ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์แนะ 4 วิธีแก้ 'เด็กติดเกม'  (อ่าน 978 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
แพทย์แนะ 4 วิธีแก้ 'เด็กติดเกม'
« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2013, 09:00:34 am »
0


แพทย์แนะ 4 วิธีแก้ 'เด็กติดเกม'

'สธ.' เผย 'เด็กไทย' เสี่ยงติดเกมสูงขึ้น แนะ 4 วิธีสังเกต หากพบมีอาการให้รีบนำเข้าบำบัดรักษา


2 ต.ค.56 พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า เด็กไทยยุคนี้มีความเสี่ยงติดเกมสูงขึ้น โดยเฉพาะเด็กใช้ชีวิตเพื่อเรียนหรือทำงานอยู่ในเมืองอย่างอิสระ เนื่องจากห่างการควบคุม และเกมมีลูกเล่นหลากหลาย โดยเด็ก 2 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง และเด็กสมาธิสั้น

แนะวิธีสังเกต 4 ข้อง่ายๆ โดยดูจากพฤติกรรมเช่นใช้เวลาเล่นนานกว่า 2 ชั่วโมง การคบหาเพื่อนน้อยลง ผลการเรียนตกต่ำ โดดเรียน หากพบขอให้ปรึกษาจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลทั่วไป หรือที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง คลินิกสุขภาพจิต หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


 :32: :32: :32:

พญ.พรรณพิมล กล่าวถีงกรณีข่าวที่มีนักศึกษาสถาบันแห่งหนึ่งเสียชีวิต โดยตำรวจสันนิษฐานว่าพักผ่อนไม่เพียงพอ หัวใจวายเฉียบพลันจากการเล่นเกมว่า ถ้าพิจารณาจากสถานการณ์ความเป็นอยู่ของวัยรุ่นไทยในปัจจุบัน พบว่ามีจำนวนมากที่ต้องเข้ามาอยู่ในเมืองคนเดียว ทั้งจากการศึกษา การทำงาน ทำให้ห่างจากผู้ที่จะคอยควบคุมดูแล ทำให้เด็กสามารถหาความสนุกสนานจากด้านอื่นๆ สูงขึ้น เช่น การพนัน การคบเพื่อนต่างเพศ หรือแม้แต่การเล่นเกม

พญ.พรรณพิมล กล่าวต่อว่า สาเหตุที่เด็กเล่นเกมมากๆ มาจากปัจจัยหลายเหตุ เช่น ความก้าวหน้าของเกมในปัจจุบัน ทั้งทางด้านแอนิเมชั่น ความสวยงาม หรือวิธีการเล่นที่สนุกสนาน ตอบสนองความท้าทายของวัยรุ่นได้ นอกจากนี้ การเลี้ยงดูก็มีผลต่อการติดเกม การเลี้ยงที่ทำให้เด็กอยู่คนเดียวอย่างอิสระ ไม่มีคนควบคุมดูแลการเล่นเกม ตัวเด็กก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัย

โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ขาดความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งในชีวิตจริงเด็กกลุ่มนี้จะมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำอยู่แล้ว และกลุ่มเด็กสมาธิสั้น ซึ่งชอบสิ่งที่ตอบสนองไวๆ ทั้ง 2 กลุ่มพร้อมที่จะเล่นเกมได้อย่างดี เพราะเกมสามารถตอบสนองความต้องการและเห็นผลการชนะได้ทันที จึงเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และจะพึ่งการเล่นเกมหลากหลายไปเรื่อยๆ


 ans1 ans1 ans1

พญ.พรรณพิมล กล่าวต่ออีกว่า มีข้อแนะนำผู้ปกครองในการสังเกตว่าเด็กมีปัญหาติดเกมหรือไม่ 4 ประการ ดังนี้
   1. เด็กใช้เวลาในการเล่นมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน และจะเพิ่มระยะเวลาในการเล่นขึ้นเรื่อยๆ
   2. สัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างลดลง เปลี่ยนจากเดิม โดยเด็กจะชื่นชอบคบหากับเพื่อนที่เล่นเกมด้วยกัน หรือเพื่อนที่รู้จักภายในเกม
   3. เด็กจะมีอารมณ์ฉุนเฉียวโมโห หงุดหงิด เมื่อถูกให้หยุดหรือให้เลิกเล่นเกม
   4. กิจวัตรประจำวันเปลี่ยนแปลง เช่น ไม่กินข้าว ดูแลตนเองในชีวิตประจำวันลดลง รวมทั้งผลการเรียนตกต่ำ โดดเรียน หนีเรียน


ถ้าท่านพบเด็กมีลักษณะดังกล่าว สามารถมารับบริการได้ที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชครินทร์ ในวันและเวลาราชการ และโรงพยาบาลจิตเวชทุกแห่ง คลินิกสุขภาพจิต ในโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ โดยมีบริการทั้งการช่วยเหลือรายบุคคลและรายกลุ่ม โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รวมทั้งบุคลากรสหวิชาชีพ หรือสามารถสอบถามทางสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20131002/169587/แพทย์แนะ4วิธีแก้เด็กติดเกม.html#.UkzOylPKXHt
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ