณาก็คือ การประทับรอยพระบาทเป็นสัญ ลักษณ์ของการมาถึงของพระ พุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของ การประกาศดินแดนที่มีพุทธ ศาสนิกชนที่ได้นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ผู้ศรัทธาจึงได้ทำสัญลักษณ์ เป็นรอยพระบาทไว้ในพื้นที่ที่ พุทธศาสนาได้ตั้งมั่น

ส่วนคติของพระพุทธบาทก็คือ ความหมายของรอยพระบาทจากพุทธประวัติตอนที่พราหมณ์มาคันทิยะเห็นรอยพระพุทธบาทแล้วทราบว่าเป็นรอยเท้า ของคนสละกามได้แล้ว

สรุปรวมของพระพุทธรูปปางประดิษฐานรอยพระบาทหรือรอยพุทธบาท ที่ปรากฏในพื้นที่ต่างๆ ก็คือ เป็นบริเวณที่พุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ได้มาประดิษ ฐานอย่างมั่นคงในพื้นที่นั้น


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOREk0TURRMU5nPT0=&sectionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE15MHdOQzB5T0E9PQ==
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระพุทธรูป ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 10:51:51 am »
0



ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาท

การประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเกี่ยวข้องกับพุทธประวัติถึง ๓ เหตุการณ์ดังนี้

การประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ณ ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที
สมัยหนึ่งพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเขาสัจพันธ์บรรพต เพื่อโปรดสัจพันธ์ฤาษีเจ้าแห่งสัทธิหนึ่งซึ่งมีบริวารเป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์หยุดบุษบกอยู่กลางอากาศ ทรงทรมานสัจพันธ์ฤาษีให้ละมิจฉาทิฏฐิเช่นเดียวกับที่เคยโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง จนสัจพันธ์ฤาษีได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา แล้วขึ้นบุษบกตามเสด็จพระบรมศาสดาไป ในครั้งนั้นพระพุทธองค์ทรงทำภัตกิจที่บ้านนายพาณิชคนหนึ่งนามว่า จุฬปุณณ แล้วจึงเสด็จกลับ ครั้งนั้นพญานาคราชได้ทูลขอให้เหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานทีเพื่อสำหรับสักการบูชา





การประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ณ เขาสัจพันธ์
ครั้นเมื่อพระบรมศาดาเสด็จต่อมาจนถึงเขาสัจพันธ์บรรพตจึงตรัสกับพระสัจพันธ์ภิกษุว่า  “แต่เดิมเธอเป็นคณาจารย์ใหญ่มีบริวารเป็นอันมาก และได้สั่งสอนประชุมชนให้ถือลัทธิผิด ๆ ไว้เป็นอันมากขอให้เธอพักอยู่ ณ ที่นี่เพื่อปลดเปลื้องประชุมชนให้พ้นจากมิจฉาทิฏฐิเถิด” ในครั้งนั้นพระบรมศาสดาได้ประดิษฐานรอยพระบาทไว้ที่หลังหินให้ปรากฏเสมือนหนึ่งทรงกดรอยพระบาทไว้บนพื้นดินเปียก ๆ ตามที่พระสัจพันธ์ภิกษุทูลขอ





เสด็จโปรดพราหมณ์ มาคันทิยะ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ณ แคว้นกุรุรัฐ
อีกสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ในพระนครโกสัมพี แคว้นวังสะ ทรงอาศัยพระนครแห่งนี้เป็นที่แสดงธรรมโปรดประชากรให้ตั้งอยู่ในมรรคผล เป็นพุทธมามกะปฏิญาณตนมั่นอยู่ในพระรัตนตรัยเป็นอันมาก  ในกาลนั้น ณ แคว้นกุรุรัฐมีพราหมณ์ผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติอยู่ครอบครัวหนึ่ง พราหมณ์สามีนามว่า มาคันทิยะ นางพราหมณีนามว่า มาคันทิยา ทั้งสองมีธิดาสาวสวยอยู่คนหนึ่งนามว่า มาคันทิยาเหมือนนางพราหมณีผู้เป็นมารดา เมื่อมีผู้อยู่ในสกุลพราหมณ์มาสู่ขอธิดาสาว พราหมณ์ทั้งสองก็ไม่ยอมยกให้เพราะมีความพิถีพิถันในการเลือกบุตรเขย โดยต้องการจะหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุดมาเป็นคู่ครองของธิดาของตน


แคว้นกุรุรัฐนั้นอยู่ใกล้กับโฆสิตาราม อันเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในนครโกสัมพี อยู่มาวันหนึ่งพระผู้มีพระภาคตรวจดูอุปนิสัยของสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่งด้วยพุทธจักษุอันเป็นกิจประจำ ทรงเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งอนาคามีผลของพราหมณ์ทั้งสอง จึงมีพระเมตตาเสด็จมาโปรด ณ สถานที่บำเรอไฟของพราหมณ์สองสามีภรรยา

ในสมัยนั้นแคว้นกุรุรัฐยังไม่มีพระพุทธศาสนาเข้ามาประดิษฐาน ครั้นมาคันทิยะพราหมณ์ได้เห็นพระบรมศาสดาซึ่งตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักมาก่อนก็ตกตะลึงในความงามและลักษณะของมหาบุรุษจึงกล่าวยกธิดาสาวให้และขอร้องพระพุทธองค์ว่าโปรดรอยู่ก่อนตนจะรีบไปนำตัวธิดาสาวมา ครั้นกลับถึงที่พักรีบนำข่าวดีนี้บอกแก่นางพราหมณีและธิดาของตน





สองพราหมณ์รีบให้นางมาคันทิยาแต่งตัวอย่างสวยงามแล้วพามาเฝ้าพระพุทธองค์ แต่พบเพียงรอยพระบาทปรากฏอยู่บนพื้นดินเมื่อนางพราหมณีได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนตามตำราบาทศาสตร์แล้วจึงบอกสามีว่า รอยเท้าของท่านมหาบุรุษผู้นี้เป็นรอยเท้าของผู้ที่หมดกิเลส ปฏิเสธการครองเรือน ด้วยตามตำราพยากรณ์ศาสตร์ของพราหมณ์ได้บอกไว้ว่า
     "ผู้ที่มากด้วยตัณหาราคะ ตรงกลางรอยเท้าจะเว้าลึก
      ผู้ที่มากด้วยโทสะ ตรงส้นรอยเท้าจะหนัก
      ผู้ที่อยู่เหนืออำนาจราคะ โทสะ โมหะ รอยเท้าจะเสมอกันหรือเต็มบริบูรณ์


ครั้นเห็นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ในที่ห่างออกไปเล็กน้อยพราหมณ์มาคันทิยะจึงชวนนางพราหมณีรีบไปเฝ้าและกล่าวยกธิดาสาวให้เหมือนเช่นครั้งก่อน พระพุทธองค์มิได้ทรงตอบรับหรือปฏิเสธ แต่ตรัสเล่าพุทธประวัติของพระองค์ตั้งแต่สละราชสมบัติเสด็จออกบรรพชา บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ กล่าวถึงนางราคะ นางตัณหา นางอรดี ๓ ธิดามารที่พ่ายแพ้ต่อโพธิญาณของพระองค์มาแล้ว ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงมิได้ปรารถนาในตัวธิดาของพราหมณ์

ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ด้วยบุญกุศลที่สร้างสมมาส่งผลให้พราหมณ์ทั้งสองเข้าสู่ชั้นธรรมแห่งพระอนาคามีบุคคล และภายหลังเมื่อมอบธิดาของตนและทรัพย์สมบัติทั้งหลายให้อยู่ในความดูแลของจูฬมาคันทิยะผู้เป็นน้องปกครองแทน พราหมณ์ทั้งสองจึงชวนกันออกบรรพชา หลังจากตั้งใจปฏิบัติธรรมได้ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงในพระพุทธศาสนา



ที่มา www.phuttha.com/พระพุทธเจ้า/ตรัสรู้/ทรงประดิษฐานรอยพระพุทธบาท?print=1&tmpl=component
ขอบคุณภาพจาก http://www.madchima.net/, http://gallery.palungjit.com/, http://www.kammatan.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ