ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ครอบน้ำมนต์ : พระองค์ครู  (อ่าน 2040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ครอบน้ำมนต์ : พระองค์ครู
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2013, 09:24:34 am »
0

ครอบน้ำพระพุทธมนต์คชวัตร ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ครอบน้ำมนต์ : พระองค์ครู
เรื่องรูปไตรเทพ ไกรงู

มงคล ๘ ประการ หรือที่เรียนกันสั้นๆ ว่า มงคล ๘ เป็นมงคลที่พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นมงคลภายนอก ไม่มีปรากฏในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับประพฤติปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย

มงคล ๘ ประการแบ่งแยกได้เป็น ๒ กลุ่ม คือ สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล และสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ ประการ
      ๑.ใบเงิน 
      ๒.ใบทอง 
      ๓.ใบนาค 
      ๔.ใบพรหมจรรย์ 
      ๕.หญ้าแพรก
      ๖.ฝักส้มป่อย 
      ๗.ผิวมะกรูด
      ๘.ใบมะตูม


 ans1 ans1 ans1

สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ ประการจะมีปรากฏในหม้อหรือขันเทพมนต์ของพราหมณ์ หรือในหม้อในขันและในบาตรพระพุทธมนต์ที่เกี่ยวกับพิธีทางศาสนาโดยทั่วไป สิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล ๘ ประการ ซึ่งมีประวัติผูกพันกับคติประเพณีของพราหมณ์รามวงศ์นำมาเผยแพร่ ได้แก่ 
     ๑.กรอบหน้า
     ๒.ตะบอง (คทา )
     ๓.สังข์
     ๔.จักร
     ๕.ธงชัย (ธงชาย)
     ๖.ขอช้าง
     ๗.โคอุสภะ
     ๘.หม้อน้ำ

 :49: :49: :49:

หม้อน้ำ ถือกันว่า พระอุมาซึ่งเป็นมเหสีพระอิศวร ทรงเลี้ยงโลกมาด้วยน้ำนมจากพระถันยุคล จึงจำลองมาเป็นหม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ มีน้ำเต็ม บางแห่งเรียกว่าเต้าน้ำมนต์ และในหม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ แม้บาตรน้ำมนต์ก็มักจะใส่สิ่งอันเป็นมงคล คือ ใบทอง ใบเงิน ใบนาค ใบพรหมจรรย์ ฝักส้มป่อย หญ้าแพรก ผิวมะกรูด และใบมะตูม หรือจะใช้ดอกบัว ลอยแทนก็ได้ จะลอย ๕ ดอก ๓ ดอก หรือดอกเดียวก็ได้ตามขนาดของที่บรรจุน้ำมนต์


การใช้ดอกบัวลอยเป็นอีกคติหนึ่ง คือ สมมุติว่าน้ำนั้นได้มาจากสระโบกขรณี หม้อน้ำมนต์ถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งสิ่งอันเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งอย่างหนึ่ง ดังจะเห็นได้ว่าการทำบุญส่วนใหญ่มักจะมีหม้อน้ำมนต์ หรือครอบน้ำมนต์ตั้งอยู่ด้วยเสมอ ไทยเราสมัยโบราณ มักจะมีหม้อใส่น้ำเต็มตั้งไว้หน้าพระในห้องพระเสมอ และนำน้ำนั้นมาล้างหน้า โดยถือว่าเป็นน้ำมนต์เพราะก่อนนอนคนไทยมักจะสวดมนต์ไหว้พระเสมอ
 
 :25: :25: :25:

หม้อน้ำมนต์ อันที่จริงก็มีชื่อเรียกที่หลากหลายกันออกไป บ้างก็เรียกขันน้ำมนต์ บ้างก็เรียกโถน้ำมนต์ หรือบ้างก็เรียกครอบน้ำมนต์ แล้วแต่สะดวก หรือแล้วแต่รูปพรรณสัณฐานนั้นๆ แต่นัยก็ตรงกันคือ หมายถึงภาชนะที่ไว้สำหรับใส่หรือเก็บน้ำพระพุทธมนต์หรือน้ำเทพมนต์ ไว้ที่แท่นบูชาพระ-บูชาเทพฯ, โต๊ะหมู่บูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งสะดวกเมื่อต้องการทำการมงคลใดๆในบ้าน ก็อัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์หรือเทพมนต์จากโถฯหรือครอบฯมาประกอบพิธีได้ ถือกันว่า ขันน้ำมนต์, โถน้ำมนต์, ครอบน้ำมนต์เป็นวัตถุมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์ ทรงพลานุภาพอยู่ในตัวเอง

 st12 st12 st12

เคล็ดวิธีในการตักหรือเติมน้ำมนต์ มีคติความเชื่อว่าหากต้องการใช้น้ำมนต์ที่ตนนำมาจากวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แล้วนำมาไว้ในโถหรือครอบน้ำมนต์ที่บ้าน ครั้นเมื่อจะใช้ เช่น ต้องการอาบน้ำมนต์ที่บ้าน ด้วยตนเอง จะต้องตระเตรียมน้ำอาบล่วงหน้าไว้ก่อน เช่นเติมน้ำ (ธรรมดาที่จะอาบ) ให้เต็มถังหรือเต็มอ่าง (แล้วแต่ภาชนะที่ใช้อาบ) แล้วค่อยตักน้ำมนต์ในปริมาณที่ไม่มากนักเช่น ประมาณ ๑ จอกชาหรือ ๑ ถ้วยชา นำมาประจบยกขึ้นอธิษฐานขอพรฯ แล้วนำน้ำมนต์นั้น เทผสมลงในน้ำ (ธรรมดาที่เตรียมไว้) เท่านี้ก็จะได้น้ำมนต์ที่ศักดิ์สิทธิ์

สำหรับครอบน้ำมนต์ที่นำมาเป็นภาพพระองค์ครูนี้ เป็น ครอบน้ำพระพุทธมนต์คชวัตร ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก "www.aj-ram.com"


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20131001/169430/ครอบน้ำมนต์:พระองค์ครู.html#.UkuCllPKXHt
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ