ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขันติธรรม : เชิดชูศาสนาตน ไม่ทำร้ายศาสนาอื่น  (อ่าน 2715 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ขันติธรรม : เชิดชูศาสนาตน ไม่ทำร้ายศาสนาอื่น


ขันติธรรม.1
   ไม่เฉพาะแต่อิสรภาพทางความคิดเท่านั้น  ที่ทำให้เกิดความพิศวงแก่นักศึกษาประวัติศาสตร์ศาสนาทั้งหลาย   แม้ความมีใจกว้างที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ก็ทำให้เกิดความพิศวง

    สมัยหนึ่ง ณ เมืองนาลันทา คฤหบดีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังและมั่งคั่งท่านหนึ่งนามว่าอุบาลี เป็นสาวกฝ่ายคฤหัสถ์ที่รู้จักกันดีของนิครนถนาฏบุตร(ไชนะมหาวีระ) ถูกพระมหาวีระส่งไปพบกับพระพุทธเจ้าอย่างมีแผน  และให้เอาชนะ(ปราบ)พระพุทธเจ้าด้วยการโต้เถียงในบางประเด็นในทฤษฏีเรื่องกรรม เพราะเหตุว่าทัศนะของพระพุทธเจ้าในเรื่องกรรมนั้นแตกต่างไปจากทัศนะของมหาวีระ  ตรงกันข้ามจากความคาดหมายของเขาทีเดียว

    ในตอนจบการอภิปรายกันอุบาลีเกิดความเชื่อมั่นว่าทัศนะของพระพุทธเจ้านั้นถูกต้องทัศนะของอาจารย์ของตนนั้นผิดพลาด ดังนั้นอุบาลีจึงได้ทูลขอร้องพระพุทธองค์รับตนเป็นอุบาสกผู้หนึ่งในอุบาสกทั้งหลายแต่พระพุทธเจ้าได้ทรงขอให้อุบาลีนั้นพิจารณาเรื่องนั้นใหม่และไม่ให้ใจเร็วด่วนได้เพราะว่า
   "การพิจารณาโดยรอบคอบเป็นการดีสำหรับคนผู้มีชื่อเสียงเช่นท่าน"

     เมื่ออุบาลีได้แสดงความปรารถนาของตนอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงขอร้องให้อุบาลีนั้นเคารพอุปถัมภ์อาจารย์ทางศาสนาเก่าของตนต่อไปอย่างที่ตนเคยทำมาแล้ว


      :25: :25: :25:

     ขอย้ำอีกทีครับ
      "เมื่ออุบาลีได้แสดงความปรารถนาของตนอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงขอร้องให้อุบาลีนั้นเคารพอุปถัมภ์อาจารย์ทางศาสนาเก่าของตนต่อไปอย่างที่ตนเคยทำมาแล้ว"


     แม้ต่างศาสนากัน พระพุทธเจ้ายังทรงใจกว้างถึงขนาดนี้ เราในฐานะพุทธศาสนิกชนด้วยกัน จะอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่แบ่งแยกว่าเป็นศิษย์ของครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งท่านใดไม่ได้เชียวหรือ แม้จะมีเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะทัศนคติบางอย่างในคำสอนที่แตกต่างกัน แต่ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชนด้วยกันเราควรจะหาทางออกโดยสันติวิธีและมีเมตตาจิตต่อกัน





ขันติธรรม 2 ปรองดองสู่สันติ วัฒนธรรมและอารยธรรมของพุทธศาสนาที่รักษากันไว้อย่างดีที่สุด
    ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
    ในศตวรรษที่ 3  ก่อนคริสต์ศักราช  พระเจ้าจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระนามว่า อโศก ผู้นับถือพุทธศาสนาทรงปฏิบัติตามหลักผ่อนสั้นผ่อนยาวและความเข้าใจกัน  อันเป็นตัวอย่างอันประเสริฐ ได้ทรงยกย่องและอุปถัมภ์บำรุงศาสนาอื่นๆทั้งปวงในจักรวรรดิอันไพศาลของพระองค์ในประกาศพระราชโองการฉบับหนึ่งของพระองค์  ซึ่งได้แกะสลักไว้บนแผ่นศิลาและยังมีต้นฉบับที่บุคคลจะอ่านได้แม้จนกระทั่งทุกวันนี้ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้นได้ทรงประกาศไว้ดังนี้

      "บุคคลไม่ควรจะยกย่องเฉพาะแต่ศาสนาของตนเองฝ่ายเดียว และประฌานศาสนาของชนเหล่าอื่น แต่บุคคลควรยกย่องศาสนาของชนเหล่าอื่น ด้วยโดยเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อทำอย่างนี้บุคคลย่อมชื่อว่าช่วยศาสนาของตนเองให้เจริญงอกงามด้วย  และว่าให้ความเอื้อเฟื้อต่อศาสนาของชนเหล่าอื่นด้วย เมื่อทำโดยประการอื่นก็ชื่อว่าขุดหลุมศพให้แก่ศาสนาของตนเอง  และชื่อว่าทำอันตรายแก่ศาสนาอื่นด้วย 
      บุคคลใดก็ตามที่ยกย่องศาสนาของตนเองและประณามศาสนาอื่นๆ เขาย่อมทำอย่างนั้นเพราะมีความจงรักภักดีต่อศาสนาของตนเองโดยแท้  ด้วยคิดว่า  "ข้าพเจ้าจะเชิดชูศาสนาของข้าพเจ้า" แต่ตรงกันข้าม  ด้วยการทำอย่างนั้นเขาชื่อว่าทำร้ายศาสนาของตนเองมากขึ้น 
      ดังนั้น  ความปรองดองกันนั่นแหละเป็นการดี  ขอให้ทุกคนจงรับฟัง และจงเป็นผู้ที่เต็มใจจะฟังธรรมะที่คนอื่นเขานับถือด้วย"


      :25: :25: :25:

     เราควรจะกล่าวเพิ่มเติมไว้ในที่นี้ด้วยว่า น้ำใจแห่งความเข้าใจกันซึ่งเกิดจากความเห็นอกเห็นใจกันนี้  ควรจะได้นำมาใช้ในทุกวันนี้ ไม่เฉพาะแต่หลักธรรมในทางศาสนาเท่านั้น แต่ควรใช้ในกรณีอื่นๆด้วยเช่นกัน
     น้ำใจแห่งขันติธรรมและความเข้าใจนี้ เป็นข้อหนึ่งในอุดมคติที่ได้รักษาไว้อย่างดีที่สุด ในวัฒนธรรมและอารยธรรมของพุทธศาสนาตั้งแต่เริ่มแรก

      นั่นแหละคือ เหตุผลที่ว่า ทำไมจึงไม่มีตัวอย่างสักเรื่องเดียวในการกดขี่ข่มเหง หรือการหลั่งเลือดสักหยดเดียวในการกลับใจประชาชนให้หันมานับถือพุทธศาสนา  หรือในการเผยแพร่พุทธศาสนาในประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้ง 2500 ปี  พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ไปอย่างสันติทั่วทั้งผืนแผ่นดินใหญ่ในทวีปเอเชีย  โดยมีศาสนิกชนในปัจจุบันนี้เกินกว่า 500 ล้านคน

     ....การใช้วิธีรุนแรง(หิงสธรรม) ในรูปแบบใดๆภายใต้ข้ออ้างใดๆก็ตาม ย่อมเป็นการขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง.....

     :96: :96: :96:

     ข้อย้ำ 2 ประเด็น
     1. น้ำใจแห่งขันติธรรมและความเข้าใจนี้  เป็นข้อหนึ่งในอุดมคติที่ได้รักษาไว้อย่างดีที่สุด  ในวัฒนธรรมและอารยธรรมของพุทธศาสนาตั้งแต่เริ่มแรก
     2. การใช้วิธีรุนแรง(หิงสธรรม) ในรูปแบบใดๆภายใต้ข้ออ้างใดๆก็ตามย่อมเป็นการขัดต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยสิ้นเชิง.....


     ย้อนกลับมาดูสถานการณ์ปัจจุบันในวงการพระพุทธศาสนาบ้านเราเอง....เราให้ความเคารพครูบาอาจารย์ของตนกับครูบาอาจารย์ของผู้อื่นอย่างไร....


_____________________________________
ข้อมูลจากหนังสือพระพุทธเจ้าสอนอะไร หน้า 19
แปลจากหนังสือภาษาอังกฤษ What the buddha taught โดย Walpola Sri  Rahula
แปลเป็นภาษาไทยโดย รศ ชูศักดิ์ ทิพย์เกษร และคณะ
ที่มา www.mattaiya.org/ขันติธรรม.html  www.mattaiya.org/ขันติธรรม-2.html
ขอบคุณภาพจาก http://ecards.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 30, 2013, 09:46:51 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขันติธรรม : เชิดชูศาสนาตน ไม่ทำร้ายศาสนาอื่น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 03, 2013, 11:31:01 am »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ