ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง (ต้องให้เครดิตกับ คุณปองและคุณรักหนอ)  (อ่าน 4343 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
ปฏิปทาวรรคที่ ๒


             [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ
 
ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
 
ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
 
สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
 
สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑
 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ


อ่านเนื้อหาเต็มๆได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๐๘๓ - ๔๒๙๙. หน้าที่ ๑๗๖ - ๑๘๔. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299&pagebreak=0




             
หนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
ย่อความจากประไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม" โดยคุณสุชีพ ปุญญานุภาพ


ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง มีชื่อเดียวกัน แต่ต่างใน คือ
 
๑. ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า
 
๒. ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว
 
๓. ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า
 
๔. ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว.

 
ทรงแสดงปฏิปทา ๔ อย่าง มีชื่อเดียวกัน แต่ต่างใน คือ
 
๑. ปฏิบัติไม่อดทน
 
๒. ปฏิบัติอดทน
 
๓. ปฏิบัติข่ม
 
๔. ปฏิบัติสงบ.

 
พระมหาโมคคัลลานะตอบพระสาริบุตร ว่า ท่านอาศัย การปฏิบัติลำบาก และรู้ได้ช้า มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ.
 
พระสาริบุตรตอบพระมหาโมคคัลลานะ ว่า ท่านอาศัย การปฏิบัติสะดวก และรู้ได้เร็ว มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ.
 
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงบุคคล ๔ ประเภท คือ
 
๑. ผู้ต้อง ใช้ความเพียรดับกิเลสได้ในปัจจุบัน
 
๒. ผู้ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลสได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว
 
๓. ผู้ไม่ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลส ได้ในปัจจุบัน
 
๔. ผู้ไม่ต้องใช้ความเพียร ดับกิเลสได้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว


สองประเภทแรกตรัสอธิบายในทางผู้ปฏิบัติสายวิปัสสนา

สองประเภทหลังตรัสอธิบายในทางผู้ปฏิบัติสายสมถะ

ส่วนที่ดับกิเลสได้ในปัจจุบัน หรือเมื่อตายไปแล้ว

ขึ้นอยู่แก่อินทรีย์ คือ ธรรมอันเป็นใหญ่ มีกำลังแรงหรืออ่อน.


พระอานนท์แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

ภิกษุภิกษุณีที่ พยากรณ์การบรรลุความเป็นพระอรหันต์ ( พูดว่าได้บรรลุ )

ในสำนักของเรา ย่อมมีทางเป็นไปได้อย่างใดอย่างหนึ่ง รวม ๔ ทาง คือ
 
๑. เจริญวิปัสสนา ( ปัญญาอันเห็นแจ้ง ) มีสมถะเป็นหัวหน้า มรรคเกิดขึ้นเมื่เจริญมรรคก็ละสัญโญชน์ ( กิเลส ที่ร้อยรัดหรือผูกมัด ) ได้ กิเลสพวกอนุสัย ( แฝงตัวหรือนอนอยู่ในสันดาน ) ย่อมไปหมด

๒. เจริญสมถะ ( ความสงบใจ ) มีวิปัสสนาเป็นหัวหน้า แล้วหมดกิเลส

๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน แล้วหมดกิเลส

๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งสร้านในธรรม ( วิปัสสนูปกิเลส =เครื่องทำวิปัสสนาให้เศร้าหมอง เช่น สิ่งที่ทำให้หลงเข้าใจผิดมีแสงสว่าง เป็นต้น ) จิตสงบตั้งหมั่น ในภายในมีอารมณ์เป็นหนึ่งแล้วหมดกิเลส.
 
อ้างอิง
เล่มที่ ๒๑ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
(เป็นสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๓) หน้า ๔
จตตุถปัณณาสก์ หมวด ๕๐ ที่ ๔



ชื่อกระทู้ หลักปฏิบัติง่าย ๆ ที่สุด ในการเดินจิตไว
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1069.msg4572;topicseen#new

ผมได้แรงบันดาลใจจาก เรื่องทางสายกลาง ที่ผมได้แสดงความเห็นไป

ตามกระทู้ข้างบน และที่ต้อง "ให้เครดิตคุณปองและคุณรักหนอ" ก็เพราะ

การแสดงความเห็นของทั้งสองท่าน ทำให้ผมฉุกคิดเรื่องบางอย่างขึ้นมาได้

เรื่องบางอย่างก็คือ ปฎิปทา ๔ ประการนั่นเอง เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า


การปฏิบัติตามทางสายกลาง(หรือมรรค ๘) ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเหมือนกัน

ทุกอย่าง เรามีเข็มทิศเหมือนกัน แต่ไม่จำเป็นต้องเดินซ้ำรอยเท้าผู้อื่น


ทุกคนสามารถกำหนดทางของตนเองได้ตามที่ตนเองถนัด

กล่าวโดยสรุปก็คือ ปฏิบัติโดยลำบากก็ได้ ปฏิบัติโดยสะดวกก็ได้


หวังว่าทุกท่าน จะมีความเข้าใจทางสายกลางมากขึ้นนะครับ
 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ