ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เหตุใด.? จึงใช้คำว่า "เผยแผ่" กับพุทธศาสนา  (อ่าน 1160 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29355
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เผยแพร่-เผยแผ่

สวัสดีคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รักทุกท่านค่ะ เรื่องราวที่จะเอามาเล่าสู่กันฟังในไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้ อยู่ดีๆ ก็ได้ความคิดขึ้นมาจากเรื่องราวที่ประสบพบเจอในชีวิตประจำวันนี่แหละค่ะ เรื่องมีอยู่ว่า วันนี้รุ่นน้องที่คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ของคุณครูไลน์มาถามความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย (แอบทันสมัยเหมือนกันนะคะคุณครูลิลลี่ มีไลน์กับเขาเสียด้วยนะคะ ไลน์ก็คือโปรแกรมสนทนาทางโทรศัพท์มือถือนั่นเองค่ะ) รุ่นน้องคนที่ว่านี้กำลังจัดทำหนังสือสวดมนต์เพื่อแจกให้กับแขกที่มาร่วมงานฌาปณกิจของคุณพ่อสามี

ปัญหาก็คือเวลาไปจ้างสำนักพิมพ์ที่เขารับจ้างพิมพ์หนังสือสวดมนต์เราก็จะต้องเป็นผู้ร่างคำกล่าวอุทิศส่วนกุศลถึงผู้ล่วงลับลงบนปกของหนังสือที่จะพิมพ์แจก จะปกหน้า ปกหลัง ก็แล้วแต่ลูกหลานจะตกลงกับสำนักพิมพ์ ปัญหาคือตรงนี้ค่ะ รุ่นน้องคุณครูเขียนคำอุทิศส่วนกุศลออกมาดีมากเลยค่ะ

แต่มาสะดุดอยู่ตรงที่ประโยคที่ว่า ขอให้หนังสือเล่มนี้มีส่วนในการ...........คำสอน ซึ่งรุ่นน้องคุณครูสับสนว่าควรใช้คำว่า เผยแพร่ หรือ เผยแผ่ เลยถึงกับต้องไลน์มาถามคุณครูลิลลี่ และนี่คือที่มาของไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้ บางทีเราไม่ต้องไปนึกเรื่องที่จะมานำเสนอให้ไกลตัว เพราะบางทีเรื่องง่าย ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ทุกวันรอบ ๆ ตัวเรานี่แหละเป็นความรู้เป็นประสบการณ์ทางการใช้ภาษาที่เรานำมาบอกเล่าเก้าสิบกันได้ตลอด

 :49: :49: :49:

มาถึงเรื่องของเผยแพร่ หรือ เผยแผ่ กันต่อนะคะ เท่าที่ได้ศึกษาหาความรู้มาแล้วนะคะ คุณครูลิลลี่พบว่า ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรง เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เอกสารที่ออกมาจากหน่วยงานเหล่านี้มักจะใช้คำว่า "เผยแผ่" มากกว่า "เผยแพร่" นะคะ

ทีนี้เราคงต้องมาดูกันต่อล่ะค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังหรือไม่ ทั้งๆ ที่คำทั้งสองนี้ดูเหมือนจะคล้ายหรือเหมือนกัน และ (ดูเหมือนว่า) สามารถใช้แทนกันได้ ถ้าเราเจาะลึกรายละเอียดลงไป โดยไปดูในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า

  เผยแผ่ เป็นคำกริยา แปลว่า ทำให้ขยายออกไป, ขยายออกไป เช่น เผยแผ่พระศาสนา
  เผยแพร่ เป็นคำกริยา แปลว่า โฆษณาให้แพร่หลาย เช่น เผยแพร่ความรู้


 :25: :25: :25:

จากความหมายของพจนานุกรมก็คงพอจะให้คำตอบรุ่นน้องคุณครูได้ในระดับหนึ่งแล้วนะคะ ว่าถ้าเกี่ยวกับศาสนาน่าจะเป็นคำไหน แต่ลองมาดูคำอธิบายเพิ่มเติมอีกนิดที่คุณครูลิลลี่ไปค้นคว้ามาให้อ่านกัน เป็นเรื่องราวของความต่างระหว่าง "เผยแผ่" กับ "เผยแพร่" ที่คาดว่าทำให้ท่านผู้อ่านกระจ่างแจ้งขึ้น สามารถแยกความต่างได้ค่ะ

เผยแผ่ เป็นการทำให้ขยายออกไปโดยไม่ทิ้งหลักเดิม ของเดิมเป็นอย่างไรก็ขยายออกไปตามนั้นทุกประการ เช่นแผ่เสื่อ แผ่สาด ท่านผู้อ่านที่เคยแผ่เสื่อ ลองนึกภาพดู เมื่อแผ่เสื่อออกไป เสื่อผืนนั้นก็ขยายกว้างออกไป และที่ขยายออกไปก็เป็นเสื่อผืนนั้นนั่นเอง

เผยแพร่ เป็นการทำให้ขยายออกไปเหมือนกัน แต่ต้องทิ้งของเดิมไป ตัดขาดจากของเดิมไป เช่น การแพร่ของเชื้อโรค เชื้อโรคที่แพร่จากสถานที่แห่งหนึ่งไปอีกที่หนึ่งเป็นเชื้อโรคคนละตัวกัน ไม่ใช่เชื้อโรคตัวเดียวกัน


เมื่อเป็นดังนี้แล้ว คุณครูจึงมีคำตอบว่า ถ้าเป็นเรื่องราวของศาสนาดังคำถามที่รุ่นน้องคุณครูถามมานั้น ก็ต้องใช้คำว่า เผยแผ่ค่ะ และพอจะสรุปเป็นสังเขปได้ว่า
    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามักใช้คำว่า เผยแผ่ เพราะ พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนมาอย่างไร
    ผู้ที่นำไปเผยแผ่ก็นำคำสอนที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไปเผยแผ่ให้ขยายออกไป
    โดยไม่ทิ้งหลักตามที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนไว้ ไม่นำความคิดหรือความเห็นของตนเองสอดแทรกเข้าไปด้วย

    ต่อไปนี้ ท่านผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ก็คงแยกความต่างของคำทั้งสองได้ และใช้ได้ถูกต้องนะคะ สวัสดีค่ะ

คุณครูลิลลี่


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/350854
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ